ผลกระทบของประชากรสูงวัยที่มีต่อภาระการป่วยและตายจากโรคไม่ติดต่อ: ประเด็นท้าทายการพัฒนามนุษย์ในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา

แดน สุวรรณะรุจิ

บทคัดย่อ

ภาระโรคจากการป่วยและตายจากโรคไม่ติดต่อมีแนวโน้มที่เพิ่มสูงขึ้นในหลายประเทศรวมทั้งในระดับโลก จากการศึกษาข้อมูลภาระโรค (DALY) ในระดับประเทศที่เป็นสมาชิกขององค์การสหประชาชาติ โดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมพบว่า การเพิ่มสัดส่วนประชากรสูงอายุซึ่งจะนำไปสู่การเปลี่ยนโครงสร้างประชากรของแต่ละประเทศเข้าสู่โครงสร้างแบบประชากรสูงวัย เป็นตัวแปรสำคัญที่จะมีผลต่อการเพิ่มขึ้นของอัตราภาระโรคจากโรคไม่ติดต่อ แต่ในทางตรงข้ามการมีนโยบายและแผนการพัฒนามนุษย์ที่ดีเพื่อยกระดับรายได้ การศึกษา และสุขภาพของประชากร โดยมุ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศเพื่อเพิ่มรายได้ประชาชาติต่อหัว การพัฒนาการศึกษาของประชากร และการพัฒนาระบบบริการสุขภาพให้มีประสิทธิภาพ ได้แก่ การเพิ่มบุคลากรแพทย์ และการเพิ่มงบประมาณรายจ่ายด้านสุขของภาครัฐ จะส่งผลให้อัตราภาระโรคจากโรคกลุ่มนี้ลดลงได้ นอกจากนี้การพัฒนาทางเศรษฐกิจและการศึกษาของประเทศนั้นมียังความสัมพันธ์ต่อการเพิ่มงบประมาณรายจ่ายด้านสุขภาพของภาครัฐ และบุคลากรแพทย์ตามลำดับ โดยประเทศที่ยังไม่เข้าสู่ช่วงประชากรสูงวัยอย่างเต็มตัว (มีสัดส่วนประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปต่ำกว่าร้อยละ 10) ควรมุ่งเน้นการพัฒนาการศึกษาของประชากรร่วมกับการพัฒนาทางเศรษฐกิจ ส่วนประเทศที่ผ่านเข้าสู่ช่วงประชากรสูงวัยอย่างเต็มตัวแล้วการพัฒนาทางเศรษฐกิจเป็นสิ่งที่มีความสำคัญที่สุดร่วมกับการพัฒนาประสิทธิภาพระบบบริการสุขภาพ โดยให้มีจำนวนแพทย์เฉลี่ยอย่างน้อยประมาณ 100 คน ต่อประชากรแสนคนและงบประมาณรายจ่ายสุขภาพของภาครัฐประมาณอย่างน้อยร้อยละ 4-7 ของจีดีพี จึงเห็นได้ว่าการพัฒนาเศรษฐกิจและการศึกษานั้นเป็นรากฐานสำคัญในแต่ละประเทศที่จะนำไปสู่การพัฒนามนุษย์ให้มีความเป็นอยู่ที่ดี มีระบบบริการสุขภาพที่มีประสิทธิภาพ และมีความพร้อมที่จะต้องเผชิญกับภาระเจ็บป่วยจากโรคกลุ่มนี้ในอนาคต ดังนั้นจึงเป็นประเด็นท้าทายในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา ที่จะต้องเร่งพัฒนามนุษย์ด้านต่างๆให้ประสพผลสำเร็จในเวลาจำกัด เนื่องจากหลายประเทศในกลุ่มนี้มีแนวโน้มเข้าสู่ช่วงประชากรสูงวัยในเวลาอันสั้น

 

IMPACT OF POPULATION AGING ON BURDEN FROM DISABILITY AND MORTALITY OF NONCOMMUNICABLE DISEASES: CHALLENGE FOR HUMAN DEVELOPMENT IN DEVELOPING COUNTRIES

