ข้อพิจารณามโนทัศน์ใหม่ของ “นิยามผู้สูงอายุ” และ “อายุเกษียณ” ในประเทศไทย
เฉลิมพล แจ่มจันทร์1
บทคัดย่อ
บทความทางวิชาการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อจุดประเด็นความคิดในสังคมไทยเกี่ยวกับข้อพิจารณาในการปรับเปลี่ยนมุมมองและมโนทัศน์ใหม่ต่อ 1) การให้ความหมายและการกำหนดนิยามผู้สูงอายุไทยซึ่งปัจจุบันใช้เกณฑ์อายุตามปีปฎิทินที่ 60 ปีขึ้นไป และ 2) กำหนดอายุเกษียณของแรงงานไทย ทั้งอายุเกษียณที่เป็นทางการของคนทำงานภาครัฐที่อายุ 60 ปี และอายุเกษียณของภาคเอกชนซึ่งไม่มีกำหนดตายตัว แต่เกี่ยวพันกับกำหนด
อายุที่เกิดสิทธิ กรณีชราภาพของระบบประกันสังคมซึ่งกำหนดที่อายุ 55 ปี ขึ้นไป ภายใต้วัตถุประสงค์ข้างต้น การนำเสนอประกอบด้วยข้อมูลและบทวิเคราะห์จากการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับเกณฑ์การกำหนดนิยามความเป็นผู้สูงอายุของบุคคล การกำหนดอายุเกษียณในมุมมองเชิงวิชาการและในทางปฏิบัติ สถานการณ์ผู้สูงอายุและการทำงานของผู้สูงอายุในประเทศไทย ผลกระทบจากการสูงวัยของประชากรที่จะมีต่อเศรษฐกิจและสังคมในภาพรวม ซึ่งทั้งหมด ในท้ายที่สุดนำไปสู่ประเด็นข้อพิจารณาเกี่ยวกับมโนทัศน์ใหม่ของนิยามผู้สูงอายุและอายุเกษียณ ที่เหมาะสมกับสถานการณ์สังคมผู้สูงอายุในปัจจุบัน และจะเป็นผลดีต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต สุขภาพกายและสุขภาพจิตของผู้สูงอายุ
คำสำคัญ: นิยามผู้สูงอายุ อายุเกษียณ ผู้สูงอายุ ประเทศไทย
1 สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
e-mail:
This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
ผู้เขียนขอขอบพระคุณ ศาสตราจารย์ ดร.ปราโมทย์ ประสาทกุล สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ที่ได้ให้
คำปรึกษา ตลอดจนข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อบทความนี้เป็นอย่างยิ่ง
Issues in Considering the New Concept of “the Elderly’s Definition” and “the Age of Retirement” in Thailand
Chalermpol Chamchan1
Abstract
This article aims to point out issues for Thai society to consider in respect of perspectives and new concept towards 1) meaning and the definition of “the elderly” which is currently defined to start at age of 60 calendar years, and 2) “retirement age” both the official one for the public workers at age 60 years and the practical one in private sector which is flexible but relating to the pensionable age of the Social Security Scheme at age 55 years. In this regards, it presents information and discussions from literature reviews respecting common criterions those are used in defining an individual as the elderly, retirement age in academic point of views and in practice, current situations of ageing and the elderly participation in the workforce in Thailand, and economic and social impacts of the ageing population being in concerns. All of these lead us to considerations about the new concepts of the elderly definition and retirement age those suit for the current ageing situation and benefit better for the elderly in terms of quality of life, physical and mental health.
