การเลื่อนสถานภาพทางสังคมของนายหน้าแรงงานอีสาน

ธนพฤกษ์ ชามะรัตน์ และ ดุษฎี อายุวัฒน์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเชิงคุณภาพนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเลื่อนสถานภาพทางสังคมของนายหน้าแรงงานอีสาน ในประเด็นของแบบแผนการเลื่อนสถานภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก ตลอดจนการสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วมผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ นายหน้าแรงงานชาวภาคอีสาน ซึ่งผันตัวเองจากแรงงานคืนถิ่นที่กลับจากการทำงานในต่างประเทศ รวม 15 ราย ในพื้นที่ 4 จังหวัดในภาคอีสาน ประกอบด้วย ขอนแก่น อุดรธานี มหาสารคาม และยโสธร ผลการศึกษาพบว่า แบบแผนการเลื่อนสถานภาพของนายหน้าแรงงานเป็นไปในลักษณะการเลื่อนสูงขึ้น แบ่งได้เป็น 3 รูปแบบ ประกอบด้วย (1) การเลื่อนแบบค่อยเป็นค่อยไป คือ การเลื่อนสถานภาพของแรงงานคืนถิ่นที่เดิมมีความตั้งใจว่าจะเป็นนายหน้าแรงงาน แต่ยังไม่มีโอกาส เมื่อกลับมาจากการทำงานในต่างประเทศ จะหวนกลับมาประกอบอาชีพเดิมก่อน จากนั้นจึงจะค่อยพัฒนาตัวเองมาเป็นนายหน้าแรงงานในที่สุด (2) การเลื่อนแบบฉับพลัน คือ การเลื่อนสถานภาพของแรงงานคืนถิ่นที่เดิมมีความตั้งใจว่าจะเป็นนายหน้าแรงงาน เมื่อกลับมาจากการทำงานในต่างประเทศ จะเปลี่ยนอาชีพตนเองมาเป็นนายหน้าแรงงานในทันที และ (3) การเลื่อนแบบไม่ตั้งใจ คือ การเลื่อนสถานภาพของแรงงานคืนถิ่นที่เดิมไม่มีความตั้งใจว่า จะเป็นนายหน้าแรงงานแต่อย่างใด แต่เมื่อกลับมาจากการทำงานในต่างประเทศ มองเห็นและรับรู้ในผลประโยชน์ จึงเปลี่ยนอาชีพตนเองมาเป็นนายหน้าแรงงานในที่สุด

 

SOCIAL MOBILITY OF ISAN LABOUR BROKERS

Thanapauge Chamaratana and Dusadee Ayuwat
ABSTRACT

The purpose of this qualitative research was to study the social mobility of labour brokers in frames of mobility format. Data was collected through semistructure and in-depth interviews as well as participatory and non-participatory observations. The key informants were 15 labour brokers in the Northeast of Thailand (ISAN), who mobilized from return migrant labours from oversea working. Study area consisted of four provinces of ISAN include; Khon Kaen, Udonthani, Mahasarakam, and Yasothon. The results of the study indicate that the mobility format of labour brokers is upward mobility. There are three types of mobility include; Gradually mobility, Suddenly mobility, and Accidentally mobility. The first type of mobility is the mobilization of return migrants who were intend to be labour broker but they have no chance in suddenly, so they were back to old occupation before developed to be labour broker. The second type of mobility, Suddenly mobility, this is the mobilization of return migrants who were intend to be labour broker and mobilized to be this position in suddenly after came back home. The final type, Accidentally mobility, this is the mobilization of return migrants who were not intend to be labour broker but they found that the benefit of labour broker process after return, then they mobilized to be labour broker in finally.