Dan Suwannaruji
ABSTRACT

Trend of burden of noncommunicable diseases has been increasing in many countries and global world. By ANCOVA and multivariate method, the results of this study analyzed through data of those which are members of UN showed that the increasing of aging population proportion affected the increasing of DALY rate of noncommunicable diseases significantly. In the contrary, well- prepared human development policies and programs for raising population income, education and health emphasizing on economic (GNI per capita), academic system (literature and enrollment rate) and health service system development (amount of doctors per 100,000 population, governmental health expenditure per capita and GDP ) rendered the decreasing of DALY rate of these diseases significantly; moreover, economic and academic development correlated the increasing health expenditure per capita and amount of doctors respectively. Otherwise, to improve human development, the group of countries not existing absolute population aging (percentage of aging population less than 10) should stress on economic and academic development simultaneously, and the rest of them existing absolute population aging should mainly stress on economic and then health service system development to increase average amount of doctors at least about 100 per 100,000 population and governmental health expenditure at least about 4-7 % of GDP. In conclusion, economic and academic development in several countries are the essential fundamental of human development, and bring about human well being coupled with effective healthcare service to prepare for impending burden of noncommunicable diseases. For this reason, many developing countries which rapidly step into population aging are being challenged for their achievement of human development.

การตายของประชากรในพระนครเมื่อ 100 ปีก่อน

ปัทมา ว่าพัฒนวงศ์ และ ปราโมทย์ ประสาทกุล

บทคัดย่อ

โดยทั่วไป การศึกษาภาวะการตายโดยจำแนกตามเพศและอายุ มักใช้ข้อมูลที่รายงานในสถิติสาธารณสุข ซึ่งสามารถสืบค้นย้อนหลังได้ราว 50 ปี เท่านั้น หากต้องการศึกษาการตายย้อนหลังไปยิ่งกว่านั้น จำเป็นต้องหาแหล่งข้อมูลอื่น การศึกษาครั้งนี้ เป็นความพยายามศึกษาแบบแผนและสาเหตุการตายของประชากรไทยที่อาศัยอยู่ในมณฑลพระนครกรุงเทพฯ ซึ่งขึ้นอยู่กับกระทรวงนครบาล เมื่อประมาณ 100 ปีก่อน ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาเป็นบัญชีคนตายของกระทรวงนครบาล ซึ่งบันทึกคนตายจำแนกตามเพศ กลุ่มอายุ และเชื้อชาติในแต่ละเดือนเอาไว้อย่างน่าสนใจยิ่ง

ผลของการศึกษาพบว่ามีผู้ชายตายมากกว่าผู้หญิงเกือบทุกกลุ่มอายุ โดยเฉพาะในกลุ่มอายุ 26 - 45 ปีที่จำนวนการตายของชายสูงกว่าหญิงอย่างมาก นอกจากนั้น สาเหตุการตายสำคัญที่พบคือโรคติดเชื้อต่างๆ บางโรคได้หายไปแล้วจากสังคมไทย บางโรคที่ยังมีอยู่ในปัจจุบันแต่อาจเรียกชื่อเป็นอย่างอื่นในสมัยนั้น สำหรับการตายมารดาหรือการตายของสตรีเนื่องมาจากการตั้งครรภ์และคลอดบุตรเมื่อร้อยปีก่อนอยู่ในอัตราที่สูงมาก เช่นเดียวกับการตายทารกที่มีอยู่ประมาณ 1 ใน 3 ของการตายทั้งหมด

 

THE MORTALITY OF PRA NAKHORN A CENTURY AGO

Patama Vapattanawong, Pramote Prasartkul
ABSTRACT

To study of mortality classified by sex and age, data from the Public Health Statistics’ annual reports are generally used. These data sources have been available for approximately 50 years. Thus, other sources of mortality data are needed for the study prior to this period. This study aims to explore mortality pattern and causes of death of Thais who lived in Bangkok a century ago. The data
used are from the ‘Weekly Return of Births and Deaths’ report of the Ministry of Interior in the last century.

