ความสุขของประชากรชนบทใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

จรัมพร โห้ลำยอง ปราโมทย์ ประสาทกุล และกาญจนา เทียนลาย2
บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาสถานการณ์เกี่ยวกับความสุขและความทุกข์ของประชากรชนบทใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส โดยจะศึกษาระดับและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสุขและความทุกข์เหล่านั้น การศึกษาใช้ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ครัวเรือนตัวอย่างที่ได้จากการสุ่มเพื่อให้ได้ตัวแทนของประชากรชนบทใน3 จังหวัดนี้ของโครงการสำรวจคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ซึ่งดำเนินการโดยสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ผลการวิเคราะห์พบว่า คะแนนความสุขของประชากรชนบทใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ในปีที่สำรวจ คือ พ.ศ. 2552 เท่ากับ 6.7 ซึ่งต่ำกว่าคะแนนความสุขเฉลี่ยของประเทศไทยที่เท่ากับ 7.5 ซึ่งคำนวณจากข้อมูลการสำรวจสภาวะทางสังคมและวัฒนธรรม ใน พ.ศ. 2551 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ

ผลการวิเคราะห์ด้วย Binomial Logistic Regression พบว่า ศาสนาประจำครัวเรือน ความรู้สึกปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของคนในครัวเรือน และการเจ็บป่วยของครัวเรือน มีอิทธิพลต่อความสุขมาก และความทุกข์ของประชากรชนบทในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ครัวเรือนที่นับถือศาสนาพุทธมีความน่าจะเป็นที่ครัวเรือนจะมีความสุขมากสูงกว่าครัวเรือนที่นับถือศาสนาอิสลาม ในขณะที่ความรู้สึกปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของคนในครัวเรือนเพิ่มขึ้น จะเพิ่มโอกาสให้ครัวเรือนมีความสุข และลดโอกาสที่ครัวเรือนจะมีความทุกข์

อาการเครียด โรคกระดูก/ข้อ/กล้ามเนื้อ/เอ็น และโรคไข้เลือดออก/ไข้ชิคุนกุนยาเป็นโรคที่ส่งผลกระทบความสุขของชนบทในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งมีบางครัวเรือนเท่านั้นที่เข้ารับการรักษาในสถานบริการทางสุขภาพ โดยเหตุผลของการปฏิเสธไม่ไปรับบริการในสถานบริการของรัฐมีความหลากหลาย เช่น ความรุนแรงของโรค ที่ตั้งของสถานบริการ และความพึงพอใจในการให้บริการ

คำสำคัญ: ความสุข, คุณภาพชีวิต, 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้, ภาคใต้

 

The Happiness of RuralRural Population in the 3 Southern Border Provinces in Thailand

Charamporn Holumyong, Promote Prasartkul, and Kanchana Thianlai2
Abstract

This article studies the happiness and sadness of rural population in the 3 southern border provinces in Thailand-Pattanee, Yala, and Narathivat. The overview of happiness and the analysis of factors determining happiness and sadness are included in this study. Employing the data from the survey on people’s quality of life in 3 Southern border provinces conducted by Institute for Population and Social Research, Mahidol University, it reveals that the average score of happiness level of rural population in the 3 Southern border provinces was 6.7 in the year implemented survey, 2009. This happiness level is quite low comparing to the average score of happiness level of Thai population which was 7.5, according to the 2008 survey on conditions of social, culture and mental health done by National Statistical Office, Thailand.

The findings of Binomial Logistic Regression analysis show that household religions, perception of safety, and health condition significantly determine both sadness and happiness of rural population in the 3 Southern border provinces in Thailand. A Buddhist household is more likely to be happy than an Islamic household. Strong perception of safety on both life and property can increase the likelihood to be happy and simultaneously decrease the likelihood to be sad. 

Concerning health condition, stress, joint, bone and muscle pain, dengue fever and Chikungunya disease are the major health problems that significantly lower happiness of this population. While these diseases are curable, only some households seek the proper treatment at health facilities. The reasons for denying to access health services at the government health facilities are varies such as severity of symptoms, location of health facilities, and service satisfaction.

