สถิติน่ารู้
โรคอ้วนกับคนไทย
กาญจนา เทียนลาย kanchana.tha@mahidol.ac.th
อ้วนหรือไม่อ้วน ประเมินได้จากค่าดัชนีมวลกาย หรือ BMI (Body Mass Index) คำนวณง่ายๆ จาก น้ำหนักตัว (กก.) หารด้วยส่วยสูงยกกำลังสอง (เมตร) ซึ่งถ้ามีค่าตั้งแต่ 25 ขึ้นไป คือ “น้ำหนักเกิน” และถ้า 30 ขึ้นไป คือ “อ้วน” และจากข้อมูล (ปี 2534 ะ 2552) พบว่า ในรอบ 18 ปี คนไทย มีอัตราของภาวะน้ำหนักเกินเพิ่มขึ้น 2 เท่า และภาวะอ้วนเพิ่มขึ้นราว 3 เท่า (จาก 3.2% เป็น 9.1%)
หากเปรียบเทียบในประเทศอาเซียน ก็จะพบว่า คนไทยอ้วนมากเป็นอันดับ 2 จาก 10 ประเทศ รองจากมาเลเซีย โดยผู้ชายอยู่ในดันดับ 4 ส่วนผู้หญิงอยู่ในอันดับ 2 รวมทั้งข้อมูลการสำรวจในไทยเอง ก็พบแนวโน้มในทางเดียวกันว่า ร้อยละของชายและหญิงมีน้ำหนักเกินและอ้วนเพิ่มสูงราว 2 เท่า
จากข้อมูลเหล่านี้ คนไทยคงต้องหันกลับมาให้ความสำคัญกับโรคอ้วนกันอย่างจริงจังเสียที เพราะโรคอ้วน เป็นมาของการเกิดโรคเรื้อรัง (NCDs) เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน หัวใจ ฯลฯ ที่เป็นปัญหาต่อสุขภาพและเสียค่าใช้จ่ายสูงมากในขณะนี้