เพศสัมพันธ์ในวัยสูงอายุ : ศึกษาในเขตชนบทจังหวัดกาญจนบุรี

เพศสัมพันธ์ในวัยสูงอายุ : ศึกษาในเขตชนบทจังหวัดกาญจนบุรี

พงษ์ศักดิ์ หมื่นศักดา และ วาทินี บุญชะลักษี
บทคัดย่อ

จากสถานการณ์ที่ผู้สูงอายุมีอายุคาดเฉลี่ยที่ยืนยาว การมีเพศสัมพันธ์ในวัยสูงอายุ ก็น่าจะยืนยาวออกไปด้วยเช่นกัน การที่ผู้สูงอายุมีเพศสัมพันธ์ในวัยสูงอายุได้แสดงว่าผู้สูงอายุยังมีสุขภาพแข็งแรง แต่การมีเพศสัมพันธ์ในวัยสูงอายุนั้นมักถูกสังคมมองว่าไม่สมควร ทั้งนี้อาจเป็นเพราะค่านิยมในสังคมหรือวัฒนธรรม ดังนั้นเมื่อพูดถึงการมีเพศสัมพันธ์แล้ว คนมักจะนึกถึงเฉพาะแต่ในวัยหนุ่มสาว สำหรับประเทศไทยยังมีการศึกษาเรื่องนี้กันน้อยมาก

วัตถุประสงค์สำคัญในการศึกษาครั้งนี้ เพื่อศึกษารูปแบบการมีเพศสัมพันธ์ในวัยสูงอายุ รวมทั้งความคิดเห็นและความต้องการทางเพศของผู้สูงอายุเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ผู้สูงอายุชายหญิงที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปในเขตชนบท จำนวน 473 คน ใน 11 หมู่บ้าน 3 ตำบล ในอำเภอหนึ่ง ในจังหวัดกาญจนบุรี ด้วยแบบสอบถาม และทำการสัมภาษณ์ระดับลึกผู้สูงอายุจำนวน 10 ราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณา (Descriptive Statistic) เพื่ออธิบายรูปแบบของการมีเพศสัมพันธ์ในวัยสูงอายุ และใช้ข้อมูลเชิงคุณภาพที่ได้จากการสัมภาษณ์ระดับลึกประกอบการอธิบาย

ผลการวิเคราะห์ผู้สูงอายุที่มีสถานภาพสมรส 318 คนจากจำนวนผู้สูงอายุทั้งหมด 473 คน พบว่า หนึ่งในสามของผู้สูงอายุยังคงมีเพศสัมพันธ์อยู่ เป็นผู้สูงอายุชายมากกว่าผู้สูงอายุหญิง การมีเพศสัมพันธ์และความถี่ในการมีเพศสัมพันธ์ของผู้สูงอายุที่ศึกษานั้น จะลดลงตามอายุที่เพิ่มขึ้น ผู้สูงอายุที่ยังคงมีเพศสัมพันธ์อยู่ เฉลี่ยแล้วมีเพศสัมพันธ์ประมาณเดือนละ 2 ครั้ง โดยผู้สูงอายุชายมีความถี่ของการมีเพศสัมพันธ์เฉลี่ยแล้วมากกว่าผู้สูงอายุหญิง และมีร้อยละความต้องการทางเพศบ่อยครั้งกว่าผู้สูงอายุหญิง ความคิด เห็นเกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์ในวัยสูงอายุ และความต้องการทางเพศ ในด้านของปัญหาเกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์ ผู้สูงอายุส่วนมากคิดว่าตนเองไม่มีปัญหาเกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์และในกลุ่มของผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์นั้น พบว่า ผู้สูงอายุชายมีปัญหาเกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์มากกว่าผู้สูงอายุหญิง

ข้อเสนอแนะในการศึกษาครั้งนี้ คือ ควรมีหน่วย/ศูนย์ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับปัญหาของผู้สูงอายุที่ยังคงมีเพศสัมพันธ์อยู่ และควรรณรงค์ให้มีการปรับเปลี่ยนความคิดหรือทรรศนะเกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์ในวัยสูงแก่บุคคลทั่วไป ไม่ว่าจะเป็น ลูกหลาน ครอบครัว ผู้ดูแล รวมทั้งตัวผู้สูงอายุเองให้เข้าใจ และยอมรับเรื่องการมีเพศสัมพันธ์ในวัยสูงอายุ

 

AGING AND SEXUALITY: A STUDY IN THE RURAL AREAS OF KANCHANABURI PROVINCE

PHONGSAK MUENSAKDA AND WATHINEE BOONCHALAKSI
ABSTRACT

Due to the fact that the elderly live longer nowadays than before, the age for having sex has lengthened accordingly. Normally, sexual activity in old age is an important sign of good health, but at the same time it is also criticized as inappropriate in the view of people in society. Sex is generally considered as something only for the young in Thai culture. Aging and sexuality research in Thailand is limited.

