ความสุขของประชากรชนบทใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

จรัมพร โห้ลำยอง ปราโมทย์ ประสาทกุล และกาญจนา เทียนลาย2
บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาสถานการณ์เกี่ยวกับความสุขและความทุกข์ของประชากรชนบทใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส โดยจะศึกษาระดับและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสุขและความทุกข์เหล่านั้น การศึกษาใช้ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ครัวเรือนตัวอย่างที่ได้จากการสุ่มเพื่อให้ได้ตัวแทนของประชากรชนบทใน3 จังหวัดนี้ของโครงการสำรวจคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ซึ่งดำเนินการโดยสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ผลการวิเคราะห์พบว่า คะแนนความสุขของประชากรชนบทใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ในปีที่สำรวจ คือ พ.ศ. 2552 เท่ากับ 6.7 ซึ่งต่ำกว่าคะแนนความสุขเฉลี่ยของประเทศไทยที่เท่ากับ 7.5 ซึ่งคำนวณจากข้อมูลการสำรวจสภาวะทางสังคมและวัฒนธรรม ใน พ.ศ. 2551 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ

ผลการวิเคราะห์ด้วย Binomial Logistic Regression พบว่า ศาสนาประจำครัวเรือน ความรู้สึกปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของคนในครัวเรือน และการเจ็บป่วยของครัวเรือน มีอิทธิพลต่อความสุขมาก และความทุกข์ของประชากรชนบทในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ครัวเรือนที่นับถือศาสนาพุทธมีความน่าจะเป็นที่ครัวเรือนจะมีความสุขมากสูงกว่าครัวเรือนที่นับถือศาสนาอิสลาม ในขณะที่ความรู้สึกปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของคนในครัวเรือนเพิ่มขึ้น จะเพิ่มโอกาสให้ครัวเรือนมีความสุข และลดโอกาสที่ครัวเรือนจะมีความทุกข์

อาการเครียด โรคกระดูก/ข้อ/กล้ามเนื้อ/เอ็น และโรคไข้เลือดออก/ไข้ชิคุนกุนยาเป็นโรคที่ส่งผลกระทบความสุขของชนบทในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งมีบางครัวเรือนเท่านั้นที่เข้ารับการรักษาในสถานบริการทางสุขภาพ โดยเหตุผลของการปฏิเสธไม่ไปรับบริการในสถานบริการของรัฐมีความหลากหลาย เช่น ความรุนแรงของโรค ที่ตั้งของสถานบริการ และความพึงพอใจในการให้บริการ

คำสำคัญ: ความสุข, คุณภาพชีวิต, 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้, ภาคใต้

 

The Happiness of RuralRural Population in the 3 Southern Border Provinces in Thailand

Charamporn Holumyong, Promote Prasartkul, and Kanchana Thianlai2
Abstract

This article studies the happiness and sadness of rural population in the 3 southern border provinces in Thailand-Pattanee, Yala, and Narathivat. The overview of happiness and the analysis of factors determining happiness and sadness are included in this study. Employing the data from the survey on people’s quality of life in 3 Southern border provinces conducted by Institute for Population and Social Research, Mahidol University, it reveals that the average score of happiness level of rural population in the 3 Southern border provinces was 6.7 in the year implemented survey, 2009. This happiness level is quite low comparing to the average score of happiness level of Thai population which was 7.5, according to the 2008 survey on conditions of social, culture and mental health done by National Statistical Office, Thailand.

The findings of Binomial Logistic Regression analysis show that household religions, perception of safety, and health condition significantly determine both sadness and happiness of rural population in the 3 Southern border provinces in Thailand. A Buddhist household is more likely to be happy than an Islamic household. Strong perception of safety on both life and property can increase the likelihood to be happy and simultaneously decrease the likelihood to be sad. 

Concerning health condition, stress, joint, bone and muscle pain, dengue fever and Chikungunya disease are the major health problems that significantly lower happiness of this population. While these diseases are curable, only some households seek the proper treatment at health facilities. The reasons for denying to access health services at the government health facilities are varies such as severity of symptoms, location of health facilities, and service satisfaction.

Keywords: Happiness, Quality of Life, The Three Southern Provinces of Thailand, South Thailand

2 Institute for Population and Social Research, Mahidol University