การเสียชีวิตนอกภูมิลำเนาของคนไทย: ศึกษาจากมรณบัตร พ.ศ.2539-2552

ปัทมา ว่าพัฒนวงศ์ และ อรพิน ทรัพย์ล้น
บทคัดย่อ

ตามกฏหมายไทย เมื่อมีการตายเกิดขึ้น เจ้าบ้านหรือผู้พบศพต้องแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่มีตายภายใน 24 ชั่วโมง ไม่ว่าจะเป็นการตายในบ้านหรือนอกบ้าน และไม่ว่าจะเป็นการตายโดยสาเหตุธรรมชาติหรือผิดธรรมชาติ รายงานฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการตายของประชากรไทยเมื่อจำแนกตามสถานที่เสียชีวิตเปรียบเทียบกับสถานที่อยู่ตามทะเบียนบ้าน โดยศึกษาจากฐานข้อมูลทะเบียนการตายจากมรณบัตร พ.ศ.2539-2552 ซึ่งเป็นข้อมูลรายบุคคล

ผลการศึกษาพบว่า การตายส่วนใหญ่เป็นการตายในภูมิลำเนา มีเพียงประมาณร้อยละ 11-13 ที่เป็นการไปเสียชีวิตนอกภูมิลำเนา การไปเสียชีวิตนอกภูมิลำเนามีการผันแปรกันตามเพศ อายุ และพื้นที่ เพศชายอายุ 0-14 15-24 25-49 50-74 ปี มีการเสียชีวิตมากกว่าหญิง ส่วนเพศหญิงอายุ 75 ปีขึ้นไปเสียชีวิตนอกภูมิลำเนา มากกว่าชาย เมื่อจำแนกตามภาค กรุงเทพฯ จัดเป็นภาคที่มีร้อยละการเสียชีวิตนอกภูมิลำเนาสูงที่สุดในขณะที่ภาคใต้นั้นมีผู้เสียชีวิตนอกภูมิลำเนาต่ำที่สุด แบบแผนการเสียชีวิตนอกภูมิลำเนาของทั้งชายและหญิงนั้นคล้ายคลึงกัน มีลักษณะของรูปตัววีคว่ำ โดยการเสียชีวิตสูงสุดอยู่ในกลุ่ม อายุ 15-24 ปี และสาเหตทุ สี่ำ คญั ของการตายในกล่มุ อายุนี้คือจากสาเหตุภายนอก

 

Deaths outside Residential Area of Thais: Study from Death Registration, 1996-2009

Patama Vapattanawong and Orapin Saplon
ABSTRACT

According to the registration law, every death must be registered within 24 hours after event occurred either inside or outside residence, and either from natural or non-natural cause, by household head or anyone who found that deceased. This article aimed to study the mortality of Thai population, comparing between place of residence and place of death. The study used individual records of death registration during 1996 to 2009.

The results of this study indicated that deaths outside residential area were around 11-13% of total deaths. The variations of these deaths by sex, age and region were also observed. The outside residential area deaths of male were higher than of female among age 0-14 15-24 25-49 50-74 years old. Conversely, females aged 75 years and above had higher outside residential area mortality than males of the same age. Classifying by region, Bangkok was the region where deaths outside residential area were the highest while the lowest was found in the south. The outside residential area mortality of both males and females had similar patterns as the invert v-shaped. The peak of outside residential area mortality was at age 15-24 years old where the most significant cause was from external causes of death.

ปัจจัยเสี่ยงต่อการให้กำเนิดทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยในประเทศไทย

นงลักษณ์ ทองโต
บทคัดย่อ

ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพประชากร เพราะน้ำหนักแรกเกิดเป็นตัวทำนายที่มีประสิทธิภาพของการเจริญเติบโตและการมีชีวิตรอดของทารก การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอุบัติการณ์ของทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการให้กำเนิดทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยในประเทศไทย โดยใช้ข้อมูลจาก “โครงการสำรวจอนามัยการเจริญพันธุ์ พ.ศ.2552” ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ตัวอย่างในการศึกษา คือ สตรีอายุ 15 ถึง 59 ปีที่มีบุตรคนสุดท้องที่ยังมีชีวิตอยู่อายุต่ำกว่า 1 ปีและมีข้อมูลน้ำหนักเมื่อแรกเกิดจำนวน 1,029 คน โดยสตรีเหล่านี้เป็นผู้ตอบแบบสอบถามด้วยตนเอง

