ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 เดือนมีนาคม 2553
|
ประสิทธิผลการบำบัดอย่างย่อชุมชนเพื่อลดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ในกลุ่มผู้ที่ดื่มระดับปานกลางในชุมชน จังหวัดลพบุรี
จิตรลดา อารีย์สันติชัย และอุษณีย์ พึ่งปาน
บทคัดย่อ
การศึกษานี้ใช้การเปรียบเทียบชุมชน 2 ชุมชนในจังหวัดลพบุรี ที่มีความชุกของการดื่มสูง กล่าวคือ ชุมชนทดลองที่ได้รับรูปแบบการบำบัดอย่างย่อชุมชนที่สร้างขึ้นและชุมชนควบคุมที่ไม่ได้รับการบำบัดอย่างย่อ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบเปลี่ยนแปลงปริมาณการดื่มเครื่องดื่มแอลกฮอล์เฉลี่ยทั้งก่อนและหลังการใช้รูปแบบบำบัดอย่างย่อชุมชน และ เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงจำนวนวันที่ดื่มฯ ทั้งก่อนและหลังการใช้รูปแบบบำบัดอย่างย่อ ในกลุ่มประชากรที่ดื่มฯ ในระดับปานกลาง
การดำเนินการวิจัยใช้การสำรวจครัวเรือน โดยสัมภาษณ์สมาชิกในครัวเรือนทุกคนและอายุ 19-65 ปี หลังจากนั้นใช้การคัดกรองภาวะผิดปกติจากการดื่มฯ แบ่งกลุ่มตัวอย่าง ออกเป็น 3 กลุ่มคือ กลุ่มดื่มน้อย (0-7 คะแนน) กลุ่มดื่มปานกลาง (8-19 คะแนน) กลุ่มดื่มมาก (20-40 คะแนน) ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่างที่ดื่มปานกลาง และติดตามได้ครบ 1, 3 และ 6 เดือน ในชุมชนควบคุมจำนวน 50 คน และชุมชนทดลองจำนวน 47 คน ซึ่งได้รับรูปแบบการบำบัดอย่างย่อโดยเน้นให้ผู้ดื่มกำหนดเป้าหมาย
ผลการศึกษา พบว่า หลังการใช้รูปแบบการบำบัดอย่างย่อแล้ว ชุมชนทดลองมีปริมาณการดื่มฯ ลดลงขณะที่ชุมชนควบคุมกลับมีปริมาณการดื่มฯ เพิ่มขึ้น เมื่อใช้ t-test ทดสอบผลต่างปริมาณการดื่มฯ ในทุกช่วงเวลา และมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ ที่ระดับ .001 ในทุกช่วงเวลา นอกจากนี้ค่าเฉลี่ยของคะแนนการคัดกรองภาวะผิดปกติจากการดื่มฯ ก่อน/หลัง 6 เดือน เปรียบเทียบกับ ก่อน/หลัง 1 เดือน พบว่าลดลงสองเท่า สังเกตว่าชุมชนทดลองมีจำนวนวันดื่มฯ ลดลงอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ชุมชนควบคุมกลับเพิ่มขึ้น เมื่อทดสอบโดยใช้ t-test จึงพบความแตกต่างระหว่าง 2 ชุมชนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .001 จากผลการศึกษาสามารถพิสูจน์ประสิทธิผลของการบำบัดอย่างย่อชุมชนได้
EFFECTIVENESS OF COMMUNITY BRIEF INTERVENTION MODEL ON ALCOHOL CONSUMPTION REDUCTION AMONG MODERATE DRINKERS IN COMMUNITIES IN LOP BURI PROVINCE
Chitlada Areesantichai and Usaneya Perngparn
ABSTRACT
This study compared between two high risk drinking prevalence communities in Lop Buri Province: an experiment group with brief intervention (BI); a control group. It is aimed at studying the change of average alcohol drinking volume before and after receiving BI among moderate drinkers change of frequency of drinking before and after receiving BI among moderate drinkers
Members aged 19-65 years in both communities were interviewed as a household survey. Alcohol drinkers were classified by AUDIT scores into 3 groups, i.e. low/non drinkers (score 0-7), moderate drinkers (score 8-19) and heavy drinkers (score 20-40). Fifty cases and forty-seven in control and intervention community from moderate drinkers completing all 3 intervals (1, 3 and 6 months) were followed-up. Drinkers voluntarily set up their goal and drinking reduction design suitable for them and their community.
The results show the change of average drinking volume in intervention community decreased while control’s increased with t-test significant difference at .001. Moreover, the mean of AUDIT score change before/after 6 months BI comparing with that of before/after 1 month BI decreased about double. Noticeably, the moderate drinkers intervention’s frequency of drinking decreased
whereas Control’s increased significantly at .001. The results proved the effectiveness of the Community Brief Intervention.