ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะเสี่ยงการมีปัญหาสุขภาพจิตของผู้สูงอายุไทย
วิชาญ ชูรัตน์1 โยธิน แสวงดี2 และสุพาพร อรุณรักษ์สมบัติ1
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะสุขภาพจิตของผู้สูงอายุตามลักษณะทางประชากรและสังคม สุขภาพ และเศรษฐกิจของผู้สูงอายุ และเพื่อศึกษาอิทธิพลของปัจจัยด้านประชากรและสังคม สุขภาพ และเศรษฐกิจ ที่มีผลต่อภาวะเสี่ยงการมีปัญหาสุขภาพจิตของผู้สูงอายุไทย โดยใช้ข้อมูลโครงการสำรวจสุขภาพจิตคนไทย พ.ศ. 2553 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ โดยคัดเลือกเฉพาะผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปมาใช้ในการศึกษา
ผลการศึกษาพบว่า ลักษณะของผู้สูงอายุที่เสี่ยงต่อการมีปัญหาสุขภาพจิต ส่วนใหญ่อยู่ในภาคกลาง และอยู่นอกเขตเทศบาลมากกว่าในเขตเทศบาล เป็นผู้หญิงมากกว่าผู้ชายเมื่อผู้สูงอายุมีอายุเพิ่มขึ้นจะทำให้มีภาวะเสี่ยงต่อการมีปัญหาสุขภาพจิตเพิ่มขึ้น และที่สำคัญส่วนใหญ่เป็นหม้าย/หย่า/แยกกันอยู่ นอกจากนี้ยังพบว่า ผู้สูงอายุที่มีการศึกษาสูงขึ้นจะมีภาวะเสี่ยงต่อการมีปัญหาสุขภาพจิตลดลงอย่างเห็นได้ชัด เมื่อพิจารณาปัจจัยด้านสุขภาพ พบว่า ผู้ที่มีความพิการแต่กำเนิด และหลังกำเนิดเสี่ยงต่อการมีปัญหาสุขภาพจิตมากกว่าผู้ที่ไม่พิการ สำหรับปัจจัยด้านเศรษฐกิจ พบว่า ผู้สูงอายุที่ไม่ได้ทำงานจะมีภาวะเสี่ยงต่อการมีปัญหาสุขภาพจิตสูงกว่าผู้สูงอายุที่ทำงานเล็กน้อย และเมื่อค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นของครัวเรือนเพิ่มขึ้นผู้สูงอายุจะมีภาวะเสี่ยงต่อการมีปัญหาสุขภาพจิตลดลง ผู้สูงอายุ ที่อยู่ในครัวเรือนที่มีฐานะยากจนมีภาวะเสี่ยงต่อการมีปัญหาสุขภาพจิตสูงกว่าผู้ที่อยู่ในครัวเรือนที่ไม่จนเกือบ 2 เท่า จากการวิเคราะห์อิทธิพลของปัจจัยทางประชากรและสังคม สุขภาพ และเศรษฐกิจต่อภาวะเสี่ยงการมีปัญหาสุขภาพจิตของผู้สูงอายุไทย พบว่าภาค เพศ ศาสนา สถานภาพสมรส การศึกษา ความเป็นผู้นำในครัวเรือน ความพิการ ความสามารถในการดูแลตนเอง ความสามารถในการเดินทางไปนอกพื้นที่ ค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นของครัวเรือน และฐานะทางเศรษฐกิจของครัวเรือนมีอิทธิพลต่อภาวะเสี่ยงการมีปัญหาสุขภาพจิตของผู้สูงอายุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
คำสำคัญ: สุขภาพจิต/ผู้สูงอายุ
1 สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร2 สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
FACTORS INFLUENCING THE RISK OF HAVING MENTAL HEALTH PROBLEMS OF THAI ELDERLY
Wichan Choorat1 Yothin Sawangdee2 and Supaporn Arunraksombat1
Abstract
This study aims to pinpoint the mental health status and factors influencing risks of mental health problems of Thai elderly. Data used in this study are the population aged 60 years and over from the Mental Health Survey 2010 collected by National Statistical Office of Thailand. The results of this study showed that there are some characteristics related to the risks in elderly’s mental health problems, such as most of the elderly living in the central region has the mental health problems. The elderly live in rural area have more chance than those in urban area and most of them are female. The higher age, the more risk in mental health problems were confirmed. The elderly with mental health problems are commonly widowed/divorced/separated. The elderly with high levels of educational tend to have the significant impact on the risk of mental health problems.