ผลการศึกษาพบว่าในช่วงเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2551 ถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2552 นั้น ประเทศไทยมีอุบัติการณ์ของทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยเท่ากับร้อยละ 6.99 ผลการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกทวิภาคแบบพหุที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 พบว่า ตัวแปรอิสระทั้ง 14 ตัวภายใต้ปัจจัยด้านมารดา และปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมสามารถอธิบายความแปรปรวนของการเกิดทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยได้ร้อยละ 10.76 (R2 = 0.1076) นอกจากนี้ ผลการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติคทวิภาคแบบพหุขั้นตอน พบว่า อายุมารดาเป็นตัวแปรที่สามารถอธิบายความแปรปรวนของการเกิดทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยได้ดีที่สุด คือ ร้อยละ 2.83 รองลงมา คือ อายุครรภ์เมื่อฝากครรภ์ครั้งแรก ภาคที่อยู่อาศัยและการได้รับควันบุหรี่จากสมาชิกในครอบครัว ซึ่งสามารถอธิบายความแปรปรวนของการเกิดทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.01, 2.30 และ 1.00 ตามลำดับ โดยพบว่ามารดาที่มีอายุ 15-19 ปี และมารดาที่มีอายุ 35-59 ปีมีโอกาสเสี่ยงที่จะให้กำเนิดทารกที่มีน้ำหนัก เมื่อแรกเกิดน้อยสูงเป็น 2.6012 และ 1.3876 เท่าของมารดาที่มีอายุ 20-34 ปีตามลำดับ และมารดาที่ฝากครรภ์ครั้งแรกเมื่ออายุครรภ์ 12 สัปดาห์ขึ้นไปมีโอกาสเสี่ยงสูงเป็น 1.7319 เท่าของมารดาที่ฝากครรภ์ ครั้งแรกเมื่ออายุครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ ในขณะที่มารดาที่อาศัยอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีโอกาสเสี่ยงเท่ากับ 0.3955 เท่าของมารดาที่อาศัยอยู่ในภาคกลางและกรุงเทพมหานคร และมารดาที่ได้รับควันบุหรี่จากสมาชิกในครอบครัวมี โอกาสเสี่ยงสูงเป็น 1.9752 เท่าของมารดาที่ไม่ได้รับควันบุหรี่จากสมาชิกในครอบครัว

 

RISK FACTORS FOR LOW BIRTHWEIGHT NEWBORNS IN THAILAND

Nongluk Thongto
ABSTRACT

Low birthweight is a public health problem and a core hindrance of population quality development because birthweight is a powerful predictor of infant growth and survival. The purposes of this study are to assess the incidence of low birthweight newborns in Thailand and to determine factors influencing low birthweight newborns in the country, using data from “Reproductive
Health Survey Project 2009” conducted by National Statistical Office of Thailand. The sample comprises of 1,029 women, aged 15 to 59 years whose last child was under one year of age at the time of the interview and had birthweight data, who administered the questionnaire by themselves.

The results show that during May 2008 and May 2009, the incidence of low birthweight newborns in Thailand was 6.99 percent. Multiple binary logistic regression analysis at 0.05 statistical significant level shows that all 14 independent variables under maternal factors and environmental factors explain the variance of low birthweight newborns by 10.76 percent (R2 = 0.1076). In
addition, stepwise multiple binary logistic regression analysis shows that the best variable, maternal age, explains the variance of low birthweight newborns by 2.83 percent, followed by gestational age at first antenatal care, region and receiving second-hand smoke from family members which increases explanation of the variance of low birthweight by 2.01, 2.30 and 1.00 percent, respectively. The analysis shows that mothers aged 15 to 19 years and those aged 35 to 59 years, respectively, having a risk of bearing low birthweight newborns at 2.6012 and 1.3876 times of the mothers aged 20 to 34 years. Mothers having their first antenatal care over 12 weeks have a risk at 1.7319 times of those having their first antenatal care before 12 weeks, mothers living
in Northeast region having a risk at 0.3955 times of those living in Central region and in Bangkok, and mothers receiving second-hand smoke from family members have a risk at 1.9752 times of those who did not receive second-hand smoke from family members.

