จากการศึกษาวิจัยของ  Coulson และคณะ ในปี 2553 พบว่า อุณหภูมิเพิ่มเฉลี่ย  0.2 องศาเซลเซียสทุกปี มีผลให้ธารน้ำแข็งจากเทือกเขาหิมาลัยละลายเร็วขึ้น  ไหลลงสู่ที่ราบต่ำอย่างรวดเร็ว ผิวดินไม่อุ้มน้ำ ทำให้น้ำดื่มธรรมชาติจากแหล่งน้ำผุดลดน้อยลง  การหาแหล่งน้ำดื่มต้องเดินทางไปไกลกว่า 2 -3 กิโลเมตรจากที่อยู่  การปลูกพืชทำได้เพียงครั้งเดียวต่อปีโดยเฉพาะพื้นที่ทำกินที่อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล  1,000 เมตร พื้นที่ในสิกขิมมีเพียงร้อยละ 11 ของพื้นที่ทั้งหมดเท่านั้นที่เพาะปลูกได้

สิ่งชดเชยเชิงนิเวศน์ยังมีอยู่บ้าง  เช่น ป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ด้วยสัตว์ป่ากว่า 6,000 ชนิด ผีเสื้อ  630 สายพันธุ์ และพืชพันธุ์ที่หายากในถิ่นอื่นๆ กว่า 4,000 ชนิด  พืชพันธุ์ไม้เหล่านี้ช่วยซับน้ำเอาไว้ได้บ้าง  โครงการวิจัยของ Coulson และคณะ ได้รับการสนับสนุนจากรัฐอย่างจริงจัง  เพื่อให้ความรู้ด้านการใช้ประโยชน์จากป่า การไม่เผาป่าเพื่อทำไร่เลื่อนลอย การสนับสนุนปลูกพืชคลุมดิน  เพื่อรักษาระดับแหล่งน้ำธรรมชาติจากผิวดินให้พอเพียงสำหรับการบริโภค การส่งเสริมมาตรการการอนุรักษ์พื้นที่เพื่อให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงจากสาเหตุโลกร้อนในกลุ่มประเทศที่ห่างไกลจากการลงทุนทางอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่ประเทศต่างๆกำลังหลงไหลอยู่  จะทำให้ ประชากรแห่งขุนเขา: สิกขิม ภูฏาน เนปาล เป็นประเทศที่ใช้ดัชนีความสุขวัดระดับการพัฒนาประเทศ  เช่น ภูฏาน ได้มากน้อยเพียงใด ขอเชิญผู้อ่านติดตามเรื่องราวในภาคจบของบทความนี้ในฉบับหน้า

รั้วชุมชนในพื้นที่อนุบาล
(social  fencing of the recharge area)

   

พันธุ์ไม้ป่าในสิกขิม

Since 25 December 2012