เวทีวิจัยประชากรและสังคม

HAPPINOMETER: รายงานผลการสำรวจความสุขคนทำงานในประเทศไทย ปีพ.ศ. 2555

ศิรินันท์ กิตติสุขสถิต This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

Happinometer ความสุขวัดเองได้HAPPINOMETER คือ เครื่องมือวัดความสุขที่บุคคลสามารถวัดได้ด้วยตนเอง เสมือนการใช้ปรอทมาวัดความรู้สึกและประสบการณ์ ที่สะท้อนจากมิติคุณภาพชีวิตของตนเองรวมทั้งหมด 9 มิติ ได้แก่ สุขภาพดี ผ่อนคลายดี น้ำใจดี จิตวิญญาณดี ครอบครัวดี สังคมดี ใฝ่รู้ดี สุขภาพเงินดี และการงานดี

HAPPINOMETER เป็นเครื่องมือที่ใช้ง่าย สะดวก ทราบผลค่าคะแนนทันที และสามารถใช้ได้ทุกที่ทุกเวลา มีให้เลือกใช้ใน 3 รูปแบบ คือ กรอกข้อมูลลงในแบบ (Paper-based) กรอกผ่านระบบออนไลน์ (Online-based: www.happinometer.com) และกรอกผ่านระบบโทรศัพท์มือถือ (Mobile App-based: IOS and Android)

ความหมายค่าคะแนนเฉลี่ย ได้แก่ ค่าคะแนนเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 0ะ24.99 แสดงว่า ไม่มีความสุขอย่างยิ่ง ค่าคะแนนเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 25.00ะ49.99 แสดงว่า ไม่มีความสุข ค่าคะแนนเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 50.00ะ74.99 แสดงว่า มีความสุข และค่าคะแนนเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 75.00ะ100.0 แสดงว่า มีความสุขอย่างยิ่ง

ผลการสำรวจความสุขคนทำงานในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2555 โดยเครื่องมือ HAPPINOMETER ซึ่งแบ่งเป็น 2 รอบ พบว่า

รอบแรก (ระหว่างเดือน มกราคมะมิถุนายน พ.ศ. 2555) มีคนทำงานที่ตอบแบบสำรวจทั้งหมด จำนวน 9,596 คน ส่วนใหญ่เป็นคนทำงานหญิง (ร้อยละ 64.5) คนทำงานส่วนใหญ่ อยู่ในกลุ่มอายุ 25ะ34 ปี (ร้อยละ 36.4) สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี (ร้อยละ 40.2) ทำงานด้านการบริการ (ร้อยละ 30.1) ด้านการผลิต (ร้อยละ 26.8) ด้านงานสำนักงาน (ร้อยละ 25.2) เกือบ 3 ใน 4 เป็นการจ้างงานแบบประจำ (ร้อยละ 69.2) และเกือบครึ่ง (ร้อยละ 41.8) ทำงานในองค์กรปัจจุบันยาวนาน ตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป

สิ่งที่น่าสนใจคือ คนทำงานที่แต่งงานอยู่ร่วมกันกับคู่สมรสและที่ยังโสดอยู่ มีอัตราส่วนใกล้เคียงกัน คือ ร้อยละ 43.1 และ ร้อยละ 43.8 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กลุ่มที่แต่งงานแล้ว ระบุว่า ยังไม่มีบุตร มีอยู่ถึง ร้อยละ 52.3 ขณะที่ ร้อยละ 23.3 ระบุว่า มีบุตร 1 คน และ ร้อยละ 19.3 ระบุว่า มีบุตร 2 คน แสดงให้เห็นว่า ขนาดครอบครัวคนทำงานในปัจจุบัน มีแนวโน้ม เป็นครอบครัวที่ไม่มีบุตร 

ความสุขคนทำงานในประเทศไทย ผลสำรวจในรอบนี้ พบว่า คนทำงานทั่วประเทศ มีความสุข ร้อยละ 61.1 โดย มิติจิตวิญญาณดีสูงที่สุดคือ ร้อยละ 68.6 อย่างไรก็ตาม มิติที่มีอัตราส่วนไม่เกินร้อยละ 60.0 ซึ่งแม้ว่า จะอยู่ในความหมายของ การมีความสุข ก็ตาม แต่ค่าคะแนนเฉลี่ยที่แสดงนั้น ก็น่าวิตกกังวล กล่าวคือ มิติผ่อนคลายดี ร้อยละ 51.3 สุขภาพเงินดี ร้อยละ 55.7 และ ครอบครัวดี ร้อยละ 56.2 ซึ่งทั้ง 3 มิติ นี้ เป็นมิติที่ส่งผลกระทบรุนแรงถึงความสุขระดับบุคคลอย่างยิ่ง

รอบหลัง (ระหว่างเดือน กรกฎาคมะธันวาคม พ.ศ. 2555) มีคนทำงานที่ตอบแบบสำรวจเพิ่มมากขึ้นเกือบเท่าตัว คือ
มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 16,969 คน อย่างไรก็ตาม ข้อมูลทั่วไปของคนทำงานในรอบนี้ ไม่แตกต่างจากรอบแรก กล่าวคือ คนทำงานเพศหญิง (ร้อยละ 67.5) มีมากกว่าคนทำงานเพศชาย (ร้อยละ 32.1) ส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มอายุ 25ะ34 ปี (ร้อยละ 35.5) สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี (ร้อยละ 42.9) ทำงานในสายงานบริการสูงที่สุด (ร้อยละ 42.3) ส่วนใหญ่เป็นพนักงานประจำ (ร้อยละ 61.1) และทำงานในองค์กรปัจจุบัน ตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป (ร้อยละ 41.7)

คนทำงานในประเทศไทยในรอบนี้ ระบุสถานภาพเป็นโสด (ร้อยละ 46.6) มากกว่าแต่งงานแล้ว (ร้อยละ 40.5) และเกินกว่าครึ่งของคนทำงานที่ระบุว่าแต่งงานแล้วแต่ยังไม่มีบุตร (ร้อยละ 54.2) สูงกว่าผู้ที่มีบุตร 1 คน (ร้อยละ 21.8) และมีบุตร 2 คน (ร้อยละ 18.9)

ความสุขคนทำงานในประเทศไทย ผลสำรวจในรอบนี้ พบว่า คนทำงานทั่วประเทศ มีความสุข ร้อยละ 60.9 ซึ่งลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับผลสำรวจของรอบแรก โดยค่าคะแนนเฉลี่ยในทุกมิติ แม้ว่าจะต่ำลงกว่ารอบแรก แต่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน

ตารางแสดงคะแนนความสุขจำแนกตามรายมิติ

 ตารางแสดงค่าเฉลี่ยความสุข

ผลสำรวจความสุขคนทำงานไทยทั้ง 2 รอบ แสดงให้เห็นว่า ความผ่อนคลาย ความสุขในด้านการเงิน และความสุขในครอบครัว คือมิติที่คนทำงานไทยในปัจจุบัน ต้องการให้เกิดการพัฒนาสร้างเสริมอย่างตาอเนื่อง เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี และเกิดเป็นความสุขที่ยั่งยืน

แล้วคุณล่ะ วันนี้ คุณวัดความสุขหรือยัง? สนใจ HAPPINOMETER ติดต่อ 02-441-0201-4 ต่อ 407

Since 25 December 2012