ประสิทธิผลการบำบัดอย่างย่อชุมชนเพื่อลดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ในกลุ่มผู้ที่ดื่มระดับปานกลางในชุมชน จังหวัดลพบุรี

จิตรลดา อารีย์สันติชัย และอุษณีย์ พึ่งปาน
บทคัดย่อ

การศึกษานี้ใช้การเปรียบเทียบชุมชน 2 ชุมชนในจังหวัดลพบุรี ที่มีความชุกของการดื่มสูง กล่าวคือ ชุมชนทดลองที่ได้รับรูปแบบการบำบัดอย่างย่อชุมชนที่สร้างขึ้นและชุมชนควบคุมที่ไม่ได้รับการบำบัดอย่างย่อ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบเปลี่ยนแปลงปริมาณการดื่มเครื่องดื่มแอลกฮอล์เฉลี่ยทั้งก่อนและหลังการใช้รูปแบบบำบัดอย่างย่อชุมชน และ เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงจำนวนวันที่ดื่มฯ ทั้งก่อนและหลังการใช้รูปแบบบำบัดอย่างย่อ ในกลุ่มประชากรที่ดื่มฯ ในระดับปานกลาง

การดำเนินการวิจัยใช้การสำรวจครัวเรือน โดยสัมภาษณ์สมาชิกในครัวเรือนทุกคนและอายุ 19-65 ปี หลังจากนั้นใช้การคัดกรองภาวะผิดปกติจากการดื่มฯ แบ่งกลุ่มตัวอย่าง ออกเป็น 3 กลุ่มคือ กลุ่มดื่มน้อย (0-7 คะแนน) กลุ่มดื่มปานกลาง (8-19 คะแนน) กลุ่มดื่มมาก (20-40 คะแนน) ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่างที่ดื่มปานกลาง และติดตามได้ครบ 1, 3 และ 6 เดือน ในชุมชนควบคุมจำนวน 50 คน และชุมชนทดลองจำนวน 47 คน ซึ่งได้รับรูปแบบการบำบัดอย่างย่อโดยเน้นให้ผู้ดื่มกำหนดเป้าหมาย

ผลการศึกษา พบว่า หลังการใช้รูปแบบการบำบัดอย่างย่อแล้ว ชุมชนทดลองมีปริมาณการดื่มฯ ลดลงขณะที่ชุมชนควบคุมกลับมีปริมาณการดื่มฯ เพิ่มขึ้น เมื่อใช้ t-test ทดสอบผลต่างปริมาณการดื่มฯ ในทุกช่วงเวลา และมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ ที่ระดับ .001 ในทุกช่วงเวลา นอกจากนี้ค่าเฉลี่ยของคะแนนการคัดกรองภาวะผิดปกติจากการดื่มฯ ก่อน/หลัง 6 เดือน เปรียบเทียบกับ ก่อน/หลัง 1 เดือน พบว่าลดลงสองเท่า สังเกตว่าชุมชนทดลองมีจำนวนวันดื่มฯ ลดลงอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ชุมชนควบคุมกลับเพิ่มขึ้น เมื่อทดสอบโดยใช้ t-test จึงพบความแตกต่างระหว่าง 2 ชุมชนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .001 จากผลการศึกษาสามารถพิสูจน์ประสิทธิผลของการบำบัดอย่างย่อชุมชนได้

 

EFFECTIVENESS OF COMMUNITY BRIEF INTERVENTION MODEL ON ALCOHOL CONSUMPTION REDUCTION AMONG MODERATE DRINKERS IN COMMUNITIES IN LOP BURI PROVINCE

Chitlada Areesantichai and Usaneya Perngparn
ABSTRACT

This study compared between two high risk drinking prevalence communities in Lop Buri Province: an experiment group with brief intervention (BI); a control group. It is aimed at studying the change of average alcohol drinking volume before and after receiving BI among moderate drinkers change of frequency of drinking before and after receiving BI among moderate drinkers

Members aged 19-65 years in both communities were interviewed as a household survey. Alcohol drinkers were classified by AUDIT scores into 3 groups, i.e. low/non drinkers (score 0-7), moderate drinkers (score 8-19) and heavy drinkers (score 20-40). Fifty cases and forty-seven in control and intervention community from moderate drinkers completing all 3 intervals (1, 3 and 6 months) were followed-up. Drinkers voluntarily set up their goal and drinking reduction design suitable for them and their community.

