การป้องกันการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของวัยรุ่น

สวรรยา สิริภคมงคล, สำาราญ สิริภคมงคล, เกรียงกมล เหมือนกรุด, มนัญญา นิโครธ,อัญชลี คงคาน้อย, สุนทร แสงแก้ว, มรรคมณฑ์ สนองคุณ และ อุษณี สร้อยเพชร
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อวัดผลของรูปแบบการป้องกันการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่สร้างขึ้นแบ่งการศึกษาออกเป็น 2 ระยะ คือระยะที่ 1 เป็นการสร้างหลักสูตรการป้องกันการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยครูและผู้ปกครอง ระยะที่ 2 เป็นการทดลองและประเมินรูปแบบการป้องกันการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่สร้างขึ้น เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 สุ่มอย่างง่ายโรงเรียนในสังกัดสำานักงานเขตพื้นที่การศึกษากำาแพงเพชรเขต 1 แบ่งตัวอย่างออกเป็นสองกลุ่ม คือกลุ่มทดลอง และกลุ่มเปรียบเทียบกลุ่มละ 51 คนรวมทั้งสิ้น 102 คน แบบสอบถามประกอบด้วยความรู้ทัศนคติและพฤติกรรมป้องกันการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จากนั้นทดลองใช้รูปแบบการป้องกันการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามทั้งสองกลุ่มอีกครั้งด้วยข้อคำาถามเดิมทันทีหลังทดลองใช้รูปแบบ จากนั้นนำาข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ และนำาเสนอเป็นจำานวนและค่าร้อยละ สำาหรับการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของข้อมูลทั้ง 2 กลุ่ม ได้ใช้ paired t-test และ independent t-test ผลการศึกษาพบว่า หลังดำาเนินการกลุ่มทดลองมีความรู้เกี่ยวกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 20 มีทัศนคติทางบวกต่อการป้องกันการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ระดับสูงเพิ่มขึ้นเกือบร้อยละ50 มีพฤติกรรมป้องกันการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพิ่มประมาณ 9 ใน10 คะแนนเฉลี่ยความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมป้องกันการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หลังดำาเนินตามรูปแบบที่สร้างขึ้นมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำาคัญทางสถิติ (p < 0.001) และแตกต่างกับกลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำาคัญทางสถิติ เพื่อให้รูปแบบการป้องกันการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของวัยรุ่นเกิดประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น ควรพัฒนาหลักสูตรให้
เหมาะสมกับ วัฒนธรรม ความเชื่อ และ ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของครู ผู้ปกครองและชุมชน เพื่อให้เกิดการป้องกันการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ยั่งยืน

 

PREVENTION CONSUMPTION ALCOHOL OF TEENAGERS

Sawanya Siriphakhamongkhon, Samran Siriphakhamongkhon, Kriangkamol Muankrud, Mananya Nikroth, Aunchalee Kongkanoi, Sunthorn Saengkhew, Makkamon Sanongkun and Usanee Soipetch
ABSTRACT

The object of this research is to measure model development on alcohol consumption prevention in teenagers. It was divided into 2 phases; phase 1 was to create a program to prevent drinking alcohol by teachers and parents; and phase 2 was to evaluate this preventive model. The 102 students in junior high school grade 1 at Kamphaengphet Educational Service Area Office 1 were divided in the experimental group and the comparison group by simple random sampling technique. The questionnaires were consisted of knowledge, positive attitude and prevention behavior of drinking alcohol. Then, the experimental group received the program on alcohol consumption prevention in teenagers. Frequency and percentage were used to present the results of analysis. The comparison of knowledge, positive attitude and prevention behavior of drinking alcohol between both groups were analyzed by using the paired t-test and independent t-test with 95% confidence interval. The results show that the model on alcohol consumption prevention in teenagers can increase > 20 % of knowledge, nearly 50 % in positive attitude, and about 9/10 in prevention of drinking alcohol behavior. In the experimental group, the mean scores of knowledge, attitude and prevention of drinking alcohol behavior significantly increased after the program and were different from the comparison group (p-value < 0.001). The study suggests that the model on alcohol consumption prevention in teenagers should be adapted for use accordingly. The program should be participated and supported by parents, teachers and the community.