การเสียชีวิตนอกภูมิลำเนาของคนไทย: ศึกษาจากมรณบัตร พ.ศ.2539-2552

ปัทมา ว่าพัฒนวงศ์ และ อรพิน ทรัพย์ล้น
บทคัดย่อ

ตามกฏหมายไทย เมื่อมีการตายเกิดขึ้น เจ้าบ้านหรือผู้พบศพต้องแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่มีตายภายใน 24 ชั่วโมง ไม่ว่าจะเป็นการตายในบ้านหรือนอกบ้าน และไม่ว่าจะเป็นการตายโดยสาเหตุธรรมชาติหรือผิดธรรมชาติ รายงานฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการตายของประชากรไทยเมื่อจำแนกตามสถานที่เสียชีวิตเปรียบเทียบกับสถานที่อยู่ตามทะเบียนบ้าน โดยศึกษาจากฐานข้อมูลทะเบียนการตายจากมรณบัตร พ.ศ.2539-2552 ซึ่งเป็นข้อมูลรายบุคคล

ผลการศึกษาพบว่า การตายส่วนใหญ่เป็นการตายในภูมิลำเนา มีเพียงประมาณร้อยละ 11-13 ที่เป็นการไปเสียชีวิตนอกภูมิลำเนา การไปเสียชีวิตนอกภูมิลำเนามีการผันแปรกันตามเพศ อายุ และพื้นที่ เพศชายอายุ 0-14 15-24 25-49 50-74 ปี มีการเสียชีวิตมากกว่าหญิง ส่วนเพศหญิงอายุ 75 ปีขึ้นไปเสียชีวิตนอกภูมิลำเนา มากกว่าชาย เมื่อจำแนกตามภาค กรุงเทพฯ จัดเป็นภาคที่มีร้อยละการเสียชีวิตนอกภูมิลำเนาสูงที่สุดในขณะที่ภาคใต้นั้นมีผู้เสียชีวิตนอกภูมิลำเนาต่ำที่สุด แบบแผนการเสียชีวิตนอกภูมิลำเนาของทั้งชายและหญิงนั้นคล้ายคลึงกัน มีลักษณะของรูปตัววีคว่ำ โดยการเสียชีวิตสูงสุดอยู่ในกลุ่ม อายุ 15-24 ปี และสาเหตทุ สี่ำ คญั ของการตายในกล่มุ อายุนี้คือจากสาเหตุภายนอก

 

Deaths outside Residential Area of Thais: Study from Death Registration, 1996-2009

Patama Vapattanawong and Orapin Saplon
ABSTRACT

According to the registration law, every death must be registered within 24 hours after event occurred either inside or outside residence, and either from natural or non-natural cause, by household head or anyone who found that deceased. This article aimed to study the mortality of Thai population, comparing between place of residence and place of death. The study used individual records of death registration during 1996 to 2009.

The results of this study indicated that deaths outside residential area were around 11-13% of total deaths. The variations of these deaths by sex, age and region were also observed. The outside residential area deaths of male were higher than of female among age 0-14 15-24 25-49 50-74 years old. Conversely, females aged 75 years and above had higher outside residential area mortality than males of the same age. Classifying by region, Bangkok was the region where deaths outside residential area were the highest while the lowest was found in the south. The outside residential area mortality of both males and females had similar patterns as the invert v-shaped. The peak of outside residential area mortality was at age 15-24 years old where the most significant cause was from external causes of death.