ความรู้และพฤติกรรมการป้องกันเอดส์ในกลุ่มแรงงานข้ามชาติ จากการสำรวจข้อมูลพื้นฐานแรงงานข้ามชาติในประเทศไทย ปี 2553

อภิชาติ จำรัสฤทธิรงค์ วาทินี บุญชะลักษี จรัมพร โห้ลำยอง เฉลิมพล แจ่มจันทร์ และ กัญญา อภิพรชัยสกุล
บทคัดย่อ

ปัจจุบัน การติดเชื้อเอชไอวีในกลุ่มแรงงานข้ามชาติในประเทศไทยยังคงมีอัตราสูงอยู่ ดังนั้น โครงการส่งเสริมการป้องกันเอดส์ในกลุ่มแรงงานข้ามชาติในประเทศไทย จึงต้องดำเนินการส่งเสริมอย่างต่อเนื่องและเข้มข้น จากผลการสำรวจข้อมูลพื้นฐานในปี 2553 (Baseline Survey) ภายใต้โครงการฟ้ามิตรสอง (PHAMIT-2) ทำให้ทราบถึงสถานการณ์ปัจจุบันในการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีและเอดส์ในกลุ่มแรงงานข้ามชาติในประเทศไทย กลุ่มประชากรเป้าหมายในการวิเคราะห์ครั้งนี้ คือ กลุ่มแรงงานข้ามชาติ พม่า กัมพูชา และลาวที่อยู่ในประเทศไทย จำนวนทั้งสิ้น 3,405 คน จากโครงการฟ้ามิตรสอง (PHAMIT-2) ปี 2553 ดำเนินการโดยสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล

ผลการศึกษาพบว่า ความรู้อย่างครอบคลุมเกี่ยวกับเอชไอวีและเอดส์ยังมีอยู่ในระดับที่ไม่เป็นที่พอใจ พฤติกรรมทางเพศที่ปลอดภัยและการเข้าถึงถุงยางอนามัยกับคู่นอนชั่วคราวและกับคู่ครอง ยังมีปัญหาอยู่ระดับหนึ่ง การสำรวจครั้งนี้ยังได้กล่าวถึง การรับข่าวสารความรู้โรคเอดส์ การตรวจหาเชื้อเอชไอวีและเอดส์ด้วยความสมัครใจ ตลอดจนการวางแผนครอบครัว ซึ่งผลการศึกษานี้ยังประโยชน์ต่อการดำเนินงานต่อไปในอนาคต โดยเฉพาะขององค์กรพัฒนาเอกชนซึ่งเป็นภาคีเครือข่ายภายใต้โครงการฟ้ามิตรสองซึ่งครอบคลุมทุกจังหวัดที่มีแรงงานข้ามชาติในประเทศไทย

 

Knowledge and Preventive Behavior on HIV/AIDS among Migrant Workers : Baseline Survey of Migrant Workers in Thailand 2010

Aphichat Chamratrithirong, Wathinee Boonchalaksi, Charamporn Holumyong Chalermpol, Chamchan and Kanya Apipornchaisakul
ABSTRACT

Presently, HIV/AIDS infection rate is still high among migrant workers in Thailand. Prevention of HIV/AIDS among Migrant Workers in Thailand Project or PHAMIT is, therefore, taken place continuously and intensively. From the Baseline Survey of the project (PHAMIT-2) in 2010, up-to-date situations about the HIV/AIDS prevention among the migrant workers are revealed. Target populations of this survey include migrant workers from Myanmar, Cambodia and Lao PDR. In total, 3,405 migrant workers under
PHAMIT-2 were interviewed. The survey was conducted by the Institute for Population and Social Research, Mahidol University.