It is found that one hundred years ago, more male than female deaths in almost all age groups, especially in age 26 - 45 years. The major causes of death were infectious diseases. Some diseases at that time were eradicated. Some still existed but were called in other names. For maternal mortality, the rate was very high. The infant deaths were also very high accounted for about one-third of all deaths.

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความมั่นคงด้านสุขภาพครอบครัว

สังคม ศุภรัตนกุล และ ดุษฎี อายุวัฒน์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความมั่นคงด้านสุขภาพครอบครัว เป็นการศึกษาเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลจากแม่บ้านประจำครอบครัว ในพื้นที่จังหวัดหนองบัวลำภู ระหว่างเดือนกรกฎาคม ถึงเดือนสิงหาคม 2552 จากจำนวนตัวอย่าง 399 ครอบครัว วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติ LISREL ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความมั่นคงด้านสุขภาพครอบครัว มีอยู่ 3 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ได้แก่ กลุ่มปัจจัยภายในครอบครัว ประกอบด้วย (1) ความสัมพันธ์ภายในครอบครัว (2) ศักยภาพของครอบครัวด้านสุขภาพ (3) ความสัมพันธ์ของครอบครัวกับญาติ กลุ่มที่ 2 ได้แก่ ปัจจัยภายในชุมชนประกอบด้วย (1) กลุ่มองค์กรในชุมชน (2) ความสัมพันธ์ของครอบครัวกับชุมชน (3) แหล่งทรัพยากรธรรมชาติในชุมชน (4) ระบบสุขภาพชุมชน กลุ่มที่ 3 ได้แก่ ปัจจัยภายนอกชุมชน ประกอบด้วย (1) ระบบบริการสุขภาพสุขภาพของรัฐ (2) การส่งเสริมการเข้าถึงบริการสุขภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (3) การส่งเสริมสุขภาพผ่านเครือข่ายชุมชน ปัจจัยภายในชุมชนมีอิทธิพลต่อความมั่นคงด้านสุขภาพครอบครัวชนบทสูงสุด (λ=0.86) รองลงมาคือ ปัจจัยภายนอกชุมชน (λ=-0.71) และปัจจัยภายในครอบครัว (λ=.66) ตามลำดับ กลุ่มปัจจัยทั้งหมดนี้รวมเรียกว่า “ทุนทางสังคม” สามารถพยากรณ์ความมั่นคงด้านสุขภาพครอบครัว ได้ร้อยละ 57.0 (R2=0.57) ดังนั้นการดำเนินงานด้านสุขภาพควรคำนึงถึงทุนทางสังคมที่มีอยู่ในชุมชนชนบทอย่างครอบคลุม

 

Factors Influence Health Security Families

Sungkom Suparatanagool and Dusadee Ayuwat
ABSTRACT

The objective of this study aimed to describe the factors which influence health security of rural families. It was conducted on a quantitative method. Data was collected through questionnaires and distributed to households within the Nong Bua Lamphu Province during July - August 2009 covered 399 samples size and  analyzed by LISREL. This paper shows that three factor components which influence health security of rural families consist of; group: 1 the factors within family such as: (1) family association (2) health potential in family and (3) kinship associations. Group: 2 the factor within community contains: (1) organizations within community (2) association of family with community and (3) natural resources within community and (4) community health system. Group: 3 the external community factors consisting of; (1) government health system (2) promotion for health access by local administration and (3) health promotion through health networks. The findings show that the factors which influenced health security of rural families as a follow; firstly, the factors within community (λ=0.86). Secondly, the external community factors (λ=-0.71) and finally the factors within family (λ=.66) respectively. These factors call that “Social Capital” which have shown power of predict health security of rural families at 57% (R2=.57). Suggestion, health strategic policy plans should be concern about “social capital” and should be implementing through social capital increase.

