บนหน้าหลัก  (http://demopaedia.org) ซึ่งดูยุ่งเหยิงมาก เพราะมีหลายภาษาให้เลือก  ท่านจะได้พบส่วนสำคัญ 2 เรื่อง คือ ส่วนที่เป็นสารานุกรมประชากรเปิด  (population open encyclopedia) และพจนานุกรมประชากรศาสตร์พหุภาษา  (multilingual demographic dictionary) ซึ่งส่วนหลังนี้ ปัจจุบันก็มีการปรับปรุงถึงครั้งที่  2 ในบางภาษา เช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส สเปน เยอรมัน การนำเสนอทั้งหมดของเดโมพีเดียใช้หลักการเดียวกับวิกิพีเดีย

ในส่วนของสารานุกรมประชากรเปิดนั้น  ก็เป็นไปตามชื่อ คือเปิดให้ผู้ที่สนใจเข้าไปสอบถาม อภิปราย เสนอความคิดเห็นได้อย่างอิสระ  แต่ต้องลงทะเบียนก่อน  (หลักการเดียวกับวิกิ) และปฏิบัติตามระเบียบที่วางไว้  อย่างเช่นขณะนี้ บนหน้าสารานุกรมเปิดฯ ภาษาอังกฤษ ก็ได้มีผู้เสนอคำใหม่ๆ ที่ยังขาดหายไปจากพจนานุกรมประชากรศาสตร์  เช่น คำว่า ‘demographic convergence’ ‘illegal immigration’‘missing  women’

           สำหรับส่วนของพจนานุกรมประชากรศาสตร์พหุภาษานั้น  แม้ว่าจะชื่อพจนานุกรมก็ตาม แต่สาระที่นำเสนอกลับคล้ายสารานุกรมมากกว่า เพราะแบ่งเป็นบทๆ  แต่ละบทก็จะให้รายละเอียดที่มากกว่าการแปลศัพท์ ดังเช่นที่นำมาแสดงเป็นตัวอย่างต่อจากนี้เป็นส่วนหนึ่งของบทที่  1 (แนวคิดทั่วไป) หน้าที่ 11 ย่อหน้าที่ 112 ที่กล่าวถึงความหมายของ “ครอบครัว” ซึ่งในย่อหน้านั้นมีทั้งคำศัพท์ที่กล่าวถึงเป็นครั้งแรก  (แสดงด้วยตัวเข้มและมีตัวเลขยกกำกับไว้) และมีคำศัพท์ที่เชื่อมโยงไปยังย่อหน้าอื่น  (แสดงด้วยตัวเอียง และตามด้วยตัวเลข 4 ตัวที่อยู่ในวงเล็บ)

ครอบครัว1 (cf.  113 and   115) เป็นหน่วยที่ต่างออกไป ซึ่งต้องแยกความแตกต่างจากครัวเรือน  (110-3) ด้วยความระมัดระวังนิยามเบื้องต้นของคำว่าครอบครัวจะอ้างถึงความสัมพันธ์ซึ่งมีอยู่หรือเกิดขึ้นจากการแต่งงาน  การสืบทอดพันธุ์  หรือการรับเลี้ยงดูบุตรทั้งหลายทั้งปวงเหล่านี้จะกำหนดโดยกฎหมายหรือประเพณี  ความสัมพันธ์พื้นฐานได้แก่ความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นระหว่างคู่โดยการแต่งงาน—และความสัมพันธ์ที่มีอยู่ระหว่างคู่สมรสเช่นพ่อแม่2ได้แก่พ่อ3และแม่4และลูกๆ5ได้แก่ลูกชาย6และลูกสาว7
ตัวอย่างข้างต้นเป็น  “พจนานุกรมประชากรศาสตร์พหุภาษา ฉบับปรับให้เป็นเอกภาพ ปรับปรุงครั้งที่สอง  ภาษาไทย” ที่นักประชากรของไทย 2 คน คือ  ศ.ดร.ปราโมทย์ ประสาทกุล และผู้เขียน อาสาเข้าไปร่วมทีมเพื่อพัฒนาให้เกิดโมดูลที่เป็นภาษาไทย  ไม่เพียงแต่นักประชากรของไทย ยังมีนักประชากรอีก 10 คน จาก  5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย เกาหลี มาเลเซีย เนปาล และ เวียดนาม ที่อาสาพัฒนาเดโมพีเดียที่เป็นภาษาของชาติเหล่านั้น  พวกเราทั้ง 12 คนได้เรียนรู้วิธีการพัฒนาเดโมพีเดียจากการเข้าประชุมเชิงปฏิบัติการ  “Demopaedia Second Harmonized Edition of the Multilingual Demographic  Dictionary in Six Asian Languages” ระหว่างวันที่ 29 ส.ค.-1 ก.ย. ที่ผ่านมา ซึ่งเป้าหมายของการประชุมกำหนดว่า จะนำเดโมพีเดียและพจนานุกรมประชากรศาสตร์ฯ  ทั้ง 6 ภาษานี้ เผยแพร่ในการประชุมวิชาการทางประชากรนานาชาติ  ครั้งที่ 27 ที่จะมีขึ้นในปีหน้าที่เมืองปูซาน ประเทศเกาหลีใต้

           เวลานี้ เดโมพีเดียที่เป็นภาษาไทยกำลังอยู่ระหว่างการพัฒนา  และคงต้องใช้เวลาอีกสักพักจึงจะเสร็จสมบูรณ์ อย่างไรก็ตามผู้ที่สนใจก็สามารถเข้าไปเยี่ยมชมได้ที่  http://th-ii.demopaedia.org และเมื่อการพัฒนาเสร็จสมบูรณ์แล้ว บนหน้าหลักของเดโมพีเดียก็จะมีเมนูที่เป็นภาษาไทยรวมอยู่ด้วยอย่างแน่นอน

สมัครสมาชิกจดหมายข่าว

จดหมายข่าวฯ ราย 2 เดือน ปีละ 6 ฉบับ

กรุณากรอก e-mail ของท่าน
(ไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น)



IPSR Fanpage

Since 25 December 2012