Considering in health factors, the elderly with disability at the time of birth and after birth have higher risk in mental health problems than those who do not. Regarding to the economic factors, the elderly who do not work have higher risk. However, an increase of household’s expenditure seemed to cause the elderly’s mental health problems to reduce. It was observed from the studying that the elderly living in poor household have higher risk than those in the non-poor household.
By using the binary logistic regression method to analyze the factors influencing the risk in mental health problems in Thai elderly, the result showed that region, sex, religion, marital status, education, household head status, disability, daily living arrangement, the ability to travel outside the residential area, total household expenditure, household economic status have significantly related to the risk of mental health problems.
Keywords: Mental Health, Elderly, Ageing
1 National Statistical Office, Ministry of Information Communication and Technology2 Institute for Population and Social Research, Mahidol University
ความสุขของประชากรชนบทใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
จรัมพร โห้ลำยอง ปราโมทย์ ประสาทกุล และกาญจนา เทียนลาย2
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาสถานการณ์เกี่ยวกับความสุขและความทุกข์ของประชากรชนบทใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส โดยจะศึกษาระดับและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสุขและความทุกข์เหล่านั้น การศึกษาใช้ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ครัวเรือนตัวอย่างที่ได้จากการสุ่มเพื่อให้ได้ตัวแทนของประชากรชนบทใน3 จังหวัดนี้ของโครงการสำรวจคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ซึ่งดำเนินการโดยสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ผลการวิเคราะห์พบว่า คะแนนความสุขของประชากรชนบทใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ในปีที่สำรวจ คือ พ.ศ. 2552 เท่ากับ 6.7 ซึ่งต่ำกว่าคะแนนความสุขเฉลี่ยของประเทศไทยที่เท่ากับ 7.5 ซึ่งคำนวณจากข้อมูลการสำรวจสภาวะทางสังคมและวัฒนธรรม ใน พ.ศ. 2551 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ
ผลการวิเคราะห์ด้วย Binomial Logistic Regression พบว่า ศาสนาประจำครัวเรือน ความรู้สึกปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของคนในครัวเรือน และการเจ็บป่วยของครัวเรือน มีอิทธิพลต่อความสุขมาก และความทุกข์ของประชากรชนบทในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ครัวเรือนที่นับถือศาสนาพุทธมีความน่าจะเป็นที่ครัวเรือนจะมีความสุขมากสูงกว่าครัวเรือนที่นับถือศาสนาอิสลาม ในขณะที่ความรู้สึกปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของคนในครัวเรือนเพิ่มขึ้น จะเพิ่มโอกาสให้ครัวเรือนมีความสุข และลดโอกาสที่ครัวเรือนจะมีความทุกข์
อาการเครียด โรคกระดูก/ข้อ/กล้ามเนื้อ/เอ็น และโรคไข้เลือดออก/ไข้ชิคุนกุนยาเป็นโรคที่ส่งผลกระทบความสุขของชนบทในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งมีบางครัวเรือนเท่านั้นที่เข้ารับการรักษาในสถานบริการทางสุขภาพ โดยเหตุผลของการปฏิเสธไม่ไปรับบริการในสถานบริการของรัฐมีความหลากหลาย เช่น ความรุนแรงของโรค ที่ตั้งของสถานบริการ และความพึงพอใจในการให้บริการ
คำสำคัญ: ความสุข, คุณภาพชีวิต, 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้, ภาคใต้
The Happiness of RuralRural Population in the 3 Southern Border Provinces in Thailand
Charamporn Holumyong, Promote Prasartkul, and Kanchana Thianlai2
Abstract
This article studies the happiness and sadness of rural population in the 3 southern border provinces in Thailand-Pattanee, Yala, and Narathivat. The overview of happiness and the analysis of factors determining happiness and sadness are included in this study. Employing the data from the survey on people’s quality of life in 3 Southern border provinces conducted by Institute for Population and Social Research, Mahidol University, it reveals that the average score of happiness level of rural population in the 3 Southern border provinces was 6.7 in the year implemented survey, 2009. This happiness level is quite low comparing to the average score of happiness level of Thai population which was 7.5, according to the 2008 survey on conditions of social, culture and mental health done by National Statistical Office, Thailand.
The findings of Binomial Logistic Regression analysis show that household religions, perception of safety, and health condition significantly determine both sadness and happiness of rural population in the 3 Southern border provinces in Thailand. A Buddhist household is more likely to be happy than an Islamic household. Strong perception of safety on both life and property can increase the likelihood to be happy and simultaneously decrease the likelihood to be sad.
