ความสุขพอเพียง

วรชัย ทองไทย2
บทคัดย่อ

ปัจจุบันคนไทยมีความสุขน้อยกว่าแต่ก่อน เพราะหลงอยู่ในความสุขแบบบริโภคนิยม ซึ่งเป็นความสุขชั่วคราว และจะนำไปสู่ความทุกข์ในระยะยาวได้ หนทางแก้ไขคือ การหันกลับไปหาความสุขที่มีอยู่แล้วในวัฒนธรรมดั้งเดิมของไทย ได้แก่ คิหิสุข (สุขของคฤหัสถ์) หรือ ความสุขพอเพียง

พุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งความสุข และมีคำสอนเกี่ยวกับความสุขมากมายหลายระดับ มีทั้งคำสอนสำหรับผู้ครองเรือน หรือผู้ที่ยังดำรงชีวิตอยู่ในสังคม ซึ่งเป็นคำสอนเพื่อประโยชน์ทางวัตถุ และเพื่อความสุขในปัจจุบัน นอกจากนี้ยังมีคำสอนสำหรับผู้สละเรือนแล้วซึ่งเป็นคำสอนเพื่อประโยชน์ลึกซึ้งทางจิตใจและความสุขสูงสุด

การส่งเสริมให้คนไทยหันมาสนใจกับความสุขพอเพียงนั้น นักวิจัยต้องทำให้เห็นในเชิงประจักษ์ว่า ความสุขพอเพียงเป็นความสุขที่แท้จริงและยั่งยืน โดยทำวิจัยเพื่อพิสูจน์สมมุติฐาน 4 ข้อ คือ 1) รายได้ที่ได้มาโดยสุจริตทำให้มีความสุข 2) รายจ่ายที่ประกอบด้วยปัญญาทำให้มีความสุข 3) การไม่มีหนี้สินทำให้มีความสุข และ 4) การประพฤติที่ไม่มีโทษทำให้มีความสุข

คำสำคัญ: ความสุข ความสุขพอเพียง ความสุขที่ยั่งยืน ความสุขในพุทธศาสนา ความต้องการ บทบาทของนักวิจัย

Sufficient Happiness

Varachai Thongthai2
Abstract

Nowadays Thai people are less happy than before, due to seeking happiness from consumption. Whilst consumption brings instant happiness, it will lead to suffering in the long run. The solution is by seeking happiness from Thai tradition that is Gihisukha (house-life happiness) or sufficient happiness.

Buddhism is the religion of happiness. There are a lot of discourses about happiness. These discourses cover all walks of life, ranging from laypersons who seek materials and current happiness to monks who seek spiritual gain and supreme happiness.

In convincing Thai people to seek sufficient happiness, researchers have to demonstrate that sufficient happiness is a true and sustainable happiness. They should do empirical studies, which include four hypotheses; 1) uprightness income is happiness, 2) wisdom spending is happiness, 3) debtlessness is happiness, and 4) faultless life is happiness.

Keywords: happiness, sufficient happiness, sustainable happiness, happiness in Buddhism, want, researcher’s role.

2 Institute for Population and Social Research, Mahidol University