การเลื่อนสถานภาพทางสังคมของนายหน้าแรงงานอีสาน

ธนพฤกษ์ ชามะรัตน์ และ ดุษฎี อายุวัฒน์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเชิงคุณภาพนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเลื่อนสถานภาพทางสังคมของนายหน้าแรงงานอีสาน ในประเด็นของแบบแผนการเลื่อนสถานภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก ตลอดจนการสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วมผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ นายหน้าแรงงานชาวภาคอีสาน ซึ่งผันตัวเองจากแรงงานคืนถิ่นที่กลับจากการทำงานในต่างประเทศ รวม 15 ราย ในพื้นที่ 4 จังหวัดในภาคอีสาน ประกอบด้วย ขอนแก่น อุดรธานี มหาสารคาม และยโสธร ผลการศึกษาพบว่า แบบแผนการเลื่อนสถานภาพของนายหน้าแรงงานเป็นไปในลักษณะการเลื่อนสูงขึ้น แบ่งได้เป็น 3 รูปแบบ ประกอบด้วย (1) การเลื่อนแบบค่อยเป็นค่อยไป คือ การเลื่อนสถานภาพของแรงงานคืนถิ่นที่เดิมมีความตั้งใจว่าจะเป็นนายหน้าแรงงาน แต่ยังไม่มีโอกาส เมื่อกลับมาจากการทำงานในต่างประเทศ จะหวนกลับมาประกอบอาชีพเดิมก่อน จากนั้นจึงจะค่อยพัฒนาตัวเองมาเป็นนายหน้าแรงงานในที่สุด (2) การเลื่อนแบบฉับพลัน คือ การเลื่อนสถานภาพของแรงงานคืนถิ่นที่เดิมมีความตั้งใจว่าจะเป็นนายหน้าแรงงาน เมื่อกลับมาจากการทำงานในต่างประเทศ จะเปลี่ยนอาชีพตนเองมาเป็นนายหน้าแรงงานในทันที และ (3) การเลื่อนแบบไม่ตั้งใจ คือ การเลื่อนสถานภาพของแรงงานคืนถิ่นที่เดิมไม่มีความตั้งใจว่า จะเป็นนายหน้าแรงงานแต่อย่างใด แต่เมื่อกลับมาจากการทำงานในต่างประเทศ มองเห็นและรับรู้ในผลประโยชน์ จึงเปลี่ยนอาชีพตนเองมาเป็นนายหน้าแรงงานในที่สุด

 

SOCIAL MOBILITY OF ISAN LABOUR BROKERS

Thanapauge Chamaratana and Dusadee Ayuwat
ABSTRACT

The purpose of this qualitative research was to study the social mobility of labour brokers in frames of mobility format. Data was collected through semistructure and in-depth interviews as well as participatory and non-participatory observations. The key informants were 15 labour brokers in the Northeast of Thailand (ISAN), who mobilized from return migrant labours from oversea working. Study area consisted of four provinces of ISAN include; Khon Kaen, Udonthani, Mahasarakam, and Yasothon. The results of the study indicate that the mobility format of labour brokers is upward mobility. There are three types of mobility include; Gradually mobility, Suddenly mobility, and Accidentally mobility. The first type of mobility is the mobilization of return migrants who were intend to be labour broker but they have no chance in suddenly, so they were back to old occupation before developed to be labour broker. The second type of mobility, Suddenly mobility, this is the mobilization of return migrants who were intend to be labour broker and mobilized to be this position in suddenly after came back home. The final type, Accidentally mobility, this is the mobilization of return migrants who were not intend to be labour broker but they found that the benefit of labour broker process after return, then they mobilized to be labour broker in finally.

เด็กและการดูแลสุขภาพที่บ้านสำหรับผู้ป่วยวัณโรคในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย

