การบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวชาวลาวในทศวรรษหน้า

การบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวชาวลาวในทศวรรษหน้า

ชาตรี มูลสถาน ชูวิทย์ มิตรชอบ สันทัด เสริมศรี และ ศากุล ช่างไม้
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยอนาคตแบบชาติพันธุ์วรรณนา (Ethnographic Futures Research: EFR) มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างภาพอนาคตของการบริหารจัดการแรงงานชาวลาวในประเทศไทยใน พ.ศ.2563 การเก็บข้อมูลเป็นการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบ EFR จากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 25 คนซึ่งใช้วิธีเลือกแบบยึดจุดมุ่งหมายของการศึกษาเป็นหลักเก็บข้อมูล ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2552 ถึงเดือน มิถุนายน 2553 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแนวทางการสัมภาษณ์แบบ EFR มาตราความพึงประสงค์และมาตรากาลเวลา โดยได้รับการตรวจสอบด้านเนื้อหาและความตรงจากผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน

การมองภาพอนาคตแง่ดีพบว่าประเทศไทยจะยังคงใช้นโยบายการจ้างและนำเข้าแรงงานต่างด้าวตามกฎหมายและมีการปรับปรุงการดำเนินงานให้สะดวกรวดเร็วโดยขยายเวลาอนุญาตทำงาน คุ้มครองและสิทธิประโยชน์ตามกฎหมายไทย ยกสถานะหน่วยงานที่รับผิดชอบกระจายอำนาจมากขึ้น พัฒนาฐานข้อมูลแรงงาน มีการศึกษาวิจัยและนำผลการวิจัยมาใช้ประโยชน์ อย่างไรก็ตาม ในทางกลับกันการมองภาพอนาคตแง่ร้ายพบว่าจะไม่มีการปรับปรุงการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวและการนำเข้าแรงงานต่างด้าวอย่างถูกต้องตามกฎหมาย แรงงานต่างด้าวส่วนใหญ่จะไม่ขึ้นทะเบียนกับทางราชการ แรงงานต่างด้าวไม่ได้รับการคุ้มครองและสิทธิประโยชน์ การบังคับใช้กฎหมายอ่อนแอและมีการแสวงหาผลประโยชน์อันมิชอบ

ภาพอนาคตที่เป็นไปได้มากที่สุดคือ ประเทศไทยจะใช้นโยบายการจ้างงานแรงงานต่างด้าวอย่างถูกกฎหมายและปรับปรุงการดำเนินงานให้สะดวกรวดเร็วขึ้น สัดส่วนของผู้ที่มีใบอนุญาตทำงานจะสูงขึ้นแต่จะยังคงมีผู้ลักลอบเข้าเมืองจำนวนมาก มีการปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เวลาการอนุญาตทำงานจะนานขึ้น การบังคับใช้กฎหมายอย่างมีประสิทธิภาพตามหลักธรรมาภิบาลจะยังเป็นประเด็นปัญหา อาจมีการปรับเปลี่ยนคณะกรรมการในระดับชาติที่ดูแล อาจมีการปรับยกสถานะหน่วยงานบริหารแรงงานต่างด้าว จะมีการเปิดเขตเศรษฐกิจพิเศษในสปป.ลาว การจัดการฐานข้อมูลแรงงานจะดีขึ้น จะมีการสร้างเจตคติที่ดีต่อแรงงานต่างด้าว จะมีความร่วมมือในภูมิภาคในด้านการศึกษาวิจัยแรงงานต่างด้าวและการพัฒนา
ฝีมือแรงงาน

 

Management of Laotian Migrant Workers in the Next Decade

Chatri Moonstan Chuwit Mitrchob Santhat Sermsri and Sakul Changmai
ABSTRACT

This Ethnographic Futures Research (EFR) was aimed at eliciting management scenarios of Laotian migrant workers in Thailand in the year 2020. Twenty-five experts were purposively selected for EFR in-depth interviews during November 2009 to June 2010. Research tools included EFR interview guidelines, desirability scale and a grammar chart. The tools were verified by 5 experts
on content validity.

Under the optimistic scenario, formal recruitment and migrant employment policy are likely to be continued. Formal recruitment procedures would be improved through allowing for longer duration of work permits, improved protection of labour rights, and benefits according to the Thai laws. Status of the management office for migrant workers is likely be upgraded. Decentralization, improved labour data base and research on migrant workers will likely to be in place. However, under the pessimistic scenario, there will be no progress in relation to formal recruitment and migrant workers management. Most of the workers will likely be undocumented, unprotected, and have no access to public services and benefits. Law enforcement will be weak and corruption will prevail.

Under the most probable scenario, Thailand would likely continue the policy on formal recruitment and formal employment but with improved work procedures. It is likely that a higher proportion of the Laotian migrant workers will be documented. Concerned laws and regulations will likely to be adjusted while effective and transparent law enforcement will continue to be issue of concern. There will be adjustment of the national committee overseeing migrant workers. The status of the agency dealing with migrant workers might be upgraded. Most probably, special economic zones will be set-up in Lao PDR. It is likely that there will be improvement in labour database system and awareness building. Moreover, there would be improved cooperation in research
and skills development in the sub-region.