การรอดชีพที่เพิ่มขึ้นในกลุ่มประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ.2503-2543

การรอดชีพที่เพิ่มขึ้นในกลุ่มประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ.2503-2543

ศุทธิดา ชวนวัน และ ปราโมทย์ ประสาทกุล
บทคัดย่อ

ในช่วงระยะเวลา 30 ปีที่ผ่านมา การพัฒนาในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นทางด้านการแพทย์ สาธารณสุข ความเป็นเมือง การมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น หรืออิทธิพลจากการลดลงของการเกิด และการตาย ทำให้ประชากรไทยกำลังจะกลายเป็นสังคมผู้สูงอายุจากเหตุผลสนับสนุนหลายอย่างที่ทำให้มนุษย์สามารถมีอายุยืนยาวขึ้นได้ จึงทำให้การศึกษานี้ต้องการที่จะพิสูจน์ว่า การรอดชีพของผู้สูงอายุในอดีตเมื่อครึ่งศตวรรษที่ผ่านมาจะเป็นอย่างไร เมื่อเปรียบเทียบกับการรอดชีพของผู้สูงอายุในรุ่นปัจจุบัน การศึกษานี้ใช้เทคนิคการวิเคราะห์ประชากรทางอ้อม โดยใช้วิธีอัตราส่วนรอดชีพ สำมะโน (Census survival ratio) เพื่อศึกษาการรอดชีพที่เพิ่มขึ้นของผู้สูงอายุในประเทศไทย พ.ศ.2503-2543 ข้อมูลที่ใช้นำมาจากการสำมะโนประชากรและเคหะ ในปี พ.ศ.2503, 2513, 2523, 2533 และ 2543 ที่จัดเก็บโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ ผลการศึกษาพบว่า ผู้สูงอายุในปี พ.ศ.2533-2543 หรือเรียกได้ว่าเป็นผู้สูงอายุรุ่นหลัง จะมีโอกาสในการรอดชีพสูงกว่าผู้สูงอายุที่อยู่ในกลุ่มอายุเดียวกันเมื่อ 30 ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้สูงอายุตอนปลายหรือผู้ที่มีอายุ 80 ปีขึ้นไป ทั้งเพศชายและหญิง จะมีโอกาสในการรอดชีพสูงกว่าผู้สูงอายในกลุ่มอื่น แสดงว่าประชากรไทยมีอายุยืนยาวขึ้น สำหรับเรื่องแบบแผนของการรอดชีพ การศึกษาพบว่าการเปลี่ยนแปลงอัตรารอดชีพจะผันกลับตามอายุ คือ ยิ่งอายุมากขึ้น อัตรารอดชีพจะยิ่งต่ำลง อัตรารอดชีพของผู้หญิงสูงกว่าของผู้ชายในทุกๆ ช่วงอายุ และทุกปี แต่อัตราเพิ่มขึ้นของการรอดชีพในผู้สูงอายุชายจะสูงกว่าของผู้หญิง เมื่อเปรียบเทียบระหว่างผู้สูงอายุรุ่นก่อนกับรุ่นหลัง

Improved survival among elderly in Thailand, 1960-2000

Sutthida Chuanwan and Pramote Prasartkul
ABSTRACT

Medical technology and public health services have been dramatically developing during the past three decades. In addition, the degree of urbanization and well-being of population have become higher, whereas fertility and mortality have been decreasing through time. These phenomena cause an ageing population. Due to the factors making people live longer, it is essential to investigate how different between the survival ratios of elderly in old and later generation are. Conducted by National Statistical Office of Thailand decennially, censuses since 1960 until 2000 are used in this study. To investigate the survival ratio among the elderly in Thailand, the Census Survival Ratio method as an indirect technique is employed. It is found that elderly in the later generation (1990-2000) have higher survival rates compared to the old generation (1960-1970). Additionally, the survival ratios vary inversely by age that means the younger, the higher ratios of survival. The survival ratios of females are greater than the rates of males in every age group through time, while the increase rate of survival ratio among male are higher than that of females in every age group. Finally, compared to the survival ratios in other elderly age group, the ratio of elderly aged 80 and over, the oldest old, increase greatest. Therefore, this can be concluded that people live longer.