ความสุข และ ยาพิษ: ภาพสะท้อนกลับของการงานและชีวิต

สุทธิลักษณ์ สมิตะสิริ และประภา คงปัญญา
บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นการบรรยายประสบการณ์จากการดำเนินโครงการพัฒนาและวิจัยเพื่อส่งเสริมสุขภาวะในระดับอำเภอของนักวิจัยในมหาวิทยาลัยคนหนึ่ง ผู้เขียนเลือกใช้การมองสะท้อนกลับด้วยการวิจัยตนเองเพื่ออธิบายกระบวนการเรียนรู้และความพยายามของบุคคลในการทำความเข้าใจ “ความสุข” ทั้งจากการงาน และชีวิต เรื่องราวเช่นที่นำเสนอชี้ถึงองค์ความรู้เกี่ยวกับแนวทางการประยุกต์ใช้ความรู้ ปัจจัยและเงื่อนไขบางอย่างที่สำคัญแต่ซ่อนอยู่ และความเข้มแข็งทางจิตวิญญาณของผู้เล่า ผลของการดำเนินการเช่นนี้จึงเป็นทั้งกระบวนการและผลผลิตของการเรียนรู้ โดยมีเป้าหมายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมให้ผู้อ่านได้รับ “ประสบการณ์จากประสบการณ์” ซึ่งอาจจูงใจให้มีการเล่าประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาความสุขมากขึ้น อันจะส่งผลต่อการเพิ่มพูนความรู้และปัญญาในสังคมซึ่งมีความจำเป็นต่อความก้าวหน้าของความสุขและความเป็นอยู่ที่ดีของประชากรไทย
ทั้งในระดับชุมชนและระดับบุคคล

คำสำคัญ: ความสุข การพัฒนา การวิจัยตนเอง ชุมชนเป็นฐาน พุทธมณฑล

 

HAPPINESS AND POISON: REFLECTIONS ON WORK AND LIFE 

Suttilak Smitasiri and Prapa Kongpunya1
Abstract

This article is a personal narrative of a university researcher’s experience in conducting a district-wide happiness promotion development and research program. Autoethnographic reflections are used to describe a learning process and a person’s attempt to understand “happiness” in the context of both work and life. Stories such as this demonstrate the “how” of the application of knowledge, underlying issues and spiritual strength of the teller. Results of this exercise are both a process and a product. The aim is to encourage readers to “experience an experience” that might motivate them to give voice to their own experiences in order
to increase knowledge and wisdom necessary to advance happiness and well-being of the Thai population, at both community and individual levels. 

Keywords: Happiness Development Autoethnography Community-based Phutthamonthon

1 Institute of Nutrition, Mahidol University