เด็กและการดูแลสุขภาพที่บ้านสำหรับผู้ป่วยวัณโรคในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย

แก้วตา แสงสุข, เพ็ญจันทร์ ประดับมุข-เชอร์เรอร์ และ สุพจน์ เด่นดวง

บทคัดย่อ

วัณโรคเป็นปัญหาของระบบสาธารณสุขมาอย่างยาวนาน ในปัจจุบันกระทรวงสาธารณสุขได้นำระบบการกินยาต่อหน้า (DOTS) มาใช้ในกระบวนการดูแลรักษาผู้ป่วยวัณโรค โดยให้สมาชิกในบ้านเป็นผู้ควบคุมการกินยาของผู้ป่วยวัณโรค เช่น เด็กซึ่งทำหน้าที่เป็นผู้ดูแลผู้ปกครองที่ป่วยเป็นวัณโรค ผู้ป่วยวัณโรคมีอาการดีขึ้นจากการเฝ้าดูแลของลูกหลานในบ้าน จากวัฒนธรรมและการให้คุณค่าของสังคม ผู้ดูแลที่เป็นเด็ก เป็นเอกลักษณ์เชิงบวกที่ถูกสังคมสร้างขึ้น ซึ่งแฝงด้วยความหมายของความกตัญญู ความมีน้ำใจและความเป็นผู้ใหญ่ ผู้วิจัยได้ศึกษาเกี่ยวกับประสบการณ์ชีวิตของเด็กที่อยู่ร่วมบ้านกับผู้ป่วยวัณโรคในบริบทของครอบครัว ความสัมพันธ์ของเด็กและผู้ป่วยกำหนดบทบาทของเด็กในการดูแลผู้ป่วยวัณโรค ความสัมพันธ์ที่ดีเป็นแรงกระตุ้นให้เด็กดูแลผู้ปกครองด้วยความเต็มใจ ประสบการณ์ชีวิตและจิตสำนึกได้ถูกอธิบายภายใต้กรอบความคิดของทฤษฎีการกระทำระหว่างกันเชิงสัญลักษณ์ จากการศึกษาได้แสดงให้เห็นว่าเราได้ให้ความหมายแก่ผู้คนและสิ่งต่างๆ แล้วตอบสนองแต่สิ่งเหล่านั้นในลักษณะที่แตกต่างกันออกไป จากการศึกษานี้ได้แสดงให้เห็นว่า วัณโรคมีความหมายเชิงสัญลักษณ์มากกว่าแค่โรคชนิดหนึ่งและการที่เด็กต้องกลายมาเป็นผู้ดูแลผู้ป่วยในครอบครัวที่มีวัณโรค สิ่งเหล่านี้ได้ส่งผลต่อประสบการณ์ชีวิตของเด็กกลุ่มนี้ เด็กอายุ 12-15 ปีที่มี ส่วนร่วมในการดูแลผู้ปกครองที่ป่วยเป็นวัณโรคในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ได้ถ่ายทอดเรื่องราวชีวิตเกี่ยวกับการสำนึกรับรู้ในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างตนเองและผู้ปกครองที่ป่วยเป็นวัณโรค งานวิจัยเชิงคุณภาพชิ้นนี้ได้ใช้การสัมภาษณ์เชิงบรรยาย การสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง การสังเกตแบบมีและไม่มีส่วนร่วม เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล

 

Children and Home-based Care for TB Patients in Chiang Mai, Thailand

Kaewta Sangsuk, Penchan Sherer and Suphot Dendoung
ABSTRACT

Tuberculosis (TB) has been a public health problem throughout history. Today, the Directly Observed Treatment, Short course (DOTS) strategy uses family members to supervise those afflicted by TB, in some cases children serve as caregivers. With the support of children, TB patients do not feel lonely or stigmatized. They recover with cheerfulness and hope when compliant with the TB treatment. A child as caregiver is a positive identity constructed by society. It has become attached to meanings of gratitude, kindness and being an adult. The study examines the lived experiences of children in the TB families in the northern
context. The interaction between children and patients is determined by the nature of their relationships. These determine children’s roles in caring for people with TB. Strong and good relationships motivated children to provide care with willingness
to repay their parents or guardians. Their life stories reveal that their lived experiences are closely connected with the perception of the relationship between the children and TB parents or guardians, and meaning attached with sickness and care in everyday life. The self and lived experiences have been reconceptualised within a symbolic interactionism framework. The study shows how TB as an illness becomes symbolic, and acting as a caregiver in a TB family while still a child affects the children’s experiences. This qualitative research employed narrative interviews, in-depth interviews, participatory and non-participatory observation to record these children’s lived experiences. Children of twelve to fifteen years in Chiang Mai Province are involved in their parent or guardians’ treatment.