ผลกระทบของประชากรสูงวัยที่มีต่อภาระการป่วยและตายจากโรคไม่ติดต่อ: ประเด็นท้าทายการพัฒนามนุษย์ในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา

แดน สุวรรณะรุจิ

บทคัดย่อ

ภาระโรคจากการป่วยและตายจากโรคไม่ติดต่อมีแนวโน้มที่เพิ่มสูงขึ้นในหลายประเทศรวมทั้งในระดับโลก จากการศึกษาข้อมูลภาระโรค (DALY) ในระดับประเทศที่เป็นสมาชิกขององค์การสหประชาชาติ โดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมพบว่า การเพิ่มสัดส่วนประชากรสูงอายุซึ่งจะนำไปสู่การเปลี่ยนโครงสร้างประชากรของแต่ละประเทศเข้าสู่โครงสร้างแบบประชากรสูงวัย เป็นตัวแปรสำคัญที่จะมีผลต่อการเพิ่มขึ้นของอัตราภาระโรคจากโรคไม่ติดต่อ แต่ในทางตรงข้ามการมีนโยบายและแผนการพัฒนามนุษย์ที่ดีเพื่อยกระดับรายได้ การศึกษา และสุขภาพของประชากร โดยมุ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศเพื่อเพิ่มรายได้ประชาชาติต่อหัว การพัฒนาการศึกษาของประชากร และการพัฒนาระบบบริการสุขภาพให้มีประสิทธิภาพ ได้แก่ การเพิ่มบุคลากรแพทย์ และการเพิ่มงบประมาณรายจ่ายด้านสุขของภาครัฐ จะส่งผลให้อัตราภาระโรคจากโรคกลุ่มนี้ลดลงได้ นอกจากนี้การพัฒนาทางเศรษฐกิจและการศึกษาของประเทศนั้นมียังความสัมพันธ์ต่อการเพิ่มงบประมาณรายจ่ายด้านสุขภาพของภาครัฐ และบุคลากรแพทย์ตามลำดับ โดยประเทศที่ยังไม่เข้าสู่ช่วงประชากรสูงวัยอย่างเต็มตัว (มีสัดส่วนประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปต่ำกว่าร้อยละ 10) ควรมุ่งเน้นการพัฒนาการศึกษาของประชากรร่วมกับการพัฒนาทางเศรษฐกิจ ส่วนประเทศที่ผ่านเข้าสู่ช่วงประชากรสูงวัยอย่างเต็มตัวแล้วการพัฒนาทางเศรษฐกิจเป็นสิ่งที่มีความสำคัญที่สุดร่วมกับการพัฒนาประสิทธิภาพระบบบริการสุขภาพ โดยให้มีจำนวนแพทย์เฉลี่ยอย่างน้อยประมาณ 100 คน ต่อประชากรแสนคนและงบประมาณรายจ่ายสุขภาพของภาครัฐประมาณอย่างน้อยร้อยละ 4-7 ของจีดีพี จึงเห็นได้ว่าการพัฒนาเศรษฐกิจและการศึกษานั้นเป็นรากฐานสำคัญในแต่ละประเทศที่จะนำไปสู่การพัฒนามนุษย์ให้มีความเป็นอยู่ที่ดี มีระบบบริการสุขภาพที่มีประสิทธิภาพ และมีความพร้อมที่จะต้องเผชิญกับภาระเจ็บป่วยจากโรคกลุ่มนี้ในอนาคต ดังนั้นจึงเป็นประเด็นท้าทายในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา ที่จะต้องเร่งพัฒนามนุษย์ด้านต่างๆให้ประสพผลสำเร็จในเวลาจำกัด เนื่องจากหลายประเทศในกลุ่มนี้มีแนวโน้มเข้าสู่ช่วงประชากรสูงวัยในเวลาอันสั้น

 

IMPACT OF POPULATION AGING ON BURDEN FROM DISABILITY AND MORTALITY OF NONCOMMUNICABLE DISEASES: CHALLENGE FOR HUMAN DEVELOPMENT IN DEVELOPING COUNTRIES

Dan Suwannaruji
ABSTRACT

Trend of burden of noncommunicable diseases has been increasing in many countries and global world. By ANCOVA and multivariate method, the results of this study analyzed through data of those which are members of UN showed that the increasing of aging population proportion affected the increasing of DALY rate of noncommunicable diseases significantly. In the contrary, well- prepared human development policies and programs for raising population income, education and health emphasizing on economic (GNI per capita), academic system (literature and enrollment rate) and health service system development (amount of doctors per 100,000 population, governmental health expenditure per capita and GDP ) rendered the decreasing of DALY rate of these diseases significantly; moreover, economic and academic development correlated the increasing health expenditure per capita and amount of doctors respectively. Otherwise, to improve human development, the group of countries not existing absolute population aging (percentage of aging population less than 10) should stress on economic and academic development simultaneously, and the rest of them existing absolute population aging should mainly stress on economic and then health service system development to increase average amount of doctors at least about 100 per 100,000 population and governmental health expenditure at least about 4-7 % of GDP. In conclusion, economic and academic development in several countries are the essential fundamental of human development, and bring about human well being coupled with effective healthcare service to prepare for impending burden of noncommunicable diseases. For this reason, many developing countries which rapidly step into population aging are being challenged for their achievement of human development.