การพนัน หนี้สิน และความสุข

วรชัย ทองไทย และ รศรินทร์ เกรย์
บทคัดย่อ

ลัทธิบริโภคนิยมที่เชื่อว่า “บริโภคมาก มีความสุขมาก” ทำให้เกิดความหลงผิดในเรื่องการพนันและหนี้สิน โดยให้นิยามของการพนันว่า เป็นเครื่องหย่อนใจชนิดหนึ่งที่อาศัยความมีโชค จึงทำให้หลงคิดว่า การพนันทำให้มีความสุข ในขณะเดียวกันก็สนับสนุนให้คนคิดว่า ผู้มีหนี้สินเป็นคนทันสมัย มีเครดิตดี เพราะสามารถนำเงินในอนาคตมาบริโภคในปัจจุบันได้ แต่ค่านิยมดั้งเดิมของคนไทยที่ได้รับอิทธิพลจากพุทธศาสนาที่สอนว่า การพนันเป็นอบายมุข ก่อให้เกิดทุกข์ และการเป็นหนี้ก่อให้เกิดความทุกข์ ยังคงเป็นความจริงอยู่หรือไม่ งานวิจัยนี้จึงมีสมมุติฐาน 2 ข้อคือ “คนเล่นพนันมีความสุขน้อยกว่าคนไม่เล่นพนัน” และ “คนมีหนี้สินมีความสุขน้อยกว่าคนไม่มีหนี้สิน”

ผลการวิเคราะห์ด้วย Binomial Logistic Regression โดยใช้ข้อมูลจากโครงการวิจัยบูรณาการเชิงพื้นที่เพื่อแก้ปัญหาความยากจนอย่างมีส่วนร่วมในภูมิภาคตะวันตก ดำเนินการโดยมหาวิทยาลัยมหิดล พบว่า ไม่ยอมรับสมมุติฐานข้อ 1 แต่ยอมรับสมมุติฐานข้อ 2 ทำให้ยังบอกไม่ได้ว่า การพนันก่อให้เกิดทุกข์หรือไม่ แต่กล่าวได้อย่างชัดเจนว่า “ความสุขเกิดจากความไม่เป็นหนี้”

 

Gambling, Debt and Happiness

Varachai Thongthai and Rossarin Gray
ABSTRACT

The spreading of consumerism which promoted “more consumption, more happiness” created wrong views on gambling and debt. Gambling is promoted as a recreation and thus people can bet for luck. Accordingly, gambling as a form of recreation causes happiness. In term of debt, credit is also promoted as a symbol of modernization. People can now seek happiness by consuming expected future income. Again, debt acceptance leads to happiness. However, the original Thai view, which was influenced by Buddhism, stated that gambling is a channel to ruin ones property and life. Lay people should seek happiness through freedom
from debt. Will these views are still true? Two hypotheses were set, gamblers are less happy than non-gamblers, and persons who have debt are less happy than persons who do not have debt.

The analysis applied binomial logistic regression on the data from project entitled integrated research on community participatory approach for poverty eradication in western region, conducted by Mahidol University. The first hypothesis was rejected but the second hypothesis was accepted. Therefore, it cannot be said whether gambling cause suffering or not. However, it can be concluded that freedom form debt creates happiness.