The survey reveals that the comprehensive knowledge of HIV/AIDS among migrants is still at an unsatisfactory level. Safe sexual practices and access to condoms with causal and regular partners are still problematic. This survey also reported about exposure to HIV/AIDS information and knowledge, Voluntary Counseling and Testing of HIV/AIDS, and family planning practices of the migrant workers. These findings are beneficial especially to the works of Non-Governmental Organizations in the PHAMIT-2 Networks covering all provinces of Thailand where migrant workers are residing in.

การพนัน หนี้สิน และความสุข

วรชัย ทองไทย และ รศรินทร์ เกรย์
บทคัดย่อ

ลัทธิบริโภคนิยมที่เชื่อว่า “บริโภคมาก มีความสุขมาก” ทำให้เกิดความหลงผิดในเรื่องการพนันและหนี้สิน โดยให้นิยามของการพนันว่า เป็นเครื่องหย่อนใจชนิดหนึ่งที่อาศัยความมีโชค จึงทำให้หลงคิดว่า การพนันทำให้มีความสุข ในขณะเดียวกันก็สนับสนุนให้คนคิดว่า ผู้มีหนี้สินเป็นคนทันสมัย มีเครดิตดี เพราะสามารถนำเงินในอนาคตมาบริโภคในปัจจุบันได้ แต่ค่านิยมดั้งเดิมของคนไทยที่ได้รับอิทธิพลจากพุทธศาสนาที่สอนว่า การพนันเป็นอบายมุข ก่อให้เกิดทุกข์ และการเป็นหนี้ก่อให้เกิดความทุกข์ ยังคงเป็นความจริงอยู่หรือไม่ งานวิจัยนี้จึงมีสมมุติฐาน 2 ข้อคือ “คนเล่นพนันมีความสุขน้อยกว่าคนไม่เล่นพนัน” และ “คนมีหนี้สินมีความสุขน้อยกว่าคนไม่มีหนี้สิน”

ผลการวิเคราะห์ด้วย Binomial Logistic Regression โดยใช้ข้อมูลจากโครงการวิจัยบูรณาการเชิงพื้นที่เพื่อแก้ปัญหาความยากจนอย่างมีส่วนร่วมในภูมิภาคตะวันตก ดำเนินการโดยมหาวิทยาลัยมหิดล พบว่า ไม่ยอมรับสมมุติฐานข้อ 1 แต่ยอมรับสมมุติฐานข้อ 2 ทำให้ยังบอกไม่ได้ว่า การพนันก่อให้เกิดทุกข์หรือไม่ แต่กล่าวได้อย่างชัดเจนว่า “ความสุขเกิดจากความไม่เป็นหนี้”

 

Gambling, Debt and Happiness

Varachai Thongthai and Rossarin Gray
ABSTRACT

The spreading of consumerism which promoted “more consumption, more happiness” created wrong views on gambling and debt. Gambling is promoted as a recreation and thus people can bet for luck. Accordingly, gambling as a form of recreation causes happiness. In term of debt, credit is also promoted as a symbol of modernization. People can now seek happiness by consuming expected future income. Again, debt acceptance leads to happiness. However, the original Thai view, which was influenced by Buddhism, stated that gambling is a channel to ruin ones property and life. Lay people should seek happiness through freedom
from debt. Will these views are still true? Two hypotheses were set, gamblers are less happy than non-gamblers, and persons who have debt are less happy than persons who do not have debt.

The analysis applied binomial logistic regression on the data from project entitled integrated research on community participatory approach for poverty eradication in western region, conducted by Mahidol University. The first hypothesis was rejected but the second hypothesis was accepted. Therefore, it cannot be said whether gambling cause suffering or not. However, it can be concluded that freedom form debt creates happiness.

ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 เดือนกันยายน 2554

  • คำกราบบังคมทูลของกรมพระนเรศวรฤทธิ์

บทความวิจัย
บทความวิชาการ
  • ปาฐกถาศาสตราจารย์ ดร.วิศิษฐ์ ประจวบเหมาะ
    "สี่ทศวรรษ-แผนพัฒนาชาติ กับสามทศวรรษ-นโยบายประชากร : 
    สังคมไทยได้ หรือเสียอะไร?"
    ภัสสร ลิมานนท์

    แสดงในการประชุมวิชาการประชากรศาสตร์แห่งชาติ ประจำปี 2543
    24 พฤศจิกายน 2543