แก้วตา แสงสุข, เพ็ญจันทร์ ประดับมุข-เชอร์เรอร์ และ สุพจน์ เด่นดวง

บทคัดย่อ

วัณโรคเป็นปัญหาของระบบสาธารณสุขมาอย่างยาวนาน ในปัจจุบันกระทรวงสาธารณสุขได้นำระบบการกินยาต่อหน้า (DOTS) มาใช้ในกระบวนการดูแลรักษาผู้ป่วยวัณโรค โดยให้สมาชิกในบ้านเป็นผู้ควบคุมการกินยาของผู้ป่วยวัณโรค เช่น เด็กซึ่งทำหน้าที่เป็นผู้ดูแลผู้ปกครองที่ป่วยเป็นวัณโรค ผู้ป่วยวัณโรคมีอาการดีขึ้นจากการเฝ้าดูแลของลูกหลานในบ้าน จากวัฒนธรรมและการให้คุณค่าของสังคม ผู้ดูแลที่เป็นเด็ก เป็นเอกลักษณ์เชิงบวกที่ถูกสังคมสร้างขึ้น ซึ่งแฝงด้วยความหมายของความกตัญญู ความมีน้ำใจและความเป็นผู้ใหญ่ ผู้วิจัยได้ศึกษาเกี่ยวกับประสบการณ์ชีวิตของเด็กที่อยู่ร่วมบ้านกับผู้ป่วยวัณโรคในบริบทของครอบครัว ความสัมพันธ์ของเด็กและผู้ป่วยกำหนดบทบาทของเด็กในการดูแลผู้ป่วยวัณโรค ความสัมพันธ์ที่ดีเป็นแรงกระตุ้นให้เด็กดูแลผู้ปกครองด้วยความเต็มใจ ประสบการณ์ชีวิตและจิตสำนึกได้ถูกอธิบายภายใต้กรอบความคิดของทฤษฎีการกระทำระหว่างกันเชิงสัญลักษณ์ จากการศึกษาได้แสดงให้เห็นว่าเราได้ให้ความหมายแก่ผู้คนและสิ่งต่างๆ แล้วตอบสนองแต่สิ่งเหล่านั้นในลักษณะที่แตกต่างกันออกไป จากการศึกษานี้ได้แสดงให้เห็นว่า วัณโรคมีความหมายเชิงสัญลักษณ์มากกว่าแค่โรคชนิดหนึ่งและการที่เด็กต้องกลายมาเป็นผู้ดูแลผู้ป่วยในครอบครัวที่มีวัณโรค สิ่งเหล่านี้ได้ส่งผลต่อประสบการณ์ชีวิตของเด็กกลุ่มนี้ เด็กอายุ 12-15 ปีที่มี ส่วนร่วมในการดูแลผู้ปกครองที่ป่วยเป็นวัณโรคในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ได้ถ่ายทอดเรื่องราวชีวิตเกี่ยวกับการสำนึกรับรู้ในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างตนเองและผู้ปกครองที่ป่วยเป็นวัณโรค งานวิจัยเชิงคุณภาพชิ้นนี้ได้ใช้การสัมภาษณ์เชิงบรรยาย การสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง การสังเกตแบบมีและไม่มีส่วนร่วม เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล

 

Children and Home-based Care for TB Patients in Chiang Mai, Thailand

Kaewta Sangsuk, Penchan Sherer and Suphot Dendoung
ABSTRACT

Tuberculosis (TB) has been a public health problem throughout history. Today, the Directly Observed Treatment, Short course (DOTS) strategy uses family members to supervise those afflicted by TB, in some cases children serve as caregivers. With the support of children, TB patients do not feel lonely or stigmatized. They recover with cheerfulness and hope when compliant with the TB treatment. A child as caregiver is a positive identity constructed by society. It has become attached to meanings of gratitude, kindness and being an adult. The study examines the lived experiences of children in the TB families in the northern
context. The interaction between children and patients is determined by the nature of their relationships. These determine children’s roles in caring for people with TB. Strong and good relationships motivated children to provide care with willingness
to repay their parents or guardians. Their life stories reveal that their lived experiences are closely connected with the perception of the relationship between the children and TB parents or guardians, and meaning attached with sickness and care in everyday life. The self and lived experiences have been reconceptualised within a symbolic interactionism framework. The study shows how TB as an illness becomes symbolic, and acting as a caregiver in a TB family while still a child affects the children’s experiences. This qualitative research employed narrative interviews, in-depth interviews, participatory and non-participatory observation to record these children’s lived experiences. Children of twelve to fifteen years in Chiang Mai Province are involved in their parent or guardians’ treatment.