สุขภาวะทางจิตของสตรีมุสลิมหลังสิ้นสุดชีวิตคู่

อัลญาณ์ สมุห์เสนีโต1

บทคัดย่อ

บทความนี้ นำเสนอในประเด็น 1) การหย่าร้างในศาสนาอิสลามเป็นอย่างไร 2) สุขภาวะทางจิตของผู้หญิงมุสลิมหลังสิ้นสุดชีวิตคู่เป็นอย่างไร จากการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลซึ่งเป็นสตรีมุสลิมที่สิ้นสุดชีวิตคู่ตามหลักศาสนาอิสลาม อาศัยอยู่ในจังหวัดปัตตานี ผลจากการสัมภาษณ์รายงานว่า ส่วนใหญ่ผู้ชายมุสลิมไม่ได้ปฏิบัติตามหลักการหย่าร้างในศาสนาอิสลามในการเลี้ยงดูและจ่ายค่าอุปการะแก่ภรรยาเดิมและบุตร ในด้านสุขภาวะทางจิตของสตรีมุสลิมหลังการสิ้นสุดชีวิตคู่ พบว่า แม้ว่าช่วงแรกจะมีอาการเศร้าซึมและไม่สามารถยอมรับตนเองในสถานภาพที่เปลี่ยนไปได้ แต่เมื่อทำใจยอมรับได้ในระยะเวลาต่อมา ทำให้มีสุขภาพจิตดีขึ้นและส่งผลต่อด้านเศรษฐกิจดีขึ้นตามลำดับ ทั้งนี้ ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ตนเองมีกำลังใจเข้มแข็งมากขึ้น เพราะมีบุตรเป็นกำลังใจ สำหรับผู้ที่ไม่มีบุตรสุขภาพจิตดีขึ้น เพราะการยอมรับในสิ่งที่ตนเองเป็นอยู่และไม่มองตนเองตามบรรทัดฐานทางสังคม แต่เลือกที่จะให้สังคมมองตนเองตามที่ตนเองเป็น

คำสำคัญ: การสิ้นสุดชีวิตคู่, สุขภาพจิต

1 หน่วยวิจัยอนามัยเจริญพันธุ์ของชาวไทยมุสลิมในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัย
สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

 

Mental health of Thai-Muslim women after termination of marriage

Anlaya Smuseneto1
Abstract

This paper aims to present the general overview of Muslim divorce, with a particular emphasis on the mental health of Muslim females due to their marriage termination. This study was carried out by intensive interviews with Thai-Muslim women in Pattani Province, all of whom were divorced or separated from their husbands by the Muslim rules. It has revealed that most Thai-Muslim males did not abide by the Muslim rules of divorce, especially concerning maintenance given to their former wives and, if any, children. Regarding mental health of wives after marriage termination, depression and self-denial occurred in the first instance.
However, when they were able to accept their changing marital status, their mental health gradually improved and this also contributed to their better economy. A major factor leading to such improvements was their children’s emotional support. For those without children, self-acceptance, self-esteem, and spiritual independence from social injustice are the keys to their well-being.

Keywords: Marriage termination, Mental health

1 Reproductive Health of Thai-Muslims in the Southernmost Border of Thailand Research Unit, Faculty of
Humanities and Social Sciences Prince of Songkla University, Pattani Campus