พฤติกรรมการกระทำาผิดที่เกี่ยวข้องกับการใช้สารเสพติดของเยาวชนในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน
อุษณีย์ พึ่งปาน และ จิตรลดา อารีย์สันติชัย
บทคัดย่อ
เมื่อเดือนเมษายน 2551 วิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยด้วยการสนับสนุนจากสำานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) ได้ศึกษาเยาวชนในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนกลางเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้สารเสพติด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงลักษณะการใช้สารเสพติดของเด็กและเยาวชนในสถานพินิจเด็กและเยาวชนกลาง และเปรียบเทียบการใช้สารเสพติดของเยาวชนที่ถูกจับด้วยคดีที่แตกต่างกัน
ผลการศึกษาเยาวชนจำานวน 1,002 คน (ชาย 888 คน และหญิง 114 คนตามลำาดับ) คิดเป็นร้อยละ 63.3 ของเยาวชนที่อยู่ในสถานพินิจฯ ทั้งหมดในขณะนั้น ได้ข้อค้นพบ 2-3 ประการ ซึ่งมีทั้งที่เหมือนและแตกต่างไปจากการวิจัยอื่น ในส่วนที่เหมือนกัน คือ เยาวชนที่กระทำาผิดเหล่านี้ส่วนใหญ่ไม่ได้เรียนแล้ว จบแค่ระดับประถมศึกษาเท่านั้น บางส่วนก็ไม่ได้เรียน นอกจากนี้เยาวชนที่ต้องโทษด้วยคดีจำาหน่าย และคดีอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดก็เสพยาด้วย แต่ส่วนที่ไม่เหมือนก็คือ สัดส่วนของการใช้และไม่ใช้ยาเสพติดของคดีอื่นที่มิใช่คดีเสพสูงกว่าการศึกษาในอดีต และที่สำาคัญคือการค้นพบว่า เยาวชนกลุ่มนี้เริ่มมีความสัมพันธ์กับการใช้ไอซ์ หรือสารเสพติดตัวหนึ่งในกลุ่มที่เรียกกันว่า club drugs นิยมเสพเพื่อความบันเทิง และผู้ใช้มิใช่กลุ่มที่ถูกจับด้วยคดีเสพด้วย ซึ่งน่าจะมีความหมายว่า การใช้ไอซ์อาจจะมิใช่การใช้เพื่อการเสพติด ข้อค้นพบที่สำาคัญอีกประการหนึ่ง คือ ประมาณร้อยละ 3-5 เสพยาเสพติดด้วยวิธีการฉีด โดยเฉพาะการฉีดยาบ้า ซึ่งแตกต่างไปจากการศึกษาในอดีต
สิ่งที่ฝ่ายนโยบายน่าจะเร่งแก้ไข คงมิใช่ยับยั้งการใช้สารเสพติด แต่การป้องกันการเข้าไปเกี่ยวข้องกับสารเสพติดในกลุ่มเยาวชนทั้งในและนอกสถานศึกษา อาทิ ให้ความรู้ หามาตรการช่วยเหลือ และต้องเป็นการแก้ปัญหาในระยะยาวอย่างครบวงจร ร่วมกันหลายหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ดำาเนินการพร้อมกันให้ไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อประโยชน์สูงสุดแก่เยาวชนของชาติต่อไป
BEHAVIOR OF BREACHING THE LAW RELATED TO ADDICTIVE SUBSTANCE USE IN THE CENTRAL JUVENILE OBSERVATION AND PROTECTION CENTERS
Usaneya Perngparn and Chitlada Areesantichai
ABSTRACT
During April 2008, the College of Public Health Sciences, Chulalongkorn University supported by the Office of Narcotics Control Board has organized a study on addictive substance use among young population in the Central Juvenile Observation and Protection Centers. This study is aimed at monitoring types of addictive substance use among juvenile delinquents in the Juvenile Observation and Protection Centers in Bangkok and central regions, and comparing types of substance use among different cases.
The results from 1,002 juvenile cases (888 male and 114 female respectively) or 63.3% of all young people in the Centers reported a few evidences either similar or different from other studies. This study has also shown the majority of the delinquents already completed the primary schools. Moreover, some have never attended school. The similar evidence is young people with non-drug use cases (drug retailing case or other cases) still use addictive substances. However, the different evidence is that the ratio of use and non-use substance among non-drug use cases ishigher than the previous studies. Noticeably, these youngsters have experienced using Ice, an addictive substance in club drugs which is popular among nightlife people. In addition, about 3-5% reported intravenous drug use, especially yaba (methamphetamine).
Therefore, the emergency revision of the policy should not deal only with substance use but also look into other preventive program both in schools and in the communities for substantial solution.