Keywords: Happiness, Quality of Life, The Three Southern Provinces of Thailand, South Thailand

2 Institute for Population and Social Research, Mahidol University

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะเสี่ยงการมีปัญหาสุขภาพจิตของผู้สูงอายุไทย

วิชาญ ชูรัตน์1 โยธิน แสวงดี2 และสุพาพร อรุณรักษ์สมบัติ1
บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะสุขภาพจิตของผู้สูงอายุตามลักษณะทางประชากรและสังคม สุขภาพ และเศรษฐกิจของผู้สูงอายุ และเพื่อศึกษาอิทธิพลของปัจจัยด้านประชากรและสังคม สุขภาพ และเศรษฐกิจ ที่มีผลต่อภาวะเสี่ยงการมีปัญหาสุขภาพจิตของผู้สูงอายุไทย โดยใช้ข้อมูลโครงการสำรวจสุขภาพจิตคนไทย พ.ศ. 2553 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ โดยคัดเลือกเฉพาะผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปมาใช้ในการศึกษา

ผลการศึกษาพบว่า ลักษณะของผู้สูงอายุที่เสี่ยงต่อการมีปัญหาสุขภาพจิต ส่วนใหญ่อยู่ในภาคกลาง และอยู่นอกเขตเทศบาลมากกว่าในเขตเทศบาล เป็นผู้หญิงมากกว่าผู้ชายเมื่อผู้สูงอายุมีอายุเพิ่มขึ้นจะทำให้มีภาวะเสี่ยงต่อการมีปัญหาสุขภาพจิตเพิ่มขึ้น และที่สำคัญส่วนใหญ่เป็นหม้าย/หย่า/แยกกันอยู่ นอกจากนี้ยังพบว่า ผู้สูงอายุที่มีการศึกษาสูงขึ้นจะมีภาวะเสี่ยงต่อการมีปัญหาสุขภาพจิตลดลงอย่างเห็นได้ชัด เมื่อพิจารณาปัจจัยด้านสุขภาพ พบว่า ผู้ที่มีความพิการแต่กำเนิด และหลังกำเนิดเสี่ยงต่อการมีปัญหาสุขภาพจิตมากกว่าผู้ที่ไม่พิการ สำหรับปัจจัยด้านเศรษฐกิจ พบว่า ผู้สูงอายุที่ไม่ได้ทำงานจะมีภาวะเสี่ยงต่อการมีปัญหาสุขภาพจิตสูงกว่าผู้สูงอายุที่ทำงานเล็กน้อย และเมื่อค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นของครัวเรือนเพิ่มขึ้นผู้สูงอายุจะมีภาวะเสี่ยงต่อการมีปัญหาสุขภาพจิตลดลง ผู้สูงอายุ ที่อยู่ในครัวเรือนที่มีฐานะยากจนมีภาวะเสี่ยงต่อการมีปัญหาสุขภาพจิตสูงกว่าผู้ที่อยู่ในครัวเรือนที่ไม่จนเกือบ 2 เท่า จากการวิเคราะห์อิทธิพลของปัจจัยทางประชากรและสังคม สุขภาพ และเศรษฐกิจต่อภาวะเสี่ยงการมีปัญหาสุขภาพจิตของผู้สูงอายุไทย พบว่าภาค เพศ ศาสนา สถานภาพสมรส การศึกษา ความเป็นผู้นำในครัวเรือน ความพิการ ความสามารถในการดูแลตนเอง ความสามารถในการเดินทางไปนอกพื้นที่ ค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นของครัวเรือน และฐานะทางเศรษฐกิจของครัวเรือนมีอิทธิพลต่อภาวะเสี่ยงการมีปัญหาสุขภาพจิตของผู้สูงอายุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

คำสำคัญ: สุขภาพจิต/ผู้สูงอายุ

1 สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
2 สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล

FACTORS INFLUENCING THE RISK OF HAVING MENTAL HEALTH PROBLEMS OF THAI ELDERLY

Wichan Choorat1 Yothin Sawangdee2 and Supaporn Arunraksombat1
Abstract

This study aims to pinpoint the mental health status and factors influencing risks of mental health problems of Thai elderly. Data used in this study are the population aged 60 years and over from the Mental Health Survey 2010 collected by National Statistical Office of Thailand. The results of this study showed that there are some characteristics related to the risks in elderly’s mental health problems, such as most of the elderly living in the central region has the mental health problems. The elderly live in rural area have more chance than those in urban area and most of them are female. The higher age, the more risk in mental health problems were confirmed. The elderly with mental health problems are commonly widowed/divorced/separated. The elderly with high levels of educational tend to have the significant impact on the risk of mental health problems.

Considering in health factors, the elderly with disability at the time of birth and after birth have higher risk in mental health problems than those who do not. Regarding to the economic factors, the elderly who do not work have higher risk. However, an increase of household’s expenditure seemed to cause the elderly’s mental health problems to reduce. It was observed from the studying that the elderly living in poor household have higher risk than those in the non-poor household.

By using the binary logistic regression method to analyze the factors influencing the risk in mental health problems in Thai elderly, the result showed that region, sex, religion, marital status, education, household head status, disability, daily living arrangement, the ability to travel outside the residential area, total household expenditure, household economic status have significantly related to the risk of mental health problems.

Keywords: Mental Health, Elderly, Ageing

1 National Statistical Office, Ministry of Information Communication and Technology
2 Institute for Population and Social Research, Mahidol University