ความแตกต่างของภาวะการตายในเขตเมืองและชนบทของประเทศไทย: กรณีศึกษาอำาเภอวังนำ้าเขียว จังหวัดนครราชสีมา

นันทวัน อินทชาติ
บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง “ความแตกต่างของภาวะการตายในเขตเมืองและชนบทของประเทศไทย: กรณีศึกษาอำาเภอวังนำ้าเขียว จังหวัดนครราชสีมา” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยกำาหนดของความแตกต่างของการตายของประชากรในเขตเมืองและเขตชนบท กำาหนดกรอบตัวอย่างการศึกษา จากรายงานการตายของกระทรวงสาธารณสุขปี พ.ศ. 2545 - 2549 สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เก็บข้อมูลจากสมาชิกในครัวเรือนทุกคน และสัมภาษณ์ข้อมูลเกี่ยวกับผู้เสียชีวิต เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์สถิติที่ใช้ในวิเคราะห์ปัจจัยที่กำาหนดความแตกต่างของการตาย คือ Cox proportionalhazard model และ survival analysis ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการตายในเขตชนบทแต่ไม่มีผลต่อเขตเมือง คือเพศ และการกินหมาก ส่วนปัจจัยที่มีผลเหมือนกัน แต่มีขนาดของผลต่างกัน คือ อายุ การออกกำาลังกาย และการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยอายุและการออกกำาลังกายมีผลต่อโอกาสความน่าจะเป็นของการตายของเขตเมืองมากกว่าชนบท ในขณะที่การเคี้ยวหมากมีผลต่อโอกาสความน่าจะเป็นของการตายในเขตชนบทมากกว่าเขตเมือง

 

THE MORTALITY DIFFERENTIALS IN THE URBAN AND RURAL OF THAILAND: A CASE STUDY OF WANG NAMkHEO DISTRICT, NAkHON RATCHASIMA PROVINCE

Nantawan Intachat
Abstract

The purpose of this study on “The Mortality Differentials in the Urban and Rural of Thailand: A Case Study of Wang Namkheo District, Nakhon Ratchasima Province” was to investigate the mortality differences among the urban and rural people and the determinant factors influence to that differences. The area of study was Wang Namkheo District, Nakhon Ratchasima Province, using the framework from the death report of the Ministry of Public Health during 2002 - 2006. A Multi-stage stratified random sampling was using at sub-district, village and household levels. The analysis was made using cox’s proportional hazard model and survival analysis. The determinant factors which had effects on the rural’s mortality were gender and areca nut chewing. The factor which effect on both area, but difference in magnitude were age, exercise and alcoholic drinking. Age and exercise of the urban were more
hazardous to death than the rural. Areca nut chewing of the rural was more hazardous to death than the urban.