ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะเสี่ยงการมีปัญหาสุขภาพจิตของผู้สูงอายุไทย

วิชาญ ชูรัตน์1 โยธิน แสวงดี2 และสุพาพร อรุณรักษ์สมบัติ1
บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะสุขภาพจิตของผู้สูงอายุตามลักษณะทางประชากรและสังคม สุขภาพ และเศรษฐกิจของผู้สูงอายุ และเพื่อศึกษาอิทธิพลของปัจจัยด้านประชากรและสังคม สุขภาพ และเศรษฐกิจ ที่มีผลต่อภาวะเสี่ยงการมีปัญหาสุขภาพจิตของผู้สูงอายุไทย โดยใช้ข้อมูลโครงการสำรวจสุขภาพจิตคนไทย พ.ศ. 2553 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ โดยคัดเลือกเฉพาะผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปมาใช้ในการศึกษา

ผลการศึกษาพบว่า ลักษณะของผู้สูงอายุที่เสี่ยงต่อการมีปัญหาสุขภาพจิต ส่วนใหญ่อยู่ในภาคกลาง และอยู่นอกเขตเทศบาลมากกว่าในเขตเทศบาล เป็นผู้หญิงมากกว่าผู้ชายเมื่อผู้สูงอายุมีอายุเพิ่มขึ้นจะทำให้มีภาวะเสี่ยงต่อการมีปัญหาสุขภาพจิตเพิ่มขึ้น และที่สำคัญส่วนใหญ่เป็นหม้าย/หย่า/แยกกันอยู่ นอกจากนี้ยังพบว่า ผู้สูงอายุที่มีการศึกษาสูงขึ้นจะมีภาวะเสี่ยงต่อการมีปัญหาสุขภาพจิตลดลงอย่างเห็นได้ชัด เมื่อพิจารณาปัจจัยด้านสุขภาพ พบว่า ผู้ที่มีความพิการแต่กำเนิด และหลังกำเนิดเสี่ยงต่อการมีปัญหาสุขภาพจิตมากกว่าผู้ที่ไม่พิการ สำหรับปัจจัยด้านเศรษฐกิจ พบว่า ผู้สูงอายุที่ไม่ได้ทำงานจะมีภาวะเสี่ยงต่อการมีปัญหาสุขภาพจิตสูงกว่าผู้สูงอายุที่ทำงานเล็กน้อย และเมื่อค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นของครัวเรือนเพิ่มขึ้นผู้สูงอายุจะมีภาวะเสี่ยงต่อการมีปัญหาสุขภาพจิตลดลง ผู้สูงอายุ ที่อยู่ในครัวเรือนที่มีฐานะยากจนมีภาวะเสี่ยงต่อการมีปัญหาสุขภาพจิตสูงกว่าผู้ที่อยู่ในครัวเรือนที่ไม่จนเกือบ 2 เท่า จากการวิเคราะห์อิทธิพลของปัจจัยทางประชากรและสังคม สุขภาพ และเศรษฐกิจต่อภาวะเสี่ยงการมีปัญหาสุขภาพจิตของผู้สูงอายุไทย พบว่าภาค เพศ ศาสนา สถานภาพสมรส การศึกษา ความเป็นผู้นำในครัวเรือน ความพิการ ความสามารถในการดูแลตนเอง ความสามารถในการเดินทางไปนอกพื้นที่ ค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นของครัวเรือน และฐานะทางเศรษฐกิจของครัวเรือนมีอิทธิพลต่อภาวะเสี่ยงการมีปัญหาสุขภาพจิตของผู้สูงอายุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

คำสำคัญ: สุขภาพจิต/ผู้สูงอายุ

1 สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
2 สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล

FACTORS INFLUENCING THE RISK OF HAVING MENTAL HEALTH PROBLEMS OF THAI ELDERLY

Wichan Choorat1 Yothin Sawangdee2 and Supaporn Arunraksombat1
Abstract

This study aims to pinpoint the mental health status and factors influencing risks of mental health problems of Thai elderly. Data used in this study are the population aged 60 years and over from the Mental Health Survey 2010 collected by National Statistical Office of Thailand. The results of this study showed that there are some characteristics related to the risks in elderly’s mental health problems, such as most of the elderly living in the central region has the mental health problems. The elderly live in rural area have more chance than those in urban area and most of them are female. The higher age, the more risk in mental health problems were confirmed. The elderly with mental health problems are commonly widowed/divorced/separated. The elderly with high levels of educational tend to have the significant impact on the risk of mental health problems.

Considering in health factors, the elderly with disability at the time of birth and after birth have higher risk in mental health problems than those who do not. Regarding to the economic factors, the elderly who do not work have higher risk. However, an increase of household’s expenditure seemed to cause the elderly’s mental health problems to reduce. It was observed from the studying that the elderly living in poor household have higher risk than those in the non-poor household.

By using the binary logistic regression method to analyze the factors influencing the risk in mental health problems in Thai elderly, the result showed that region, sex, religion, marital status, education, household head status, disability, daily living arrangement, the ability to travel outside the residential area, total household expenditure, household economic status have significantly related to the risk of mental health problems.

Keywords: Mental Health, Elderly, Ageing

1 National Statistical Office, Ministry of Information Communication and Technology
2 Institute for Population and Social Research, Mahidol University