Concerning health condition, stress, joint, bone and muscle pain, dengue fever and Chikungunya disease are the major health problems that significantly lower happiness of this population. While these diseases are curable, only some households seek the proper treatment at health facilities. The reasons for denying to access health services at the government health facilities are varies such as severity of symptoms, location of health facilities, and service satisfaction.
Keywords: Happiness, Quality of Life, The Three Southern Provinces of Thailand, South Thailand
2 Institute for Population and Social Research, Mahidol Universityความสุขพอเพียง
วรชัย ทองไทย2
บทคัดย่อ
ปัจจุบันคนไทยมีความสุขน้อยกว่าแต่ก่อน เพราะหลงอยู่ในความสุขแบบบริโภคนิยม ซึ่งเป็นความสุขชั่วคราว และจะนำไปสู่ความทุกข์ในระยะยาวได้ หนทางแก้ไขคือ การหันกลับไปหาความสุขที่มีอยู่แล้วในวัฒนธรรมดั้งเดิมของไทย ได้แก่ คิหิสุข (สุขของคฤหัสถ์) หรือ ความสุขพอเพียง
พุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งความสุข และมีคำสอนเกี่ยวกับความสุขมากมายหลายระดับ มีทั้งคำสอนสำหรับผู้ครองเรือน หรือผู้ที่ยังดำรงชีวิตอยู่ในสังคม ซึ่งเป็นคำสอนเพื่อประโยชน์ทางวัตถุ และเพื่อความสุขในปัจจุบัน นอกจากนี้ยังมีคำสอนสำหรับผู้สละเรือนแล้วซึ่งเป็นคำสอนเพื่อประโยชน์ลึกซึ้งทางจิตใจและความสุขสูงสุด
การส่งเสริมให้คนไทยหันมาสนใจกับความสุขพอเพียงนั้น นักวิจัยต้องทำให้เห็นในเชิงประจักษ์ว่า ความสุขพอเพียงเป็นความสุขที่แท้จริงและยั่งยืน โดยทำวิจัยเพื่อพิสูจน์สมมุติฐาน 4 ข้อ คือ 1) รายได้ที่ได้มาโดยสุจริตทำให้มีความสุข 2) รายจ่ายที่ประกอบด้วยปัญญาทำให้มีความสุข 3) การไม่มีหนี้สินทำให้มีความสุข และ 4) การประพฤติที่ไม่มีโทษทำให้มีความสุข
คำสำคัญ: ความสุข ความสุขพอเพียง ความสุขที่ยั่งยืน ความสุขในพุทธศาสนา ความต้องการ บทบาทของนักวิจัย
Sufficient Happiness
Varachai Thongthai2
Abstract
Nowadays Thai people are less happy than before, due to seeking happiness from consumption. Whilst consumption brings instant happiness, it will lead to suffering in the long run. The solution is by seeking happiness from Thai tradition that is Gihisukha (house-life happiness) or sufficient happiness.
Buddhism is the religion of happiness. There are a lot of discourses about happiness. These discourses cover all walks of life, ranging from laypersons who seek materials and current happiness to monks who seek spiritual gain and supreme happiness.
In convincing Thai people to seek sufficient happiness, researchers have to demonstrate that sufficient happiness is a true and sustainable happiness. They should do empirical studies, which include four hypotheses; 1) uprightness income is happiness, 2) wisdom spending is happiness, 3) debtlessness is happiness, and 4) faultless life is happiness.
Keywords: happiness, sufficient happiness, sustainable happiness, happiness in Buddhism, want, researcher’s role.