Objectives for this research are to study patterns of sexuality and any opinions related to sexual needs among the elderly in rural areas. Data collection was through a questionnaire given to 473 elderly aged 60 and over in 11 villages in 3 tambons or sub-districts in Kanchanaburi province. Ten in-depth interviews were conducted to give additional information. Descriptive statistic was used as a tool for studying.

The research showed that of 318 married interviewees, one third were still having sex. More of the male elderly than females were still sexuality active and those men were having sex more frequently than the elderly females who were still having sex. But as age increased, frequency of sexual activity decreased. On average, the rural elderly had sex twice a month. Opinion on having sex and sexual needs, in terms of problems related to sex activities most elderly believed that they had no problem. But among those who were faced with sexual problems, the male elderly had many more problems than females.

Research recommendations are 1) concerned government agencies should provide counseling centers for the elderly who still have sex and 2) campaigns for widespread acceptance that sexuality in the elderly is normal should be provided for family members, caretakers and the elderly in general.

การบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวชาวลาวในทศวรรษหน้า

การบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวชาวลาวในทศวรรษหน้า

ชาตรี มูลสถาน ชูวิทย์ มิตรชอบ สันทัด เสริมศรี และ ศากุล ช่างไม้
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยอนาคตแบบชาติพันธุ์วรรณนา (Ethnographic Futures Research: EFR) มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างภาพอนาคตของการบริหารจัดการแรงงานชาวลาวในประเทศไทยใน พ.ศ.2563 การเก็บข้อมูลเป็นการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบ EFR จากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 25 คนซึ่งใช้วิธีเลือกแบบยึดจุดมุ่งหมายของการศึกษาเป็นหลักเก็บข้อมูล ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2552 ถึงเดือน มิถุนายน 2553 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแนวทางการสัมภาษณ์แบบ EFR มาตราความพึงประสงค์และมาตรากาลเวลา โดยได้รับการตรวจสอบด้านเนื้อหาและความตรงจากผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน

การมองภาพอนาคตแง่ดีพบว่าประเทศไทยจะยังคงใช้นโยบายการจ้างและนำเข้าแรงงานต่างด้าวตามกฎหมายและมีการปรับปรุงการดำเนินงานให้สะดวกรวดเร็วโดยขยายเวลาอนุญาตทำงาน คุ้มครองและสิทธิประโยชน์ตามกฎหมายไทย ยกสถานะหน่วยงานที่รับผิดชอบกระจายอำนาจมากขึ้น พัฒนาฐานข้อมูลแรงงาน มีการศึกษาวิจัยและนำผลการวิจัยมาใช้ประโยชน์ อย่างไรก็ตาม ในทางกลับกันการมองภาพอนาคตแง่ร้ายพบว่าจะไม่มีการปรับปรุงการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวและการนำเข้าแรงงานต่างด้าวอย่างถูกต้องตามกฎหมาย แรงงานต่างด้าวส่วนใหญ่จะไม่ขึ้นทะเบียนกับทางราชการ แรงงานต่างด้าวไม่ได้รับการคุ้มครองและสิทธิประโยชน์ การบังคับใช้กฎหมายอ่อนแอและมีการแสวงหาผลประโยชน์อันมิชอบ

ภาพอนาคตที่เป็นไปได้มากที่สุดคือ ประเทศไทยจะใช้นโยบายการจ้างงานแรงงานต่างด้าวอย่างถูกกฎหมายและปรับปรุงการดำเนินงานให้สะดวกรวดเร็วขึ้น สัดส่วนของผู้ที่มีใบอนุญาตทำงานจะสูงขึ้นแต่จะยังคงมีผู้ลักลอบเข้าเมืองจำนวนมาก มีการปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เวลาการอนุญาตทำงานจะนานขึ้น การบังคับใช้กฎหมายอย่างมีประสิทธิภาพตามหลักธรรมาภิบาลจะยังเป็นประเด็นปัญหา อาจมีการปรับเปลี่ยนคณะกรรมการในระดับชาติที่ดูแล อาจมีการปรับยกสถานะหน่วยงานบริหารแรงงานต่างด้าว จะมีการเปิดเขตเศรษฐกิจพิเศษในสปป.ลาว การจัดการฐานข้อมูลแรงงานจะดีขึ้น จะมีการสร้างเจตคติที่ดีต่อแรงงานต่างด้าว จะมีความร่วมมือในภูมิภาคในด้านการศึกษาวิจัยแรงงานต่างด้าวและการพัฒนา
ฝีมือแรงงาน

