การตายของประชากรในพระนครเมื่อ 100 ปีก่อน
ปัทมา ว่าพัฒนวงศ์ และ ปราโมทย์ ประสาทกุล
บทคัดย่อ
โดยทั่วไป การศึกษาภาวะการตายโดยจำแนกตามเพศและอายุ มักใช้ข้อมูลที่รายงานในสถิติสาธารณสุข ซึ่งสามารถสืบค้นย้อนหลังได้ราว 50 ปี เท่านั้น หากต้องการศึกษาการตายย้อนหลังไปยิ่งกว่านั้น จำเป็นต้องหาแหล่งข้อมูลอื่น การศึกษาครั้งนี้ เป็นความพยายามศึกษาแบบแผนและสาเหตุการตายของประชากรไทยที่อาศัยอยู่ในมณฑลพระนครกรุงเทพฯ ซึ่งขึ้นอยู่กับกระทรวงนครบาล เมื่อประมาณ 100 ปีก่อน ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาเป็นบัญชีคนตายของกระทรวงนครบาล ซึ่งบันทึกคนตายจำแนกตามเพศ กลุ่มอายุ และเชื้อชาติในแต่ละเดือนเอาไว้อย่างน่าสนใจยิ่ง
ผลของการศึกษาพบว่ามีผู้ชายตายมากกว่าผู้หญิงเกือบทุกกลุ่มอายุ โดยเฉพาะในกลุ่มอายุ 26 - 45 ปีที่จำนวนการตายของชายสูงกว่าหญิงอย่างมาก นอกจากนั้น สาเหตุการตายสำคัญที่พบคือโรคติดเชื้อต่างๆ บางโรคได้หายไปแล้วจากสังคมไทย บางโรคที่ยังมีอยู่ในปัจจุบันแต่อาจเรียกชื่อเป็นอย่างอื่นในสมัยนั้น สำหรับการตายมารดาหรือการตายของสตรีเนื่องมาจากการตั้งครรภ์และคลอดบุตรเมื่อร้อยปีก่อนอยู่ในอัตราที่สูงมาก เช่นเดียวกับการตายทารกที่มีอยู่ประมาณ 1 ใน 3 ของการตายทั้งหมด
THE MORTALITY OF PRA NAKHORN A CENTURY AGO
Patama Vapattanawong, Pramote Prasartkul
ABSTRACT
To study of mortality classified by sex and age, data from the Public Health Statistics’ annual reports are generally used. These data sources have been available for approximately 50 years. Thus, other sources of mortality data are needed for the study prior to this period. This study aims to explore mortality pattern and causes of death of Thais who lived in Bangkok a century ago. The data
used are from the ‘Weekly Return of Births and Deaths’ report of the Ministry of Interior in the last century.
It is found that one hundred years ago, more male than female deaths in almost all age groups, especially in age 26 - 45 years. The major causes of death were infectious diseases. Some diseases at that time were eradicated. Some still existed but were called in other names. For maternal mortality, the rate was very high. The infant deaths were also very high accounted for about one-third of all deaths.