2 Institute for Population and Social Research, Mahidol Universityปัจจัยที่ส่งผลต่อสุขภาพจิตของผู้สูงอายุ
รศรินทร์ เกรย์ และณัฐจีรา ทองเจริญชูพงศ์2
บทคัดย่อ
ผู้สูงอายุทีมีปัญหาสุขภาพจิต ส่งผลต่อความเสี่ยงการเกิดภาวะทุพลภาพและภาวะการตาย ดังนั้น การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลต่อสุขภาพจิตของผู้สูงอายุไทย โดยใช้ข้อมูลจากการสำรวจอนามัยและสวัสดิการ พ.ศ. 2554 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่ามีประชากรตัวอย่างอายุ 60 ปีขึ้นไปจำนวน 6,952 คน สุขภาพจิตวัดโดยชุดข้อถามสั้นจำนวน 15 ข้อของกรมสุขภาพจิต (TMHI.15) ผลการศึกษาโดยสถิติถดถอยแบบพหุ พบว่าปัจจัยทางประชากร ได้แก่ อายุ และสถานภาพสมรส ปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคม ได้แก่ การศึกษา การทำงาน เศรษฐานะของครัวเรือน และปัจจัยทางสุขภาพ ได้แก่ การรับรู้ภาวะสุขภาพ การปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ประเภทของสวัสดิการรักษาพยาบาล และการออกกำลังกาย ส่งผลต่อสุขภาพจิตของผู้สูงอายุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ดังนั้น นโยบายการให้โอกาสผู้สูงอายุในการทำงาน การลดความเหลื่อมล้ำ ของสวัสดิการรักษาพยาบาล และการส่งเสริมการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับวัย จึงควรได้รับการส่งเสริม
คำสำคัญ: ความสุข ผู้สูงอายุ สุขภาพจิต
Determinants of mental health among older persons
Rossarin Gray and Natjera Thongcharoenchupong2
Abstract
Consequence of poor mental health of older persons is increasing risk of their disabilities and mortality. This study, thus, aims at exploring factors affecting mental health among older persons in Thailand. Data are from the Health and Welfare Survey carried out by the National Statistical Office in 2011. The sample included 6,952 population aged 60 years and over. Short format of Thai Mental Health Indicators including 15 questions of the Department of Mental Health (TMHI.15) was used. Based on multiple regression analysis, the results revealed that demographic factors including age and marital status, socioeconomic factors including education, work and household economic status and health factors including self-rated health, activities daily living, types of health welfare and exercise predicted the level of mental health statistically significantly. Policy on opportunities for work, reducing health welfare inequality and appropriate exercise among older adults should be promoted.
Keywords: Happiness, Mental health, Older persons,
2 Institute for Population and Social Research, Mahidol Universityความสุข และ ยาพิษ: ภาพสะท้อนกลับของการงานและชีวิต
สุทธิลักษณ์ สมิตะสิริ และประภา คงปัญญา
บทคัดย่อ
บทความนี้เป็นการบรรยายประสบการณ์จากการดำเนินโครงการพัฒนาและวิจัยเพื่อส่งเสริมสุขภาวะในระดับอำเภอของนักวิจัยในมหาวิทยาลัยคนหนึ่ง ผู้เขียนเลือกใช้การมองสะท้อนกลับด้วยการวิจัยตนเองเพื่ออธิบายกระบวนการเรียนรู้และความพยายามของบุคคลในการทำความเข้าใจ “ความสุข” ทั้งจากการงาน และชีวิต เรื่องราวเช่นที่นำเสนอชี้ถึงองค์ความรู้เกี่ยวกับแนวทางการประยุกต์ใช้ความรู้ ปัจจัยและเงื่อนไขบางอย่างที่สำคัญแต่ซ่อนอยู่ และความเข้มแข็งทางจิตวิญญาณของผู้เล่า ผลของการดำเนินการเช่นนี้จึงเป็นทั้งกระบวนการและผลผลิตของการเรียนรู้ โดยมีเป้าหมายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมให้ผู้อ่านได้รับ “ประสบการณ์จากประสบการณ์” ซึ่งอาจจูงใจให้มีการเล่าประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาความสุขมากขึ้น อันจะส่งผลต่อการเพิ่มพูนความรู้และปัญญาในสังคมซึ่งมีความจำเป็นต่อความก้าวหน้าของความสุขและความเป็นอยู่ที่ดีของประชากรไทย
ทั้งในระดับชุมชนและระดับบุคคล
คำสำคัญ: ความสุข การพัฒนา การวิจัยตนเอง ชุมชนเป็นฐาน พุทธมณฑล
HAPPINESS AND POISON: REFLECTIONS ON WORK AND LIFE
Suttilak Smitasiri and Prapa Kongpunya1
Abstract
This article is a personal narrative of a university researcher’s experience in conducting a district-wide happiness promotion development and research program. Autoethnographic reflections are used to describe a learning process and a person’s attempt to understand “happiness” in the context of both work and life. Stories such as this demonstrate the “how” of the application of knowledge, underlying issues and spiritual strength of the teller. Results of this exercise are both a process and a product. The aim is to encourage readers to “experience an experience” that might motivate them to give voice to their own experiences in order
to increase knowledge and wisdom necessary to advance happiness and well-being of the Thai population, at both community and individual levels.
Keywords: Happiness Development Autoethnography Community-based Phutthamonthon
1 Institute of Nutrition, Mahidol University