 

Management of Laotian Migrant Workers in the Next Decade

Chatri Moonstan Chuwit Mitrchob Santhat Sermsri and Sakul Changmai
ABSTRACT

This Ethnographic Futures Research (EFR) was aimed at eliciting management scenarios of Laotian migrant workers in Thailand in the year 2020. Twenty-five experts were purposively selected for EFR in-depth interviews during November 2009 to June 2010. Research tools included EFR interview guidelines, desirability scale and a grammar chart. The tools were verified by 5 experts
on content validity.

Under the optimistic scenario, formal recruitment and migrant employment policy are likely to be continued. Formal recruitment procedures would be improved through allowing for longer duration of work permits, improved protection of labour rights, and benefits according to the Thai laws. Status of the management office for migrant workers is likely be upgraded. Decentralization, improved labour data base and research on migrant workers will likely to be in place. However, under the pessimistic scenario, there will be no progress in relation to formal recruitment and migrant workers management. Most of the workers will likely be undocumented, unprotected, and have no access to public services and benefits. Law enforcement will be weak and corruption will prevail.

Under the most probable scenario, Thailand would likely continue the policy on formal recruitment and formal employment but with improved work procedures. It is likely that a higher proportion of the Laotian migrant workers will be documented. Concerned laws and regulations will likely to be adjusted while effective and transparent law enforcement will continue to be issue of concern. There will be adjustment of the national committee overseeing migrant workers. The status of the agency dealing with migrant workers might be upgraded. Most probably, special economic zones will be set-up in Lao PDR. It is likely that there will be improvement in labour database system and awareness building. Moreover, there would be improved cooperation in research
and skills development in the sub-region.

คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในพื้นที่เฝ้าระวังทางประชากรกาญจนบุรี

คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในพื้นที่เฝ้าระวังทางประชากรกาญจนบุรี

เรวดี สุวรรณนพเก้า และ รศรินทร์ เกรย์
บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาถึง ระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในจังหวัดกาญจนบุรีแบบองค์รวม และจำแนกตามองค์ประกอบ (ด้านครอบครัวด้านสุขภาพ ด้านความมั่นคงทางเศรษฐกิจ และด้านมาตรฐานการอยู่อาศัยแลสภาพแวดล้อม) 2) เพื่อศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางประชากร เศรษฐกิจ และสังคม กับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในจังหวัดกาญจนบุรีแบบองค์รวม และจำแนกตามองค์ประกอบดังกล่าว การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงวัตถุวิสัย ด้วยข้อมูลทุติยภูมิจากโครงการเฝ้าระวังทางประชากรกาญจนบุรี รอบ 3 (พ.ศ.2545) สำหรับเกณฑ์การแบ่งกลุ่มคุณภาพชีวิตเป็นระดับดี ปานกลาง และต่ำ โดยใช้ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปจำนวน 3,550 คน หญิงมีสัดส่วนสูงกว่าชาย ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุตอนต้น (60-69ปี) เป็นผู้มีคู่ จบระดับประถมศึกษา ไม่ได้ทำงาน และอาศัยอยู่ในพี้นที่ที่มีความเป็นชนบท คุณภาพชีวิตด้านมาตรฐานการอยู่อาศัย และสภาพแวดล้อมที่อยู่ในระดับดีสูงที่สุด (ร้อยละ 15.2) รองลงมาคือ คุณภาพชีวิตด้านครอบครัว (ร้อยละ 14.4) ด้านความมั่นคงทางเศรษฐกิจ (ร้อยละ 6.6) และด้านสุขภาพ (ร้อยละ 4.5) ตามลำดับ จากคุณภาพชีวิตทั้ง 4 ด้านนำมาซึ่งคุณภาพชีวิตองค์รวม พบว่า คุณภาพชีวิตองค์รวมอยู่ในระดับดี ร้อยละ 13.2 จากการวิเคราะห์ถดถอยแบบพหุโลจิสติค กับคุณภาพชีวิตในแต่ละด้าน และองค์รวม โดยเปรียบเทียบผู้สูงอายุที่มีคุณภาพชีวิตดีกับต่ำ พบว่า การศึกษา และพื้่นที่อยู่อาศัยมีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตในทุกๆ ด้าน กล่าวคือ ผู้สูงอายุยิ่งมีการศึกษาสูงโอกาสมีคุณภาพชีวิตดีก็สูงขึ้นไปด้วย ผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ ที่มีความเป็นเมือง/กึ่งเมือง มีโอกาสที่จะมีคุณภาพชีวิตที่ดี สูงกว่าผู้สูงอายุที่มีการศึกษาน้อยและผู้สูงอายุที่อยู่ในพื้นที่ที่มีลักษณะความเป็นชนบท

