คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในพื้นที่เฝ้าระวังทางประชากรกาญจนบุรี
คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในพื้นที่เฝ้าระวังทางประชากรกาญจนบุรี
เรวดี สุวรรณนพเก้า และ รศรินทร์ เกรย์
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาถึง ระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในจังหวัดกาญจนบุรีแบบองค์รวม และจำแนกตามองค์ประกอบ (ด้านครอบครัวด้านสุขภาพ ด้านความมั่นคงทางเศรษฐกิจ และด้านมาตรฐานการอยู่อาศัยแลสภาพแวดล้อม) 2) เพื่อศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางประชากร เศรษฐกิจ และสังคม กับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในจังหวัดกาญจนบุรีแบบองค์รวม และจำแนกตามองค์ประกอบดังกล่าว การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงวัตถุวิสัย ด้วยข้อมูลทุติยภูมิจากโครงการเฝ้าระวังทางประชากรกาญจนบุรี รอบ 3 (พ.ศ.2545) สำหรับเกณฑ์การแบ่งกลุ่มคุณภาพชีวิตเป็นระดับดี ปานกลาง และต่ำ โดยใช้ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปจำนวน 3,550 คน หญิงมีสัดส่วนสูงกว่าชาย ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุตอนต้น (60-69ปี) เป็นผู้มีคู่ จบระดับประถมศึกษา ไม่ได้ทำงาน และอาศัยอยู่ในพี้นที่ที่มีความเป็นชนบท คุณภาพชีวิตด้านมาตรฐานการอยู่อาศัย และสภาพแวดล้อมที่อยู่ในระดับดีสูงที่สุด (ร้อยละ 15.2) รองลงมาคือ คุณภาพชีวิตด้านครอบครัว (ร้อยละ 14.4) ด้านความมั่นคงทางเศรษฐกิจ (ร้อยละ 6.6) และด้านสุขภาพ (ร้อยละ 4.5) ตามลำดับ จากคุณภาพชีวิตทั้ง 4 ด้านนำมาซึ่งคุณภาพชีวิตองค์รวม พบว่า คุณภาพชีวิตองค์รวมอยู่ในระดับดี ร้อยละ 13.2 จากการวิเคราะห์ถดถอยแบบพหุโลจิสติค กับคุณภาพชีวิตในแต่ละด้าน และองค์รวม โดยเปรียบเทียบผู้สูงอายุที่มีคุณภาพชีวิตดีกับต่ำ พบว่า การศึกษา และพื้่นที่อยู่อาศัยมีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตในทุกๆ ด้าน กล่าวคือ ผู้สูงอายุยิ่งมีการศึกษาสูงโอกาสมีคุณภาพชีวิตดีก็สูงขึ้นไปด้วย ผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ ที่มีความเป็นเมือง/กึ่งเมือง มีโอกาสที่จะมีคุณภาพชีวิตที่ดี สูงกว่าผู้สูงอายุที่มีการศึกษาน้อยและผู้สูงอายุที่อยู่ในพื้นที่ที่มีลักษณะความเป็นชนบท
Quality of Life of Older Persons in Kanchanaburi Demographic Surveillance System
Rewadee Suwannoppakao and Rossarin Gray
ABSTRACT
This study aims to explore the quality of life of older persons in Kanchanaburi Province. It was measured as the composite index and quality of life components (family, health, economic security, and living standard and environment). The other objective is to investigate the relationship between population, economic and social characteristics and the quality of life of older persons. This research utilized secondary data from the Kanchanaburi Demographic Surveillance System, Round 3 (2002). Mean and standard deviation were used to categorize the quality of life into good, moderate and low levels. The analysis reveals that, among 3,550 people aged 60 years and over, females outnumbered males. Most were in early old age (60-69 years), unemployed, married, completed elementary education and lived in rural areas. Considering the good levelof all components of quality of life, living standard and environment was highest (15.2 percent), followed by family (14.4 percent), economic security (6.6 percent) and health (4.5 percent) respectively. Considering quality of life as a whole, the good level constituted 13.2 percent. The multinomial logistic regression analyzed the relationship between each component and quality of life by comparing the good level with the low level. The results show that education and area of residence were significantly related to quality of life in all components. The elderly with higher education and who lived in urban/semi-urban areas had higher chances to have better quality of life than those with lower education and living in rural areas.