Keywords: the elderly definition, retirement age, the elderly, Thailand
1 Institute for Population and Social Research, Mahidol University
ความสุข: การวัดเชิงอัตวิสัย
รศรินทร์ เกรย์1
บทคัดย่อ
ปี 2555 องค์การสหประชาชาติได้มีมติก่อตั้งวันความสุขสากล กำหนดให้ตรงกับ วันที่ 20 มีนาคม ของทุกปี โดยเรียกร้องให้แต่ละประเทศผลักดันนโยบายสาธารณะเพื่อเพิ่มความสุขให้กับประชาชนทุกๆ คน ดังนั้นข้อมูลเกี่ยวกับระดับและแนวโน้มความสุขจึงมีความสำคัญในการกำหนดนโยบาย
ความสุขเชิงอัตวิสัย ได้มีการศึกษามาอย่างยาวนานในโลกตะวันตก โดยการสำรวจเชิงปริมาณที่ใช้เครื่องมือหรือข้อคำถาม และคำตอบที่เป็นสากล หรือทีเรียกว่า Global question ทำให้ทราบแนวโน้มความสุขของประชาชนในประเทศเหล่านั้น แต่ประเทศไทยเริ่มมีการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับความสุขเชิงอัตวิสัยโดยการสำรวจเชิงปริมาณ อย่างเป็นระบบเร็วๆ นี้ ในการศึกษาแนวโน้มระดับความสุขว่าเพิ่มขึ้นหรือลดลงนั้น หากมีการใช้ข้อ
คำถามและคำตอบที่ให้เลือกแตกต่างกันบ้างในแต่ละครั้งของการสำรวจ อาจนำไปสู่ข้อสรุปที่คลาดเคลื่อนได้
บทความนี้ทบทวนเครื่องมือที่ใช้วัดความสุขเชิงอัตวิสัยในต่างประเทศ เปรียบเทียบกับประเทศไทย พบว่ามีความคล้ายคลึงกันมาก แต่มีข้อควรระวังเกี่ยวกับเครื่องมือที่ใช้ในประเทศไทย เพื่อลดความคลาดเคลื่อนเมื่อต้องการศึกษาแนวโน้มความสุขคนไทย
1 สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
Happiness: subjective measurement
Rossarin Gray1
Abstract
In 2012, the United Nations declared that 20 March of every year was observed as the International Happiness Day. The UN called upon every country to adopt public policy that increases happiness of its population. Thus, data for the study of level and trend of happiness are in need.
The study of subjective happiness using survey data based on happiness global question has long been carried out in the West. But, only recently, Thailand has started to collect data on subjective happiness systematically. There is, however, a concern that changing question and choices of answer even slightly can lead to misleading conclusion on happiness trend.
This article compared the tool used in international communities and Thailand. It revealed that they are very similar. However, a caution on the Thai tool was noted in order to reduce the measurement errors in happiness trend that may occur.
1 Institute for Population and Social Research, Mahidol University
ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเครียดและความสุขในการดูแลผู้สูงอายุ
สาสินี เทพสุวรรณ์ ณัฐจีรา ทองเจริญชูพงศ์ และรศรินทร์ เกรย์1
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ในการศึกษาครั้งนี้ เพื่อค้นหาปัจจัยที่ส่งผลต่อระดับความเครียดและความสุขของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่เป็นคนในครอบครัว (Family Caregivers) โดยศึกษาจากปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ดูแล (Personal Characteristics) ปัจจัยสาเหตุของความเครียด (Stressors) ปัจจัยแรงสนับสนุนจากครอบครัวและสังคม (Family and Social support) และปัจจัยการจัดการกับความเครียด (Coping Strategies) จากข้อมูลของผู้ดูแลที่เป็นคนในครอบครัวจำนวน 284 คนในจังหวัดกาญจนบุรี ปี พ.ศ. 2554 ผลการศึกษาพบว่า ผู้ดูแลส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง และมีความสัมพันธ์เป็นบุตร จากการวิเคราะห์ผลโดยวิธีวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression) พบว่า การดูแลผู้สูงอายุเป็นเวลานานจะส่งผลให้ผู้ดูแลมีความสุขเพิ่มขึ้น ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากการปรับจิตใจรับในบทบาทของผู้ดูแล นอกจากนี้ บรรทัดฐานของความกตัญญูกตเวทีต่อบิดามารดาอาจช่วยให้ผู้ดูแลเกิดการยอมรับภาระที่เกิดขึ้นจากการดูแลได้ การมีผู้ช่วยดูแลส่งผลให้ความเครียดลดลงและมีความสุขเพิ่มขึ้น เช่นเดียวกับการได้รับแรงสนับสนุนจากครอบครัวและสังคมที่ส่งผลให้ความเครียดลดลงและมีความสุขเพิ่มขึ้น ในส่วนของการจัดการกับความเครียด พบว่า การจัดการกับความเครียดโดยมุ่งอารมณ์ เช่น การระบายอารมณ์ ยิ่งทำให้สถานการณ์สุขภาพจิตแย่ลง