Quality of Life of Older Persons in Kanchanaburi Demographic Surveillance System

Rewadee Suwannoppakao and Rossarin Gray
ABSTRACT

This study aims to explore the quality of life of older persons in Kanchanaburi Province. It was measured as the composite index and quality of life components (family, health, economic security, and living standard and environment). The other objective is to investigate the relationship between population, economic and social characteristics and the quality of life of older persons. This research utilized secondary data from the Kanchanaburi Demographic Surveillance System, Round 3 (2002). Mean and standard deviation were used to categorize the quality of life into good, moderate and low levels. The analysis reveals that, among 3,550 people aged 60 years and over, females outnumbered males. Most were in early old age (60-69 years), unemployed, married, completed elementary education and lived in rural areas. Considering the good levelof all components of quality of life, living standard and environment was highest (15.2 percent), followed by family (14.4 percent), economic security (6.6 percent) and health (4.5 percent) respectively. Considering quality of life as a whole, the good level constituted 13.2 percent. The multinomial logistic regression analyzed the relationship between each component and quality of life by comparing the good level with the low level. The results show that education and area of residence were significantly related to quality of life in all components. The elderly with higher education and who lived in urban/semi-urban areas had higher chances to have better quality of life than those with lower education and living in rural areas.

การรอดชีพที่เพิ่มขึ้นในกลุ่มประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ.2503-2543

การรอดชีพที่เพิ่มขึ้นในกลุ่มประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ.2503-2543

ศุทธิดา ชวนวัน และ ปราโมทย์ ประสาทกุล
บทคัดย่อ

ในช่วงระยะเวลา 30 ปีที่ผ่านมา การพัฒนาในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นทางด้านการแพทย์ สาธารณสุข ความเป็นเมือง การมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น หรืออิทธิพลจากการลดลงของการเกิด และการตาย ทำให้ประชากรไทยกำลังจะกลายเป็นสังคมผู้สูงอายุจากเหตุผลสนับสนุนหลายอย่างที่ทำให้มนุษย์สามารถมีอายุยืนยาวขึ้นได้ จึงทำให้การศึกษานี้ต้องการที่จะพิสูจน์ว่า การรอดชีพของผู้สูงอายุในอดีตเมื่อครึ่งศตวรรษที่ผ่านมาจะเป็นอย่างไร เมื่อเปรียบเทียบกับการรอดชีพของผู้สูงอายุในรุ่นปัจจุบัน การศึกษานี้ใช้เทคนิคการวิเคราะห์ประชากรทางอ้อม โดยใช้วิธีอัตราส่วนรอดชีพ สำมะโน (Census survival ratio) เพื่อศึกษาการรอดชีพที่เพิ่มขึ้นของผู้สูงอายุในประเทศไทย พ.ศ.2503-2543 ข้อมูลที่ใช้นำมาจากการสำมะโนประชากรและเคหะ ในปี พ.ศ.2503, 2513, 2523, 2533 และ 2543 ที่จัดเก็บโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ ผลการศึกษาพบว่า ผู้สูงอายุในปี พ.ศ.2533-2543 หรือเรียกได้ว่าเป็นผู้สูงอายุรุ่นหลัง จะมีโอกาสในการรอดชีพสูงกว่าผู้สูงอายุที่อยู่ในกลุ่มอายุเดียวกันเมื่อ 30 ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้สูงอายุตอนปลายหรือผู้ที่มีอายุ 80 ปีขึ้นไป ทั้งเพศชายและหญิง จะมีโอกาสในการรอดชีพสูงกว่าผู้สูงอายในกลุ่มอื่น แสดงว่าประชากรไทยมีอายุยืนยาวขึ้น สำหรับเรื่องแบบแผนของการรอดชีพ การศึกษาพบว่าการเปลี่ยนแปลงอัตรารอดชีพจะผันกลับตามอายุ คือ ยิ่งอายุมากขึ้น อัตรารอดชีพจะยิ่งต่ำลง อัตรารอดชีพของผู้หญิงสูงกว่าของผู้ชายในทุกๆ ช่วงอายุ และทุกปี แต่อัตราเพิ่มขึ้นของการรอดชีพในผู้สูงอายุชายจะสูงกว่าของผู้หญิง เมื่อเปรียบเทียบระหว่างผู้สูงอายุรุ่นก่อนกับรุ่นหลัง

