ปัจจัยเสี่ยงต่อการให้กำเนิดทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยในประเทศไทย
นงลักษณ์ ทองโต
บทคัดย่อ
ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพประชากร เพราะน้ำหนักแรกเกิดเป็นตัวทำนายที่มีประสิทธิภาพของการเจริญเติบโตและการมีชีวิตรอดของทารก การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอุบัติการณ์ของทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการให้กำเนิดทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยในประเทศไทย โดยใช้ข้อมูลจาก “โครงการสำรวจอนามัยการเจริญพันธุ์ พ.ศ.2552” ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ตัวอย่างในการศึกษา คือ สตรีอายุ 15 ถึง 59 ปีที่มีบุตรคนสุดท้องที่ยังมีชีวิตอยู่อายุต่ำกว่า 1 ปีและมีข้อมูลน้ำหนักเมื่อแรกเกิดจำนวน 1,029 คน โดยสตรีเหล่านี้เป็นผู้ตอบแบบสอบถามด้วยตนเอง
ผลการศึกษาพบว่าในช่วงเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2551 ถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2552 นั้น ประเทศไทยมีอุบัติการณ์ของทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยเท่ากับร้อยละ 6.99 ผลการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกทวิภาคแบบพหุที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 พบว่า ตัวแปรอิสระทั้ง 14 ตัวภายใต้ปัจจัยด้านมารดา และปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมสามารถอธิบายความแปรปรวนของการเกิดทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยได้ร้อยละ 10.76 (R2 = 0.1076) นอกจากนี้ ผลการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติคทวิภาคแบบพหุขั้นตอน พบว่า อายุมารดาเป็นตัวแปรที่สามารถอธิบายความแปรปรวนของการเกิดทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยได้ดีที่สุด คือ ร้อยละ 2.83 รองลงมา คือ อายุครรภ์เมื่อฝากครรภ์ครั้งแรก ภาคที่อยู่อาศัยและการได้รับควันบุหรี่จากสมาชิกในครอบครัว ซึ่งสามารถอธิบายความแปรปรวนของการเกิดทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.01, 2.30 และ 1.00 ตามลำดับ โดยพบว่ามารดาที่มีอายุ 15-19 ปี และมารดาที่มีอายุ 35-59 ปีมีโอกาสเสี่ยงที่จะให้กำเนิดทารกที่มีน้ำหนัก เมื่อแรกเกิดน้อยสูงเป็น 2.6012 และ 1.3876 เท่าของมารดาที่มีอายุ 20-34 ปีตามลำดับ และมารดาที่ฝากครรภ์ครั้งแรกเมื่ออายุครรภ์ 12 สัปดาห์ขึ้นไปมีโอกาสเสี่ยงสูงเป็น 1.7319 เท่าของมารดาที่ฝากครรภ์ ครั้งแรกเมื่ออายุครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ ในขณะที่มารดาที่อาศัยอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีโอกาสเสี่ยงเท่ากับ 0.3955 เท่าของมารดาที่อาศัยอยู่ในภาคกลางและกรุงเทพมหานคร และมารดาที่ได้รับควันบุหรี่จากสมาชิกในครอบครัวมี โอกาสเสี่ยงสูงเป็น 1.9752 เท่าของมารดาที่ไม่ได้รับควันบุหรี่จากสมาชิกในครอบครัว
RISK FACTORS FOR LOW BIRTHWEIGHT NEWBORNS IN THAILAND
Nongluk Thongto
ABSTRACT
Low birthweight is a public health problem and a core hindrance of population quality development because birthweight is a powerful predictor of infant growth and survival. The purposes of this study are to assess the incidence of low birthweight newborns in Thailand and to determine factors influencing low birthweight newborns in the country, using data from “Reproductive
Health Survey Project 2009” conducted by National Statistical Office of Thailand. The sample comprises of 1,029 women, aged 15 to 59 years whose last child was under one year of age at the time of the interview and had birthweight data, who administered the questionnaire by themselves.
The results show that during May 2008 and May 2009, the incidence of low birthweight newborns in Thailand was 6.99 percent. Multiple binary logistic regression analysis at 0.05 statistical significant level shows that all 14 independent variables under maternal factors and environmental factors explain the variance of low birthweight newborns by 10.76 percent (R2 = 0.1076). In
addition, stepwise multiple binary logistic regression analysis shows that the best variable, maternal age, explains the variance of low birthweight newborns by 2.83 percent, followed by gestational age at first antenatal care, region and receiving second-hand smoke from family members which increases explanation of the variance of low birthweight by 2.01, 2.30 and 1.00 percent, respectively. The analysis shows that mothers aged 15 to 19 years and those aged 35 to 59 years, respectively, having a risk of bearing low birthweight newborns at 2.6012 and 1.3876 times of the mothers aged 20 to 34 years. Mothers having their first antenatal care over 12 weeks have a risk at 1.7319 times of those having their first antenatal care before 12 weeks, mothers living
in Northeast region having a risk at 0.3955 times of those living in Central region and in Bangkok, and mothers receiving second-hand smoke from family members have a risk at 1.9752 times of those who did not receive second-hand smoke from family members.