การเลื่อนสถานภาพทางสังคมของนายหน้าแรงงานอีสาน

ธนพฤกษ์ ชามะรัตน์ และ ดุษฎี อายุวัฒน์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเชิงคุณภาพนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเลื่อนสถานภาพทางสังคมของนายหน้าแรงงานอีสาน ในประเด็นของแบบแผนการเลื่อนสถานภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก ตลอดจนการสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วมผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ นายหน้าแรงงานชาวภาคอีสาน ซึ่งผันตัวเองจากแรงงานคืนถิ่นที่กลับจากการทำงานในต่างประเทศ รวม 15 ราย ในพื้นที่ 4 จังหวัดในภาคอีสาน ประกอบด้วย ขอนแก่น อุดรธานี มหาสารคาม และยโสธร ผลการศึกษาพบว่า แบบแผนการเลื่อนสถานภาพของนายหน้าแรงงานเป็นไปในลักษณะการเลื่อนสูงขึ้น แบ่งได้เป็น 3 รูปแบบ ประกอบด้วย (1) การเลื่อนแบบค่อยเป็นค่อยไป คือ การเลื่อนสถานภาพของแรงงานคืนถิ่นที่เดิมมีความตั้งใจว่าจะเป็นนายหน้าแรงงาน แต่ยังไม่มีโอกาส เมื่อกลับมาจากการทำงานในต่างประเทศ จะหวนกลับมาประกอบอาชีพเดิมก่อน จากนั้นจึงจะค่อยพัฒนาตัวเองมาเป็นนายหน้าแรงงานในที่สุด (2) การเลื่อนแบบฉับพลัน คือ การเลื่อนสถานภาพของแรงงานคืนถิ่นที่เดิมมีความตั้งใจว่าจะเป็นนายหน้าแรงงาน เมื่อกลับมาจากการทำงานในต่างประเทศ จะเปลี่ยนอาชีพตนเองมาเป็นนายหน้าแรงงานในทันที และ (3) การเลื่อนแบบไม่ตั้งใจ คือ การเลื่อนสถานภาพของแรงงานคืนถิ่นที่เดิมไม่มีความตั้งใจว่า จะเป็นนายหน้าแรงงานแต่อย่างใด แต่เมื่อกลับมาจากการทำงานในต่างประเทศ มองเห็นและรับรู้ในผลประโยชน์ จึงเปลี่ยนอาชีพตนเองมาเป็นนายหน้าแรงงานในที่สุด

 

SOCIAL MOBILITY OF ISAN LABOUR BROKERS

Thanapauge Chamaratana and Dusadee Ayuwat
ABSTRACT

The purpose of this qualitative research was to study the social mobility of labour brokers in frames of mobility format. Data was collected through semistructure and in-depth interviews as well as participatory and non-participatory observations. The key informants were 15 labour brokers in the Northeast of Thailand (ISAN), who mobilized from return migrant labours from oversea working. Study area consisted of four provinces of ISAN include; Khon Kaen, Udonthani, Mahasarakam, and Yasothon. The results of the study indicate that the mobility format of labour brokers is upward mobility. There are three types of mobility include; Gradually mobility, Suddenly mobility, and Accidentally mobility. The first type of mobility is the mobilization of return migrants who were intend to be labour broker but they have no chance in suddenly, so they were back to old occupation before developed to be labour broker. The second type of mobility, Suddenly mobility, this is the mobilization of return migrants who were intend to be labour broker and mobilized to be this position in suddenly after came back home. The final type, Accidentally mobility, this is the mobilization of return migrants who were not intend to be labour broker but they found that the benefit of labour broker process after return, then they mobilized to be labour broker in finally.