Improved survival among elderly in Thailand, 1960-2000

Sutthida Chuanwan and Pramote Prasartkul
ABSTRACT

Medical technology and public health services have been dramatically developing during the past three decades. In addition, the degree of urbanization and well-being of population have become higher, whereas fertility and mortality have been decreasing through time. These phenomena cause an ageing population. Due to the factors making people live longer, it is essential to investigate how different between the survival ratios of elderly in old and later generation are. Conducted by National Statistical Office of Thailand decennially, censuses since 1960 until 2000 are used in this study. To investigate the survival ratio among the elderly in Thailand, the Census Survival Ratio method as an indirect technique is employed. It is found that elderly in the later generation (1990-2000) have higher survival rates compared to the old generation (1960-1970). Additionally, the survival ratios vary inversely by age that means the younger, the higher ratios of survival. The survival ratios of females are greater than the rates of males in every age group through time, while the increase rate of survival ratio among male are higher than that of females in every age group. Finally, compared to the survival ratios in other elderly age group, the ratio of elderly aged 80 and over, the oldest old, increase greatest. Therefore, this can be concluded that people live longer.

 

มุมมองด้านเศรษฐกิจของประเทศไทยในสังคมผู้สูงอายุ: นัยจากผลิตภาพแรงงาน

มุมมองด้านเศรษฐกิจของประเทศไทยในสังคมผู้สูงอายุ: นัยจากผลิตภาพแรงงาน

ศุภเจตน์ จันทร์สาส์น
บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่องนี้ทำการวิเคราะห์อัตราการเจริญเติบโตของผลิตภาพแรงงานของประเทศไทยซึ่งจำแนกเป็นภาคการผลิตย่อยรวม 16 ภาค ในช่วงปี พ.ศ.2543-2552 เพื่อวิเคราะห์โอกาสทางเศรษฐกิจของประเทศไทยภายใต้การลดลงของสัดส่วนประชากรวัยแรงงาน จากการศึกษาพบว่า ประเทศไทยมีอัตราการเจริญเติบโตของผลิตภาพแรงงานโดยเฉลี่ยเท่ากับร้อยละ 1.36 ต่อปี ทำให้สามารถสรุปได้ว่าประเทศไทยยังมีโอกาส
ทางเศรษฐกิจที่ดี เนื่องจากประเทศไทยต้องการการเจริญเติบโตของผลิตภาพแรงงานเกินกว่าร้อยละ 0.43 ต่อปี ในช่วงปี พ.ศ.2553-2558 เกินกว่าร้อยละ 0.62 ต่อปี ในช่วงปี พ.ศ.2558-2568 และเกินกว่าร้อยละ 0.53 ต่อปี ในช่วงปี พ.ศ.2568-2573 จึงจะสามารถรักษาการเจริญเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศที่แท้จริงต่อบุคคลได้นั่นเอง อย่างไรก็ตาม ปัญหาจากการที่มีภาคการผลิตย่อย 9 ภาค ที่มีอัตราการเจริญเติบโตของผลิตภาพแรงงานใกล้เคียงหรือต่ำกว่าอัตราการเจริญเติบโตของผลิตภาพแรงงานขั้นต่ำ และปัญหาความผันผวนของอัตราการเจริญเติบโตของผลิตภาพแรงงานในทุกภาคการผลิตย่อยที่อยู่ในระดับสูง อาจส่งผลกระทบต่อโอกาสทางเศรษฐกิจของประเทศไทยในระยะยาว ซึ่งภาครัฐต้องเร่งทำการแก้ไขต่อไป


Thailand’s Economic Prospect in Ageing Society: Implications from Labor Productivity

Supachet Chansarn
ABSTRACT

This study analyzed the growth rate of labor productivity of Thailand which was categorized into 16 sub-sectors during 2000-2009 in order to analyze Thailand’s economic prospect under the diminishing proportion of the population in the working-age group. The findings revealed that Thailand’s average growth rate of labor productivity was 1.36 percent per annum, implying a good economic prospect of Thailand. It is because Thailand needs more than 0.43 percent increase in the growth rate of labor productivity during 2010-2015, more than 0.62 percent during 2015-2025 and more than 0.53 percent during 2025-2030 to offset the decreasing proportion of the population in the working-age group so that Thailand can have the constant growth of real GDP per capita. However, we found that the average growth rates of labor productivity of nine sub-sectors were just close to or lower than the minimum growth rate of labor productivity and the growth rates of labor productivity in every sub-sector were very volatile. These problems may cause an adverse impact on Thailand’s economic prospect in long-run, thus the government must deal with them right away.