ปัจจัยที่ส่งผลต่อสุขภาพจิตของผู้สูงอายุ
รศรินทร์ เกรย์ และณัฐจีรา ทองเจริญชูพงศ์2
บทคัดย่อ
ผู้สูงอายุทีมีปัญหาสุขภาพจิต ส่งผลต่อความเสี่ยงการเกิดภาวะทุพลภาพและภาวะการตาย ดังนั้น การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลต่อสุขภาพจิตของผู้สูงอายุไทย โดยใช้ข้อมูลจากการสำรวจอนามัยและสวัสดิการ พ.ศ. 2554 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่ามีประชากรตัวอย่างอายุ 60 ปีขึ้นไปจำนวน 6,952 คน สุขภาพจิตวัดโดยชุดข้อถามสั้นจำนวน 15 ข้อของกรมสุขภาพจิต (TMHI.15) ผลการศึกษาโดยสถิติถดถอยแบบพหุ พบว่าปัจจัยทางประชากร ได้แก่ อายุ และสถานภาพสมรส ปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคม ได้แก่ การศึกษา การทำงาน เศรษฐานะของครัวเรือน และปัจจัยทางสุขภาพ ได้แก่ การรับรู้ภาวะสุขภาพ การปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ประเภทของสวัสดิการรักษาพยาบาล และการออกกำลังกาย ส่งผลต่อสุขภาพจิตของผู้สูงอายุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ดังนั้น นโยบายการให้โอกาสผู้สูงอายุในการทำงาน การลดความเหลื่อมล้ำ ของสวัสดิการรักษาพยาบาล และการส่งเสริมการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับวัย จึงควรได้รับการส่งเสริม
คำสำคัญ: ความสุข ผู้สูงอายุ สุขภาพจิต
Determinants of mental health among older persons
Rossarin Gray and Natjera Thongcharoenchupong2
Abstract
Consequence of poor mental health of older persons is increasing risk of their disabilities and mortality. This study, thus, aims at exploring factors affecting mental health among older persons in Thailand. Data are from the Health and Welfare Survey carried out by the National Statistical Office in 2011. The sample included 6,952 population aged 60 years and over. Short format of Thai Mental Health Indicators including 15 questions of the Department of Mental Health (TMHI.15) was used. Based on multiple regression analysis, the results revealed that demographic factors including age and marital status, socioeconomic factors including education, work and household economic status and health factors including self-rated health, activities daily living, types of health welfare and exercise predicted the level of mental health statistically significantly. Policy on opportunities for work, reducing health welfare inequality and appropriate exercise among older adults should be promoted.
Keywords: Happiness, Mental health, Older persons,
2 Institute for Population and Social Research, Mahidol University