ผู้เขียน : เพ็ญพิมล คงมนต์ ( This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. )

การทำเว็บไซต์ ที่ไม่คำนึงถึงการวางโครงสร้างเพื่อการเข้าถึงของบุคคลที่มีความบกพร่อง  เช่น ผู้ที่มีความบกพร่องทางสายตา ทางหู หรือ ผู้สูงอายุ เป็นอุปสรรคในการเข้าถึงข้อมูลที่มีอยู่เป็นจำนวนมากในโลกแห่งการติดต่อสื่อสารในยุคดิจิตอล  ปัจจุบันมีคนพิการ และผู้สูงอายุ เข้าถึงอินเทอร์เน็ตเกือบ 3 ล้านคน แต่มีเว็บไซต์ให้คนตาบอด ตาพร่ามัวใช้งานได้จริงไม่ถึง 1% เว็บไซต์ของหน่วยงานภาครัฐประมาณ 90% ยังไม่รองรับการใช้งานของผู้พิการและผู้สูงอายุ

การพัฒนาเว็บไซต์ ที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า  Web Accessibility คือ การออกแบบเว็บไซต์ โดยอิงตามแนวทางการพัฒนาที่เป็นมาตรฐาน  องค์กร World Wide Web Consortium (W3C) จึงได้วางหลักการในการออกแบบเว็บไซต์เมื่อปี  2548  โดยใช้ชื่อว่า  Web Content Accessibility Guidelines 2.0 (WCAG 2.0) เพื่อลดอุปสรรคเหล่านั้น  ซึ่งจะส่งผลให้มีคนสามารถเข้าถึงเว็บไซต์ของหน่วยงานหรือองค์กรที่จัดทำได้เพิ่มมากขึ้น  หลักการออกแบบเว็บไซต์ที่สำคัญ คือ

     
  1.   ให้สร้าง “ตัวทดแทน” สำหรับคอนเทนต์ทางด้านกายภาพเสมอ หมายถึงการใส่ข้อความใดๆ  ที่มีความหมายเดียวกับรูปภาพ เพื่อให้
        ผู้ใช้ที่มีความพิการทางด้านการมองเห็นสามารถรับรู้ถึงข้อมูลได้
  2.  
  3. การใช้เพียงแค่สี เครื่องมือในการอ่านข้อมูลบนจอ  ไม่มีความสามารถในการแสดงสีมาให้ผู้พิการทางสายตา การใช้งานสีที่มีความใกล้กันกับพื้นหลังมากเกินไป  จะทำให้ไม่สามารถแสดงผลออกทางจอภาพได้
  4.  
  5. การใช้ Style  Sheet และการจัดรูปแบบให้ถูกต้อง เช่น การใช้งานตารางเพื่อการกำหนดพื้นที่บนหน้า  ทำให้ผู้ใช้เครื่องมือมีความยากลำบากในการเข้าถึงเนื้อหาของข้อความ
  6.  
  7. ภาษาที่ใช้ เครื่องมือต่างๆ  ไม่สามารถตรวจสอบภาษาที่ถูกต้อง 100% ได้ด้วยตนเอง ดังนั้นการบ่งบอกถึงภาษาที่ใช้จึงมีความสำคัญ
  8.  
  9. การใช้ตารางให้ถูกวิธี  ถ้าใช้ตารางแบบผิดๆ จะสร้างความลำบากให้แก่ผู้ใช้ที่ใช้ซอฟต์แวร์ในการอ่านหน้าจอที่มีความสามารถในการค้นหาตามช่องต่างๆ  ของตาราง
  10.  
  11. ผู้ใช้ต้องสามารถควบคุมเวลาของวัตถุใดๆ  ได้ เช่น การทำตัววิ่ง หรือ หน้าที่มีการอัพเดตตลอดเวลา จะเป็นการทำลายความสามารถในการเข้าถึงของผู้ที่ไม่มีความสามารถในการอ่านข้อความในเวลาอันรวดเร็วได้  รวมถึงโปรแกรมอ่านหน้าจอที่ต้องใช้เวลาในการประมวลผลและค้นหา
  12.  
  13. ผู้ใช้ต้องมีความสามารถในการควบคุมวัตถุใดๆ  ที่มีหน้าตาโต้ตอบเป็นของตนเอง

ด้วยหลักการที่กล่าวมาข้างต้นนี้  ทำให้ทราบว่าทำไมต้องเป็น Web Accessibility ทำให้เราสามารถตอบได้ว่า  ความพิการ = ความบกพร่อง + อุปสรรค จึงทำให้  Web Accessibility เป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยลดอุปสรรคเหล่านั้น

           (ที่มา : นิตยสารสร้างสุข  ปีที่ 8 ฉบับที่ 130 (ส.ค 2555) : 14-15)

สมัครสมาชิกจดหมายข่าว

จดหมายข่าวฯ ราย 2 เดือน ปีละ 6 ฉบับ

กรุณากรอก e-mail ของท่าน
(ไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น)



IPSR Fanpage

Since 25 December 2012