ผลของการออกกำลังกายที่มีต่อสุขภาพจิต: การวิเคราะห์พหุตัวแปรจากข้อมูลการสำรวจอนามัยและสวัสดิการของประเทศไทย พ.ศ. 2554

กวิสรา พชรเบญจกุล และอภิชาติ จำรัสฤทธิรงค์
บทคัดย่อ

การศึกษานี้มุ่งเน้นที่จะสะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของการออกกำลังกายที่มีผลต่อสุขภาพจิตของคนไทย โดยใช้ข้อมูลจากการสำรวจอนามัยและสวัสดิการ พ.ศ. 2554 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ โดยผู้ให้ข้อมูลเป็นประชากรที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป รวมทั้งสิ้น 28,654 คน เป็นผู้ออกกำลังกายร้อยละ 28 ผลการศึกษาคนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป ยืนยันได้ว่าการออกกำลังกายมีผลต่อสุขภาพจิตอย่างชัดเจนและมีนัยสำคัญทางสถิติ กล่าวคือ ผู้ที่ออกกำลังกายจะมีสุขภาพจิตดีกว่าผู้ที่ไม่ได้ออกกำลังกาย โดยเฉพาะการออกกำลังกาย ด้วยวิธี Anaerobic สำหรับระยะเวลาที่เหมาะสมสำหรับการออกกำลังกาย พบว่าจำนวนวันที่ออกกำลังกายต่อเดือน และจำนวนเดือนที่ออกกำลังติดต่อกันที่ยาวนานขึ้นจะมีผลในทางบวกต่อคะแนนสุขภาพจิต หากพิจารณาร่วมกับวิธีออกกำลังกาย พบว่าผู้ที่ออกกำลังกายแบบ Aerobic การออกกำลังกายติดต่อกันนานหลายวันเป็นระยะเวลาหลายเดือนและมีความสม่ำเสมอในแต่ละครั้ง ขณะที่ผู้ออกกำลังกายโดยวิธี Anaerobic การออกกำลังกายติดต่อกันนานเป็นระยะเวลาหลายวันต่อเดือนจะช่วยส่งเสริมสุขภาพจิตให้ดีขึ้น การออกกำลังกายดังกล่าวนี้ทั้ง Aerobic และ Anaerobic มีผลดีต่อสุขภาพจิตทั้งใน ภาพรวมและการวิเคราะห์องค์ประกอบสุขภาพจิตในด้านต่างๆ ด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ตาม การออกกำลังกายวิธี Anaerobic ที่ติดต่อกันเป็นระยะเวลาหลายเดือนอาจมีผลเสียต่อสุขภาพจิตในบางองค์ประกอบ การออกกำลังกายจึงควรยึดหลักความพอดีด้วยจึงจะเป็นประโยชน์สูงสุด

คำสำคัญ: สุขภาพจิต, การออกกำลังกาย, แอโรบิค และแอนแอโรบิค

 

The Impact of Exercise on Mental Health: A Multivariate Analysis of the Survey of Health and Welfare in Thailand 2011

Kavisara Pacharabenjakul and Aphichat Chamratrithirong1
Abstract

The objective of this study is to assess the impact of exercise on the mental health of Thais. The source of data is the Survey of Health and Welfare conducted by the National Statistical Office in 2011 among a sample of 28,654 persons age 15 years or over. The survey found that 28% of the sample exercised. The study confirms with statistical significance that those who exercised had better mental health than those who did not. This is especially true for those who practiced anaerobic exercise. The survey also found that the greater number of days in a month, and the greater the number of continuous months with exercise had positive impacts on mental health scores. When analyzed together with type of exercise, this study found that periods of regular, consistent aerobic exercise extending over many months, and anaerobic exercise for many days in the month, have positive impacts on mental health. In general, the positive impacts of both aerobic and anaerobic exercises are found on overall mental health as well as on specific components of mental health. However, anaerobic exercises extending over many months may have negative impact on certain components of mental health. Exercise should be considered with moderation for its highest benefit.

Keywords: Mental Health, Exercise, Aerobic, Anaerobic

1 Institute for Population and Social Research, Mahidol University