The results show the change of average drinking volume in intervention community decreased while control’s increased with t-test significant difference at .001. Moreover, the mean of AUDIT score change before/after 6 months BI comparing with that of before/after 1 month BI decreased about double. Noticeably, the moderate drinkers intervention’s frequency of drinking decreased
whereas Control’s increased significantly at .001. The results proved the effectiveness of the Community Brief Intervention.

 

ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 เดือนมีนาคม 2553

 

เด็กและการดูแลสุขภาพที่บ้านสำหรับผู้ป่วยวัณโรคในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย

แก้วตา แสงสุข, เพ็ญจันทร์ ประดับมุข-เชอร์เรอร์ และ สุพจน์ เด่นดวง

บทคัดย่อ

วัณโรคเป็นปัญหาของระบบสาธารณสุขมาอย่างยาวนาน ในปัจจุบันกระทรวงสาธารณสุขได้นำระบบการกินยาต่อหน้า (DOTS) มาใช้ในกระบวนการดูแลรักษาผู้ป่วยวัณโรค โดยให้สมาชิกในบ้านเป็นผู้ควบคุมการกินยาของผู้ป่วยวัณโรค เช่น เด็กซึ่งทำหน้าที่เป็นผู้ดูแลผู้ปกครองที่ป่วยเป็นวัณโรค ผู้ป่วยวัณโรคมีอาการดีขึ้นจากการเฝ้าดูแลของลูกหลานในบ้าน จากวัฒนธรรมและการให้คุณค่าของสังคม ผู้ดูแลที่เป็นเด็ก เป็นเอกลักษณ์เชิงบวกที่ถูกสังคมสร้างขึ้น ซึ่งแฝงด้วยความหมายของความกตัญญู ความมีน้ำใจและความเป็นผู้ใหญ่ ผู้วิจัยได้ศึกษาเกี่ยวกับประสบการณ์ชีวิตของเด็กที่อยู่ร่วมบ้านกับผู้ป่วยวัณโรคในบริบทของครอบครัว ความสัมพันธ์ของเด็กและผู้ป่วยกำหนดบทบาทของเด็กในการดูแลผู้ป่วยวัณโรค ความสัมพันธ์ที่ดีเป็นแรงกระตุ้นให้เด็กดูแลผู้ปกครองด้วยความเต็มใจ ประสบการณ์ชีวิตและจิตสำนึกได้ถูกอธิบายภายใต้กรอบความคิดของทฤษฎีการกระทำระหว่างกันเชิงสัญลักษณ์ จากการศึกษาได้แสดงให้เห็นว่าเราได้ให้ความหมายแก่ผู้คนและสิ่งต่างๆ แล้วตอบสนองแต่สิ่งเหล่านั้นในลักษณะที่แตกต่างกันออกไป จากการศึกษานี้ได้แสดงให้เห็นว่า วัณโรคมีความหมายเชิงสัญลักษณ์มากกว่าแค่โรคชนิดหนึ่งและการที่เด็กต้องกลายมาเป็นผู้ดูแลผู้ป่วยในครอบครัวที่มีวัณโรค สิ่งเหล่านี้ได้ส่งผลต่อประสบการณ์ชีวิตของเด็กกลุ่มนี้ เด็กอายุ 12-15 ปีที่มี ส่วนร่วมในการดูแลผู้ปกครองที่ป่วยเป็นวัณโรคในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ได้ถ่ายทอดเรื่องราวชีวิตเกี่ยวกับการสำนึกรับรู้ในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างตนเองและผู้ปกครองที่ป่วยเป็นวัณโรค งานวิจัยเชิงคุณภาพชิ้นนี้ได้ใช้การสัมภาษณ์เชิงบรรยาย การสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง การสังเกตแบบมีและไม่มีส่วนร่วม เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล

 