การตายของประชากรในพระนครเมื่อ 100 ปีก่อน

ปัทมา ว่าพัฒนวงศ์ และ ปราโมทย์ ประสาทกุล

บทคัดย่อ

โดยทั่วไป การศึกษาภาวะการตายโดยจำแนกตามเพศและอายุ มักใช้ข้อมูลที่รายงานในสถิติสาธารณสุข ซึ่งสามารถสืบค้นย้อนหลังได้ราว 50 ปี เท่านั้น หากต้องการศึกษาการตายย้อนหลังไปยิ่งกว่านั้น จำเป็นต้องหาแหล่งข้อมูลอื่น การศึกษาครั้งนี้ เป็นความพยายามศึกษาแบบแผนและสาเหตุการตายของประชากรไทยที่อาศัยอยู่ในมณฑลพระนครกรุงเทพฯ ซึ่งขึ้นอยู่กับกระทรวงนครบาล เมื่อประมาณ 100 ปีก่อน ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาเป็นบัญชีคนตายของกระทรวงนครบาล ซึ่งบันทึกคนตายจำแนกตามเพศ กลุ่มอายุ และเชื้อชาติในแต่ละเดือนเอาไว้อย่างน่าสนใจยิ่ง

ผลของการศึกษาพบว่ามีผู้ชายตายมากกว่าผู้หญิงเกือบทุกกลุ่มอายุ โดยเฉพาะในกลุ่มอายุ 26 - 45 ปีที่จำนวนการตายของชายสูงกว่าหญิงอย่างมาก นอกจากนั้น สาเหตุการตายสำคัญที่พบคือโรคติดเชื้อต่างๆ บางโรคได้หายไปแล้วจากสังคมไทย บางโรคที่ยังมีอยู่ในปัจจุบันแต่อาจเรียกชื่อเป็นอย่างอื่นในสมัยนั้น สำหรับการตายมารดาหรือการตายของสตรีเนื่องมาจากการตั้งครรภ์และคลอดบุตรเมื่อร้อยปีก่อนอยู่ในอัตราที่สูงมาก เช่นเดียวกับการตายทารกที่มีอยู่ประมาณ 1 ใน 3 ของการตายทั้งหมด

 

THE MORTALITY OF PRA NAKHORN A CENTURY AGO

Patama Vapattanawong, Pramote Prasartkul
ABSTRACT

To study of mortality classified by sex and age, data from the Public Health Statistics’ annual reports are generally used. These data sources have been available for approximately 50 years. Thus, other sources of mortality data are needed for the study prior to this period. This study aims to explore mortality pattern and causes of death of Thais who lived in Bangkok a century ago. The data
used are from the ‘Weekly Return of Births and Deaths’ report of the Ministry of Interior in the last century.

It is found that one hundred years ago, more male than female deaths in almost all age groups, especially in age 26 - 45 years. The major causes of death were infectious diseases. Some diseases at that time were eradicated. Some still existed but were called in other names. For maternal mortality, the rate was very high. The infant deaths were also very high accounted for about one-third of all deaths.

ผลกระทบของประชากรสูงวัยที่มีต่อภาระการป่วยและตายจากโรคไม่ติดต่อ: ประเด็นท้าทายการพัฒนามนุษย์ในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา

