สถิติน่ารู้
ครัวเรือนไทยในช่วง 50 ปีที่ผ่านมา
กาญจนา เทียนลาย This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
ประเทศไทยมีการนับจำนวนประชากรครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อปี 2448 มีการสำมะโนประชากรครั้งแรกในปี 2452 และเพิ่มการสำมะโนเคหะไปด้วยตั้งแต่ปี 2503 เป็นต้นมา จากข้อมูลสำมะโนประชากรและเคหะ ตั้งแต่ปี 2503-2553 พบว่า ภายในเวลา 50 ปี จำนวนครัวเรือนในประเทศไทย เพิ่มขึ้นจาก 4.6 ล้านครัวเรือน เป็น 20.3 ล้านครัวเรือน ในขณะที่จำนวนประชากรเพิ่มขึ้นจาก 26.3 ล้านคน เป็น 65.5 ล้านคน จะเห็นว่า ในขณะที่ประชากรไทยเพิ่มขึ้นประมาณ 2.5 เท่า จำนวนครัวเรือนเพิ่มขึ้นถึงกว่า 4 เท่าตัว
พ.ศ. | 2503 | 2513 | 2523 | 2533 | 2543 | 2553 |
ประชากร (ล้านคน) | 26.3 | 34.4 | 44.8 | 54.5 | 60.9 | 65.5 |
จำนวนครัวเรือน (ล้านครัวเรือน) | 4.6 | 5.9 | 8.5 | 12.4 | 15.9 | 20.3 |
ขนาดครัวเรือนเฉลี่ย (คน/ครัวเรือน) | 5.6 | 5.7 | 5.2 | 4.4 | 3.8 | 3.2 |
ตาราง: จำนวนประชากร ครัวเรือน และขนาดครัวเรือนเฉลี่ยพ.ศ. 2503 – 2553
ข้อมูล: สำมะโนประชากรและเคหะ พ.ศ. 2503-2553
จากข้อมูลจะเห็นว่าขนาดครัวเรือนของประเทศไทยลดลง จาก 6 คน ในปี 2503 เหลือ 3 คน ในอีก 50 ปีถัดมา อาจกล่าวได้ว่าเปลี่ยนจากครอบครัวขยายเป็นครอบครัวเดี่ยวมากขึ้น โดยเฉพาะครัวเรือนที่มีผู้อาศัยอยู่เพียงคนเดียวมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 5 ในปี 2503 เป็นเกือบหนึ่งในห้าของครัวเรือนทั้งหมดในปี 2553 ในขณะที่ครัวเรือนที่มีมากกว่า 3 คนขึ้นไปลดลงจากเกือบสองในสามในปี 2503 เหลือประมาณร้อยละ 37 ในปี 2553 การเปลี่ยนแปลงทางประชากร ที่มีความสัมพันธ์กับการลดลงของเกิดและการตาย ในขณะที่การหย่าร้างและการอยู่เป็นโสดเพิ่มขึ้น รวมทั้งจำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นเช่นนี้ เป็นประเด็นที่ผู้กำหนดนโยบายต้องให้ความสนใจ
แผนภูมิแท่ง: ร้อยละครัวเรือนแยกตามจำนวนคนในครัวเรือน พ.ศ. 2533 – 2553
ข้อมูล: สำมะโนประชากรและเคหะ พ.ศ. 2503-2553