คำสำคัญ: ผู้ดูแลในครอบครัว, ความสุข, ความทุกข์
1 สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
Determinants of stress and happiness among family caregivers to older persons
Sasinee Thapsuwan, Natjerach Thongcharoenchupong and Rossarin Gray1
Abstract
This study aims at exploring factors affecting stress and happiness among family caregivers to older persons. The factors include personal characteristics, stressors, family and social support and coping strategies. The data were collected in 2011from 284 family caregivers in Kanchanaburi. The results revealed that the majority of them were adult females and children. Based on multiple regression analyses, it was found that the longer duration of caregiving was, the happier they were. This may be due to the adjustment to their caregiving role. In addition, the norm of filial piety may help caregivers accept the burden from caregiving. The availability of helpers reduced stress and increased happiness. Similarly, family and social support also reduced stress and increased happiness. For coping strategies, it was found that emotional focus such as ventingworsen the mental health.
Keywords: family caregivers, happiness, stress
1 Institute for Population and Social Research, Mahidol University
บ้านพักสุดท้ายและบริบาลระยะท้าย
วรชัย ทองไทย1
บทคัดย่อ
บ้านพักสุดท้ายแห่งแรกในโลกเพิ่งเกิดขึ้นมาไม่ถึงครึ่งศตวรรษนี้เอง ส่วนในเมืองไทยก็เริ่มเมื่อสองทศวรรษก่อน ซึ่งก็ยังไม่เป็นที่แพร่หลายนัก ทั้งนี้เพราะพื้นฐานแนวคิดที่แตกต่างไปจากสังคมไทยในเรื่อง ความตาย ครอบครัว ความต้องการ ความสุข และความทุกข์ รวมถึงค่านิยมและวิถีชีวิตที่แตกต่างกันด้วย ยิ่งกว่านั้น วิกฤตในสังคมไทยปัจจุบัน ส่วนหนึ่งเกิดจากการนำความรู้และวัฒนธรรมจากต่างประเทศเข้ามาใช้ โดยไม่ประยุกต์ให้เหมาะสมกับสังคมไทยเสียก่อน สำหรับบ้านพักสุดท้ายและบริบาลระยะท้ายซึ่งเป็นวิวัฒนาการจากต่างประเทศ จึงควรต้องมีการวิจัยศึกษาเสียก่อน เพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดตามมา
การที่มหาวิทยาลัยมหิดลประกาศจัดตั้ง ศูนย์พัฒนาสุขภาวะผู้สูงอายุแบบครบวงจรและบริบาลผู้ป่วยระยะท้าย เมื่อปลายปีที่ผ่านมา โดยจะศึกษาวิจัยเกี่ยวกับบ้านพักสุดท้ายและบริบาลระยะท้ายด้วย อันนับว่าเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสม เพราะบริการบ้านสุดท้ายในประเทศไทย ยังอยู่คงในระยะเริ่มต้น จึงพร้อมที่จะปรับให้เข้ากับความต้องการของสังคมได้ ไม่ใช่ให้สังคมปรับให้เข้ากับบริการที่มีอยู่ โดยสิ่งที่ต้องคำนึงถึงก็คือ การบริการ ควรเป็นไปเพื่อความสุขของสังคมและคนหมู่มาก ไม่ใช่เพื่อผลกำไรของคนกลุ่มน้อย
1 สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
Hospice and Hospice Care
Varachai Thongthai1
Abstract
Although hospice was created less than half a century ago, the first hospice in Thailand is only two decades old. It is not popular in Thai society due to the fundamental differences in perspectives on death, family, want, happiness, and suffering as well as value and lifestyle. Moreover, the acceptance of foreign knowledge and culture without reservation is a cause of crisis in Thai society. Hence, the hospice and hospice care should be studied first in order to find suitable model for Thai society.