Children and Home-based Care for TB Patients in Chiang Mai, Thailand

Kaewta Sangsuk, Penchan Sherer and Suphot Dendoung
ABSTRACT

Tuberculosis (TB) has been a public health problem throughout history. Today, the Directly Observed Treatment, Short course (DOTS) strategy uses family members to supervise those afflicted by TB, in some cases children serve as caregivers. With the support of children, TB patients do not feel lonely or stigmatized. They recover with cheerfulness and hope when compliant with the TB treatment. A child as caregiver is a positive identity constructed by society. It has become attached to meanings of gratitude, kindness and being an adult. The study examines the lived experiences of children in the TB families in the northern
context. The interaction between children and patients is determined by the nature of their relationships. These determine children’s roles in caring for people with TB. Strong and good relationships motivated children to provide care with willingness
to repay their parents or guardians. Their life stories reveal that their lived experiences are closely connected with the perception of the relationship between the children and TB parents or guardians, and meaning attached with sickness and care in everyday life. The self and lived experiences have been reconceptualised within a symbolic interactionism framework. The study shows how TB as an illness becomes symbolic, and acting as a caregiver in a TB family while still a child affects the children’s experiences. This qualitative research employed narrative interviews, in-depth interviews, participatory and non-participatory observation to record these children’s lived experiences. Children of twelve to fifteen years in Chiang Mai Province are involved in their parent or guardians’ treatment.

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความมั่นคงด้านสุขภาพครอบครัว

สังคม ศุภรัตนกุล และ ดุษฎี อายุวัฒน์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความมั่นคงด้านสุขภาพครอบครัว เป็นการศึกษาเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลจากแม่บ้านประจำครอบครัว ในพื้นที่จังหวัดหนองบัวลำภู ระหว่างเดือนกรกฎาคม ถึงเดือนสิงหาคม 2552 จากจำนวนตัวอย่าง 399 ครอบครัว วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติ LISREL ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความมั่นคงด้านสุขภาพครอบครัว มีอยู่ 3 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ได้แก่ กลุ่มปัจจัยภายในครอบครัว ประกอบด้วย (1) ความสัมพันธ์ภายในครอบครัว (2) ศักยภาพของครอบครัวด้านสุขภาพ (3) ความสัมพันธ์ของครอบครัวกับญาติ กลุ่มที่ 2 ได้แก่ ปัจจัยภายในชุมชนประกอบด้วย (1) กลุ่มองค์กรในชุมชน (2) ความสัมพันธ์ของครอบครัวกับชุมชน (3) แหล่งทรัพยากรธรรมชาติในชุมชน (4) ระบบสุขภาพชุมชน กลุ่มที่ 3 ได้แก่ ปัจจัยภายนอกชุมชน ประกอบด้วย (1) ระบบบริการสุขภาพสุขภาพของรัฐ (2) การส่งเสริมการเข้าถึงบริการสุขภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (3) การส่งเสริมสุขภาพผ่านเครือข่ายชุมชน ปัจจัยภายในชุมชนมีอิทธิพลต่อความมั่นคงด้านสุขภาพครอบครัวชนบทสูงสุด (λ=0.86) รองลงมาคือ ปัจจัยภายนอกชุมชน (λ=-0.71) และปัจจัยภายในครอบครัว (λ=.66) ตามลำดับ กลุ่มปัจจัยทั้งหมดนี้รวมเรียกว่า “ทุนทางสังคม” สามารถพยากรณ์ความมั่นคงด้านสุขภาพครอบครัว ได้ร้อยละ 57.0 (R2=0.57) ดังนั้นการดำเนินงานด้านสุขภาพควรคำนึงถึงทุนทางสังคมที่มีอยู่ในชุมชนชนบทอย่างครอบคลุม

 

Factors Influence Health Security Families

Sungkom Suparatanagool and Dusadee Ayuwat
ABSTRACT

The objective of this study aimed to describe the factors which influence health security of rural families. It was conducted on a quantitative method. Data was collected through questionnaires and distributed to households within the Nong Bua Lamphu Province during July - August 2009 covered 399 samples size and  analyzed by LISREL. This paper shows that three factor components which influence health security of rural families consist of; group: 1 the factors within family such as: (1) family association (2) health potential in family and (3) kinship associations. Group: 2 the factor within community contains: (1) organizations within community (2) association of family with community and (3) natural resources within community and (4) community health system. Group: 3 the external community factors consisting of; (1) government health system (2) promotion for health access by local administration and (3) health promotion through health networks. The findings show that the factors which influenced health security of rural families as a follow; firstly, the factors within community (λ=0.86). Secondly, the external community factors (λ=-0.71) and finally the factors within family (λ=.66) respectively. These factors call that “Social Capital” which have shown power of predict health security of rural families at 57% (R2=.57). Suggestion, health strategic policy plans should be concern about “social capital” and should be implementing through social capital increase.