แดน สุวรรณะรุจิ

บทคัดย่อ

ภาระโรคจากการป่วยและตายจากโรคไม่ติดต่อมีแนวโน้มที่เพิ่มสูงขึ้นในหลายประเทศรวมทั้งในระดับโลก จากการศึกษาข้อมูลภาระโรค (DALY) ในระดับประเทศที่เป็นสมาชิกขององค์การสหประชาชาติ โดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมพบว่า การเพิ่มสัดส่วนประชากรสูงอายุซึ่งจะนำไปสู่การเปลี่ยนโครงสร้างประชากรของแต่ละประเทศเข้าสู่โครงสร้างแบบประชากรสูงวัย เป็นตัวแปรสำคัญที่จะมีผลต่อการเพิ่มขึ้นของอัตราภาระโรคจากโรคไม่ติดต่อ แต่ในทางตรงข้ามการมีนโยบายและแผนการพัฒนามนุษย์ที่ดีเพื่อยกระดับรายได้ การศึกษา และสุขภาพของประชากร โดยมุ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศเพื่อเพิ่มรายได้ประชาชาติต่อหัว การพัฒนาการศึกษาของประชากร และการพัฒนาระบบบริการสุขภาพให้มีประสิทธิภาพ ได้แก่ การเพิ่มบุคลากรแพทย์ และการเพิ่มงบประมาณรายจ่ายด้านสุขของภาครัฐ จะส่งผลให้อัตราภาระโรคจากโรคกลุ่มนี้ลดลงได้ นอกจากนี้การพัฒนาทางเศรษฐกิจและการศึกษาของประเทศนั้นมียังความสัมพันธ์ต่อการเพิ่มงบประมาณรายจ่ายด้านสุขภาพของภาครัฐ และบุคลากรแพทย์ตามลำดับ โดยประเทศที่ยังไม่เข้าสู่ช่วงประชากรสูงวัยอย่างเต็มตัว (มีสัดส่วนประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปต่ำกว่าร้อยละ 10) ควรมุ่งเน้นการพัฒนาการศึกษาของประชากรร่วมกับการพัฒนาทางเศรษฐกิจ ส่วนประเทศที่ผ่านเข้าสู่ช่วงประชากรสูงวัยอย่างเต็มตัวแล้วการพัฒนาทางเศรษฐกิจเป็นสิ่งที่มีความสำคัญที่สุดร่วมกับการพัฒนาประสิทธิภาพระบบบริการสุขภาพ โดยให้มีจำนวนแพทย์เฉลี่ยอย่างน้อยประมาณ 100 คน ต่อประชากรแสนคนและงบประมาณรายจ่ายสุขภาพของภาครัฐประมาณอย่างน้อยร้อยละ 4-7 ของจีดีพี จึงเห็นได้ว่าการพัฒนาเศรษฐกิจและการศึกษานั้นเป็นรากฐานสำคัญในแต่ละประเทศที่จะนำไปสู่การพัฒนามนุษย์ให้มีความเป็นอยู่ที่ดี มีระบบบริการสุขภาพที่มีประสิทธิภาพ และมีความพร้อมที่จะต้องเผชิญกับภาระเจ็บป่วยจากโรคกลุ่มนี้ในอนาคต ดังนั้นจึงเป็นประเด็นท้าทายในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา ที่จะต้องเร่งพัฒนามนุษย์ด้านต่างๆให้ประสพผลสำเร็จในเวลาจำกัด เนื่องจากหลายประเทศในกลุ่มนี้มีแนวโน้มเข้าสู่ช่วงประชากรสูงวัยในเวลาอันสั้น

 

IMPACT OF POPULATION AGING ON BURDEN FROM DISABILITY AND MORTALITY OF NONCOMMUNICABLE DISEASES: CHALLENGE FOR HUMAN DEVELOPMENT IN DEVELOPING COUNTRIES

Dan Suwannaruji
ABSTRACT

Trend of burden of noncommunicable diseases has been increasing in many countries and global world. By ANCOVA and multivariate method, the results of this study analyzed through data of those which are members of UN showed that the increasing of aging population proportion affected the increasing of DALY rate of noncommunicable diseases significantly. In the contrary, well- prepared human development policies and programs for raising population income, education and health emphasizing on economic (GNI per capita), academic system (literature and enrollment rate) and health service system development (amount of doctors per 100,000 population, governmental health expenditure per capita and GDP ) rendered the decreasing of DALY rate of these diseases significantly; moreover, economic and academic development correlated the increasing health expenditure per capita and amount of doctors respectively. Otherwise, to improve human development, the group of countries not existing absolute population aging (percentage of aging population less than 10) should stress on economic and academic development simultaneously, and the rest of them existing absolute population aging should mainly stress on economic and then health service system development to increase average amount of doctors at least about 100 per 100,000 population and governmental health expenditure at least about 4-7 % of GDP. In conclusion, economic and academic development in several countries are the essential fundamental of human development, and bring about human well being coupled with effective healthcare service to prepare for impending burden of noncommunicable diseases. For this reason, many developing countries which rapidly step into population aging are being challenged for their achievement of human development.