Last year, Mahidol University announced the establishment of the Center for Integrated Elderly Health and Hospice Care, and the study of hospice and hospice care is one of its objectives. This is very timely because the hospice in Thailand is still in early stage. Therefore, it can be adjusted to the needs of the society, not for the society to adjust to the service availability. A great concern is that the services provided by the hospice should be only for benefit and happiness of people and society at large, not for profit of a few.
1 Institute for Population and Social Research, Mahidol University
สุขภาวะทางจิตของสตรีมุสลิมหลังสิ้นสุดชีวิตคู่
อัลญาณ์ สมุห์เสนีโต1
บทคัดย่อ
บทความนี้ นำเสนอในประเด็น 1) การหย่าร้างในศาสนาอิสลามเป็นอย่างไร 2) สุขภาวะทางจิตของผู้หญิงมุสลิมหลังสิ้นสุดชีวิตคู่เป็นอย่างไร จากการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลซึ่งเป็นสตรีมุสลิมที่สิ้นสุดชีวิตคู่ตามหลักศาสนาอิสลาม อาศัยอยู่ในจังหวัดปัตตานี ผลจากการสัมภาษณ์รายงานว่า ส่วนใหญ่ผู้ชายมุสลิมไม่ได้ปฏิบัติตามหลักการหย่าร้างในศาสนาอิสลามในการเลี้ยงดูและจ่ายค่าอุปการะแก่ภรรยาเดิมและบุตร ในด้านสุขภาวะทางจิตของสตรีมุสลิมหลังการสิ้นสุดชีวิตคู่ พบว่า แม้ว่าช่วงแรกจะมีอาการเศร้าซึมและไม่สามารถยอมรับตนเองในสถานภาพที่เปลี่ยนไปได้ แต่เมื่อทำใจยอมรับได้ในระยะเวลาต่อมา ทำให้มีสุขภาพจิตดีขึ้นและส่งผลต่อด้านเศรษฐกิจดีขึ้นตามลำดับ ทั้งนี้ ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ตนเองมีกำลังใจเข้มแข็งมากขึ้น เพราะมีบุตรเป็นกำลังใจ สำหรับผู้ที่ไม่มีบุตรสุขภาพจิตดีขึ้น เพราะการยอมรับในสิ่งที่ตนเองเป็นอยู่และไม่มองตนเองตามบรรทัดฐานทางสังคม แต่เลือกที่จะให้สังคมมองตนเองตามที่ตนเองเป็น
คำสำคัญ: การสิ้นสุดชีวิตคู่, สุขภาพจิต
1 หน่วยวิจัยอนามัยเจริญพันธุ์ของชาวไทยมุสลิมในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัย
สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Mental health of Thai-Muslim women after termination of marriage
Anlaya Smuseneto1
Abstract
This paper aims to present the general overview of Muslim divorce, with a particular emphasis on the mental health of Muslim females due to their marriage termination. This study was carried out by intensive interviews with Thai-Muslim women in Pattani Province, all of whom were divorced or separated from their husbands by the Muslim rules. It has revealed that most Thai-Muslim males did not abide by the Muslim rules of divorce, especially concerning maintenance given to their former wives and, if any, children. Regarding mental health of wives after marriage termination, depression and self-denial occurred in the first instance.
However, when they were able to accept their changing marital status, their mental health gradually improved and this also contributed to their better economy. A major factor leading to such improvements was their children’s emotional support. For those without children, self-acceptance, self-esteem, and spiritual independence from social injustice are the keys to their well-being.
Keywords: Marriage termination, Mental health
1 Reproductive Health of Thai-Muslims in the Southernmost Border of Thailand Research Unit, Faculty of
Humanities and Social Sciences Prince of Songkla University, Pattani Campus