ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเครียดและความสุขในการดูแลผู้สูงอายุ

สาสินี เทพสุวรรณ์ ณัฐจีรา ทองเจริญชูพงศ์ และรศรินทร์ เกรย์1
บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ในการศึกษาครั้งนี้ เพื่อค้นหาปัจจัยที่ส่งผลต่อระดับความเครียดและความสุขของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่เป็นคนในครอบครัว (Family Caregivers) โดยศึกษาจากปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ดูแล (Personal Characteristics) ปัจจัยสาเหตุของความเครียด (Stressors) ปัจจัยแรงสนับสนุนจากครอบครัวและสังคม (Family and Social support) และปัจจัยการจัดการกับความเครียด (Coping Strategies) จากข้อมูลของผู้ดูแลที่เป็นคนในครอบครัวจำนวน 284 คนในจังหวัดกาญจนบุรี ปี พ.ศ. 2554 ผลการศึกษาพบว่า ผู้ดูแลส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง และมีความสัมพันธ์เป็นบุตร จากการวิเคราะห์ผลโดยวิธีวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression) พบว่า การดูแลผู้สูงอายุเป็นเวลานานจะส่งผลให้ผู้ดูแลมีความสุขเพิ่มขึ้น ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากการปรับจิตใจรับในบทบาทของผู้ดูแล นอกจากนี้ บรรทัดฐานของความกตัญญูกตเวทีต่อบิดามารดาอาจช่วยให้ผู้ดูแลเกิดการยอมรับภาระที่เกิดขึ้นจากการดูแลได้ การมีผู้ช่วยดูแลส่งผลให้ความเครียดลดลงและมีความสุขเพิ่มขึ้น เช่นเดียวกับการได้รับแรงสนับสนุนจากครอบครัวและสังคมที่ส่งผลให้ความเครียดลดลงและมีความสุขเพิ่มขึ้น ในส่วนของการจัดการกับความเครียด พบว่า การจัดการกับความเครียดโดยมุ่งอารมณ์ เช่น การระบายอารมณ์ ยิ่งทำให้สถานการณ์สุขภาพจิตแย่ลง

คำสำคัญ: ผู้ดูแลในครอบครัว, ความสุข, ความทุกข์

1 สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล

 

Determinants of stress and happiness among family caregivers to older persons

Sasinee Thapsuwan, Natjerach Thongcharoenchupong and Rossarin Gray1
Abstract

This study aims at exploring factors affecting stress and happiness among family caregivers to older persons. The factors include personal characteristics, stressors, family and social support and coping strategies. The data were collected in 2011from 284 family caregivers in Kanchanaburi. The results revealed that the majority of them were adult females and children. Based on multiple regression analyses, it was found that the longer duration of caregiving was, the happier they were. This may be due to the adjustment to their caregiving role. In addition, the norm of filial piety may help caregivers accept the burden from caregiving. The availability of helpers reduced stress and increased happiness. Similarly, family and social support also reduced stress and increased happiness. For coping strategies, it was found that emotional focus such as ventingworsen the mental health.

Keywords: family caregivers, happiness, stress

1 Institute for Population and Social Research, Mahidol University